นายกฯ ชูทีมประเทศไทยดูแลกลุ่มเปราะบาง

2021-03-03 12:46:23

นายกฯ ชูทีมประเทศไทยดูแลกลุ่มเปราะบาง

Advertisement

นายกฯ ชูทีมประเทศไทย บูรณาการ 12 กระทรวง ดูแลช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง เชิงรุกและลึก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ไม่เครียดข่าวลือ “จั๊กจั่น” ยันไม่ใช่โลกใบที่ 2 รับว่าที่เจ้าบ่าวเคยแต่งงาน แต่จบไป 10 ปีแล้ว

ปวดใจมาก “บุ๋ม” สงสารดาราสาวส่อวิวาห์ล่ม เผยรู้ชื่อโลกใบที่ 1 แล้ว

เพื่อนห้ามก็ไม่ฟัง !! ซุปตาร์สาวคนดัง กำลังจะแต่งงานกับผู้ชายที่มีเมียแล้ว

เมื่อวันที่ 3 มี.ค. น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยวันนี้  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ระหว่าง 12 กระทรวง 1 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวง วัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข และกรุงเทพมหานคร เพื่อบูรณาการความร่วมมือช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในรายครัวเรือนให้ครอบคลุมทุกมิติแบบองค์รวม ให้กลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวมีความมั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และภาครัฐมีฐานข้อมูลที่เกิดจากการบูรณาการข้อมูลจากทุกหน่วยงานของกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนระดับประเทศ โดยมีนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวรายงานถึงการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธี ว่า การให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนยากจนและกลุ่มเปราะบาง เป็นเป้าหมายเร่งด่วนของรัฐบาล ทุกส่วนราชการคือทีมประเทศไทย ที่จะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนประเทศโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ยิ่งคนกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้พิการเด็กเล็ก ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ภาครัฐจึงต้องร่วมือกันอย่างเต็มที่ให้คนกลุ่มนี้เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ และการบริการของภาครัฐได้อย่างเสมอภาคเท่าเทียม ซึ่งการขับเคลื่อนการประสานงานตามความร่วมมือนี้ จะทำงานควบคู่ไปกับศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นก่อนหน้านี้

น.ส.รัชดา กล่าวต่อว่า สาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ คือการร่วมมือในการสนับสนุนข้อมูลกลุ่มเปราะบางเพื่อการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลรายครัวเรือน รวมถึงวางแผนการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการ โดยเชื่อมโยงการทำงานระดับพื้นที่ด้วยกลไกสหวิชาชีพ ร่วมกับอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) 1 คน ที่จะรับผิดชอบ 10 ครอบครัว ติดตามครอบครัวกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงฯมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นต้นไป โดยมีกำหนดระยะเวลาความร่วมมือ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568)