รมว.ยธ.จ่อร่าง ก.ม.ใหม่คุมฆาตรกรโรคจิต-นักโทษอันตรายหลังพ้นคุก

2021-02-15 16:55:28

รมว.ยธ.จ่อร่าง ก.ม.ใหม่คุมฆาตรกรโรคจิต-นักโทษอันตรายหลังพ้นคุก

Advertisement

รมว.ยุติธรรมเผยเตรียมร่างกฎหมายควบคุมติดตามฆาตรกรโรคจิต นักโทษอันตรายหลังพ้นคุก เพื่อให้สังคมปลอดภัย สั่งยุติธรรมจังหวัดเร่งเยียวยาครอบครัวเหยื่อ"ไอ้แหบ"หลังต้องกู้เงินมาทำศพ

รวมเลขเด็ด 10 สำนัก งวดวันที่ 16 ก.พ.2564

"คุณหญิงพันธ์เครือ"แจงยิบปมหย่าฟ้องคดีกับ "บิ๊กจิ๋ว"

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 15 ก.พ. ที่กระทรวงยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน  รมว.ยุติธรรม แถลงว่า จากคดีสะเทือนขวัญ "ไอ้แหบ" นายอนุวัฒน์ ผลจะโป๊ ที่ก่อคดีฆ่าข่มขืนเด็กหญิงที่ จ.นครราชสีมา โดยก่อนหน้านี้เคยมีคดีอนาจารเด็กชาย และได้พ้นโทษเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 63 พอผ่านมาเกือบ 1 ปีก็ก่อเหตุฆ่าข่มขืนอีก ที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมสนใจที่จะแก้ปัญหาตรงนี้มาตลอด อยากให้สังคมมีการรับรู้ว่ามีบุคคลอันตรายเข้ามาอยู่ในชุมชน แม้ว่าจะเกี่ยวกับหลายกระทรวง รวมทั้งรัฐสภา มีการพูดคุยถึงเรื่องการละเมิดทางเพศมาอย่างต่อเนื่อง แต่หากเราไม่ดำเนินการให้เป็นรูปธรรมคงต้องรอกันอีกนาน ตนขอเรียนว่าจากนี้เราจะทำ 2 แนวทาง คือ 1.เรื่องการดำเนินการทำกฎหมาย และ 2.ในระหว่างรอการร่างกฎหมาย เราจะมีมาตรการให้ประชาชนปลอดภัยขึ้น ในเรื่องของกฎหมายเราพยายามจะออกกฎหมายควบคุมพวกฆาตรกรโรคจิตที่ข่มขืนเด็กอายุน้อยกว่า 13 ปีลงไป อย่างน้อยๆหลังพ้นโทษต้องถูกติดตามตลอด ติดกำไล EM ตลอดชีวิตหรือจนกว่าแพทย์ลงความเห็นว่าเขาไม่อันตรายแล้ว ซึ่งจะรวมถึงฆาตรกรประเภทอื่นๆและผู้ต้องขังที่อันตรายด้วย


นายสมศักดิ์ กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมมีการถกเถียงในเรื่องกฎหมายอย่างหลากหลาย หากอัยการมีการแนบคำขอท้ายฟ้องไปยังศาลในการควบคุมตัวผู้ต้องหาก็ทำได้ไม่ยาก แต่เราห่วงว่าผู้ต้องหาที่จะพ้นโทษแล้ว เราจะควบคุมเขาอย่างไร ในที่ประชุมคิดว่าเราอาจจะต้องออกกฎหมายให้คนประเภทนี้ได้รับการตรวจสอบโดยแพทย์ นี่คือแนวทางของกฎหมายที่เราวางไว้ กระทรวงยุติธรรมจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งคงใช้เวลาพอสมควร และในระหว่างนี้เราควรทำให้สังคมรับรู้ว่า ฆาตรกรเหล่านี้กำลังจะพ้นจากพันธนาการของราชทัณฑ์แล้ว เราจะปล่อยออกมาก่อนเวลาโดยควบคุมโดยศูนย์ JSOC ติดกำไล EM สังคมอาจจะตกใจว่าทำไมไม่ขังจนครบ โดยหลายความเห็นคิดว่าหากเราขังจนครบแล้วปล่อยตัวมา สังคมจะไม่เกิดความระวังตัว อาจจะเกิดเหตุการณ์แบบไอ้แหบอีกได้ จึงคิดว่าหากปล่อยก่อน 1-2 ปี แล้วเฝ้าระวังโดยศูนย์ JSOC ติดกำไล EM สร้างความรับรู้ให้กับสังคมว่ามีบุคคลอันตรายมาอยู่ สังคมจะช่วยกันระวังตัว ดีกว่าสังคมไม่รู้เลย แต่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของสังคม ที่ผ่านมาได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค.63 โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยให้ความเห็น ครั้งที่ 2 วันที่ 15 ก.พ.64 โดยเป็นนักวิชาการ เอ็นจีโอ เข้ามาพูดคุยกันอย่างหลากหลาย มีความเห็นเป็นบวกกับแนวคิดของกระทรวงยุติธรรม ส่วนในการฟังความเห็นครั้งต่อไป เราจะจัดวันที่ 3 มี.ค.64 โดยจะเชิญภาคประชาชนและสื่อมวลชน ว่าคิดเห็นอย่างไรบ้าง


"ท้ายสุดนี้ผมของแจ้งในกรณี เด็กหญิง 9 ขวบที่ถูกไอ้แหบทำร้ายจนเสียชีวิต ซึ่งครอบครัวของน้องต้องกู้เงินมาจัดงานศพ ผมมีความเป็นห่วงอย่างมาก จึงได้สั่งให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัดลงไปประสานให้ความช่วยเหลือแล้ว โดยจะดูแลค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายจำเลยในคดีอาญา โดยจะได้รับ ค่าเสียหาย ค่าทำศพ ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูและค่าอื่นๆ รวมทั้งหมด 110,000 บาท โดยคณะกรรมการฯจะมีการประชุมเรื่องนี้ในวันที่ 17 ก.พ. จากนั้นจะมีการมอบเงินให้ต่อไป คาดว่าไม่เกินสิ้นเดือนนี้เราจะสามารถมอบเงินให้กับครอบครัวของน้องได้" นายสมศักดิ์ กล่าว