สุรพงษ์"จี้"บิ๊กตู่"เร่งสางปม"กะเหรี่ยงบางกลอย"

2021-02-23 11:25:04

สุรพงษ์"จี้"บิ๊กตู่"เร่งสางปม"กะเหรี่ยงบางกลอย"

Advertisement

"สุรพงษ์" ยกคำสั่งศาล ชี้ "กะเหรี่ยงบางกลอย" ไม่ได้รุกป่า จี้ "บิ๊กตู่" เร่งสางปมปัญหา

"หมอธีระวัฒน์"ยืนยันกิน"ใบกัญชา"ไม่เกิดภาวะจิตหลอน

"อนุทิน" โชว์เอกสาร "วัคซีนซิโนแวค"ขึ้นทะเบียนแล้ว

“จุรินทร์" ไม่หวั่นฝ่ายค้านยื่น ป.ป.ช.ปมถุงมือยาง

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวถึงกรณีชาวกะเหรี่ยงบางกลอย จ.เพชรบุรี เรียกร้องให้รัฐบาลเคารพข้อตกลง หลังถูกเจ้าหน้ากดดันให้ออกนอกพื้นที่ ว่า ชุมชนชาวกระเหรี่ยงบางกลอย ถือเป็นชุมชุนดั้งเดิมที่มีผู้ใหญ่บ้าน เลขที่บ้าน และมีบัตรประชาชนคนไทย แต่เมื่อปี 2553-2554 มีการไปกล่าวหาชาวบ้าน ว่าเป็นกองกำลังที่บุกรุกเข้ามาในแผ่นดินไทย แล้วไปเผาบ้านของชาวบ้านอย่างน้อย 98 หลัง หลังจากนั้น "ปู่คออี้" วัย 100 กว่าปี จึงปรากฏตัวออกมา โดยยืนยันว่าบ้านที่ถูกเผา คือ บ้านของเขา จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ต่อมาปี 2561 ศาลปกครองตัดสินว่าชาวบ้านทั้งหมดเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม กรณีเจ้าหน้าที่ไปเผาบ้านของชาวกระเหรี่ยงถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ให้ชดใช้เยียวยาให้กับชาวกระเหรี่ยง และจากปี 2561 เป็นต้นมา ชาวบ้านคิดว่าจะได้รับการเยียวยา แต่ปรากฏว่าไม่มีการเยียวยา ทำให้ชาวบ้านกลับเข้าไปอยู่ในบ้านของตนเอง ซึ่งมีคนที่อยู่ในพื้นที่ป่าเป็นชุมชนกว่า 4,000 ชุมชน ซึ่งรัฐบาลก็ให้อยู่ เพราะไปประกาศพื้นที่ป่าทับพื้นที่ชาวบ้านชุมชนบางกลอย ซึ่งเป็นชุมชนที่เก่าแก่ที่สุด มีหลักฐาน คือ อยู่มาเนิ่นนาน ฉะนั้นควรให้เขาอยู่พื้นที่เดิม ตนแปลกใจเหมือนกันที่เจ้าหน้าที่ไปดำเนินคดีกับชาวบ้าน แล้วพยายามเอาชาวบ้านลงมา ทั้งๆ ที่สถานที่รัฐจัดสรรให้ คือ พื้นที่บางกลอยล่าง ก็อยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เหมือนกัน และเป็นป่าต้นน้ำเหมือนกัน ซึ่งตามกฎหมาย พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ และไม่มีสิทธิ์จัดสรรที่ชาวบ้านเข้าไปอยู่ ดังนั้นสถานที่ที่รัฐพยายามจัดให้ชาวบ้าน จึงถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งหมด




นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า และเนื่องจากกรมอุทยานฯ แพ้คดีชาวบ้าน หลังศาลปกครองสูงสุดตัดสิน และศาลปกครองสูงสุดยังสั่งอีกว่า ให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ยุติการจับกุม และให้ความคุ้มครองกับชาวบ้าน ที่สำคัญ คือ เจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย หากมีการบุกรุกพื้นที่ป่าก็ต้องตรวจสอบ ซึ่งการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2553 ที่ประชุมมีมติให้ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกระเหรี่ยงตามที่ศาลปกครองสูงสุดตัดสิน ดังนั้นเจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตาม หากพบว่ามีคนเข้ามาอยู่แล้วโต้เถียงว่าเป็นพื้นที่เขา ก็ควรตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุดเพื่อตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ และหากพบว่าชาวบ้านอยู่มาก่อน ก็ควรคืนพื้นที่ให้กับชาวบ้าน แต่หากชาวบ้านเข้ามาภายหลัง ก็ถือว่าชาวบ้านบุกรุกป่า ก็ให้ดำเนินคดีไปตามกฎหมาย กรณีนี้คงต้องเรียกร้องไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เพราะเป็นคนกำกับดูแลรัฐมนตรี และเมื่อรัฐมนตรีไม่ทำงาน นายกฯ หรือรองนายกฯ ที่ควบคุมเรื่องนี้ จะต้องเข้ามาควบคุมกำกับดูแลแทน