กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมทดสอบวัคซีนโควิด-19 ที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทย มีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด ทั้งสายพันธุ์ที่ก่อโรคในปัจจุบันและสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ได้หรือไม่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่จะได้รับวัคซีนโควิด-19
นับวันยิ่งแซ่บซ่า “แต้ว” เปิดรอยสักเหนือสะโพก งานนี้ของจริงหรือแทททู ?
หวยออกตรงเป๊ะ 538 ตู้ขนวัคซีนโควิด-19
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า อนุภาคไวรัสของเชื้อก่อโรคโควิด-19 SARS-CoV-2 นั้น ประกอบด้วยสารพันธุกรรมไวรัสชนิดอาร์เอนเอ (RNA) ที่หุ้มห่อด้วยโปรตีนเปลือก ซึ่งมีส่วนโปรตีนหนามที่เรียกว่า Spike protein หรือ S protein ทำหน้าที่สำคัญในการจับกับเซลล์ของคนและพาไวรัสเข้าสู่เซลล์เพิ่มจำนวนก่อโรคได้ ซึ่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีการผลิตนำมาใช้ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่การสร้างภูมิคุ้มกัน โดยการกระตุ้นร่างกายให้สร้างแอนติบอดีต่อส่วน S protein ดังนั้นเมื่อพบการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ที่พบในประเทศอังกฤษ สเปน บราซิล และแอฟริกาใต้ ซึ่งมีการแพร่กระจายไปในหลายประเทศ รวมถึงอาจพบการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามมาอีก ทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าวัคซีนที่นำมาใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่กลายพันธุ์ได้หรือไม่
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันชีววัตถุ ซึ่งมีห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์เชื้อโรคและตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันในซีรั่ม ภายใต้ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 (BSL3) รวมทั้งมีห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์เพื่อควบคุมคุณภาพวัคซีน จึงได้เตรียมการเพื่อตรวจสอบว่าวัคซีนที่นำเข้ามาใช้ในประเทศจะมีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัส SARS-CoV-2 ทั้งสายพันธุ์ที่ก่อโรคในปัจจุบันรวมทั้งสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ในประเทศ ได้หรือไม่
“ในระหว่างที่คนไทยยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถตรวจสอบภูมิคุ้มกันในเลือดคนไทยที่ติดเชื้อตามธรรมชาติมาทดสอบกับไวรัสกลายพันธุ์ที่พบในประเทศ เพื่อดูว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นสามารถทำลายไวรัสกลายพันธุ์ได้หรือไม่ ทำให้สามารถรับทราบผลในเบื้องต้นจากซีรั่มคนที่ติดเชื้อในประเทศ ซึ่งวิธีที่ใช้เป็นวิธีมาตรฐานที่ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในการทำลายไวรัสกลายพันธุ์ในเซลล์เพาะเลี้ยงที่จำเพาะ โดยวิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) ซึ่งใช้เวลาทดสอบภายใน 7 วันรู้ผล และเมื่อคนไทยได้รับวัคซีนโควิด-19 วิธีดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัสกลายพันธุ์ในคนไทยที่ได้รับวัคซีนได้ทันที ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนการดำเนินการ เพื่อเพิ่มจำนวนไวรัสที่กลายพันธุ์และตรวจหาปริมาณไวรัสที่เหมาะสมสำหรับการทดสอบ ก่อนนำมาทดสอบกับซีรั่มของคนที่ติดเชื้อตามธรรมชาติ คาดว่าจะทราบผลในเดือนเมษายน 2564 และวิธีนี้จะสามารถนำมาใช้กับการตรวจติดตามภูมิคุ้มกันในคนไทยที่ได้รับวัคซีนต่อไป” นพ.ศุภกิจ กล่าว