โพลชี้ ตร.ต้องปฏิรูปเอง อย่าให้สังคมกดดัน"บิ๊กตู่"

2021-02-27 10:05:00

โพลชี้ ตร.ต้องปฏิรูปเอง อย่าให้สังคมกดดัน"บิ๊กตู่"

Advertisement

"ซูเปอร์โพล" จี้ ตร.ปฏิรูปตัวเอง เคลียร์รับส่วย-แต่งตั้งโยกย้าย อย่าให้สังคมกดดัน "บิ๊กตู่"


เปิดชะตา “5 นักษัตร” ดวงฟื้นกลับมารุ่งเรือง

"แม่ค้ามุกดาหาร"เตือนภัย!"แบงก์ 500 ปลอม"อาละวาด

ขาย “หนูอบโอ่ง” ริมทาง สร้างรายได้แตะแสนบาทต่อเดือน (คลิป)





เมื่อวันที่ 27 ก.พ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ปัญหาคาตาประชาชนกับการปฏิรูปตำรวจ" กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,782 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 23-26 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่า จากการศึกษาปัญหาคาตาประชาชน พบว่า เกือบร้อยละร้อย หรือร้อยละ 99.4 ระบุว่า ปัญหาคาตาประชาชนและรับรู้ คือ ยาเสพติดแพร่ระบาดหนักในชุมชน บ่อนพนัน ค้ามนุษย์ แรงงานต่างชาติ การซื้อขายตำแหน่ง และอื่นๆ ที่น่าเป็นห่วงของข้อเท็จจริงที่ค้นพบ คือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 96.1 ระบุว่า ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่รัฐอื่นๆ ปล่อยปละละเลย ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เกิดความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมต้นน้ำ ร้อยละ 93.5 ระบุว่า ตำรวจระดับสูงพัวพันเก็บเกี่ยวผลประโยชน์กับขบวนการค้ายาเสพติด บ่อนพนัน ขนแรงงานเถื่อน ค้ามนุษย์ และอื่นๆ และร้อยละ 92.7 ระบุว่า ภายในองค์กรตำรวจ มีปัญหาเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย


ที่น่าพิจารณา คือ แนวทางการปฏิรูปตำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.1 ระบุว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บริหารระดับสูงภายในองค์กรตำรวจ ต้องออกมาปฏิรูปตำรวจให้ชัดเจนด้วยตนเอง อย่าปล่อยให้สังคมกดดันนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แบบที่เป็นอยู่ในตอนนี้ นอกจากนี้ร้อยละ 96.1 ระบุว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บริหารระดับสูงต้องยอมรับความจริงเรื่องการแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย และร้อยละ 96.1 เช่นกัน ระบุว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรตำรวจ ต้องมีกฎหมายและกลไกทำให้ ปลอดจากการแทรกแซงทุกรูปแบบใช้ระบบคุณธรรม ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ขณะที่ร้อยละ 96.0 ระบุว่า ควรนำข้อเรียกร้องของประชาชนมาปฏิรูปตำรวจให้สำเร็จในรัฐบาลนี้ และร้อยละ 95.0 ระบุว่า ควรนำข้อมูลจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาฯ มาปฏิรูปตำรวจ ที่น่าสนใจ คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.2 ต้องการเห็นตำรวจเป็นตำรวจของประชาชน และร้อยละ 96.0 ต้องการเห็นตำรวจเป็นตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ปฏิรูปตำรวจกระจายไปให้ถึงประชาชนระดับชุมชน ขณะที่ร้อยละ 92.0 ระบุว่า พาม็อบคนลงถนนเพื่อปฏิรูปตำรวจไม่เกิดประโยชน์ ไม่ใช่ทางออกที่ดี แต่กลับซ้ำเติมวิกฤตโควิด-19 และวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งซ้ำเติมความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนมากยิ่งขึ้น


ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า จากการเกาะติดเรื่องการปฏิรูปตำรวจมานานถึง 15 ปี พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นปัญหาเดิมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกยุคสมัยของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่วนเปลี่ยนกันขึ้นมา หรือแม้แต่เปลี่ยนชื่อจากกรมตำรวจ มาเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ยังไม่ทำให้ประชาชนทั้งประเทศเห็นได้ว่ามีการปฏิรูปตำรวจสำเร็จ ผลที่ตามมา คือ ปัญหาและข้อเท็จจริงเรื่องการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากขบวนการค้ายาเสพติด บ่อนพนัน การค้ามนุษย์ แรงงานต่างชาติ และอื่นๆ จึงอยู่ในความรับรู้ของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทำลายความเชื่อมั่นศรัทธากระทบต่อเสาหลักของชาติ ทั้งๆ ที่ตำรวจและทุกหน่วยงานของรัฐ มีภารกิจสำคัญที่ต้องทำให้เสาหลักของชาติซึ่งเป็นที่รักของประชาชน ดังนั้น "วิกฤตคือโอกาส" ตำรวจต้องเร่งปฏิรูปให้ตำรวจเป็นตำรวจของประชาชน เป็นตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเสริมสร้างความรักความศรัทธาต่อองค์กรตำรวจและสถาบันหลักของชาติ ไม่ใช่กลายเป็นต้นตอต้นของการทำลายความรักความศรัทธาของประชาชนต่อเสาหลักของชาติเสียเอง