ครม.ไฟเขียวลดเงินสมทบ 2 เดือน ต่างด้าวตาม MOU อยู่ต่อ 6 เดือน

2021-01-26 22:10:31

ครม.ไฟเขียวลดเงินสมทบ 2 เดือน ต่างด้าวตาม  MOU อยู่ต่อ 6 เดือน

Advertisement

รมว.แรงงานเผย ครม.เห็นชอบปรับลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตน ม. 33 และ ม. 39 เป็นเวลา 2 เดือน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบโควิด-19 พร้อมขยายเวลาตรวจสุขภาพคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตาม  MOU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 2 ปี และอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ

ในหลวงเสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันเกิดเจ้าคุณพระสินีนาฏ

เผ็ดมาก “เทย่า” โชว์ท้องโตใกล้คลอด จัดเต็มความเซ็กซี่ด้วยชุดตาข่ายสุดแซ่บ

"อาร์ม" นายแบบเซ็กซี่ปฏิเสธไม่เกี่ยวข้องปาร์ตี้ยาเซ็กส์หมู่ดีเจคนดัง

เมื่อวันที่ 26 ม.ค. นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติพิจารณาเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เรื่อง ให้แก้ไขกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2563 โดยเงินสมทบงวดเดือน ก.พ. – มี.ค.2564 ให้จัดเก็บเงินสมทบฝ่ายนายจ้างในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จัดเก็บในอัตราเดือนละ 38 บาท สำหรับรัฐบาลส่งเงินสมทบอัตราเดิม ร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า การลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนในครั้งนี้จะมีผลทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมลดลงจากร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบลดลงจากในอัตราเดือนละ 278 บาท เหลือในอัตราเดือนละ 38 บาท โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่เดือน ก.พ. –มี.ค. 2564

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรียังเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เรื่อง ทบทวนแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ในช่วงโค-19 ระลอกใหม่ และการบริหารจัดการผู้ต้องกักโดยกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องบริหารจัดการ รวมทั้งสิ้น 2,335,671 คน ดังนี้

1) กลุ่มที่ถือบัตรสีชมพู จำนวน 1,400,387 คน ประกอบด้วย 1.1) กลุ่มแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 20 ส.ค. 2562 มีจำนวน 1,162,443 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสุขภาพและขอต่อ Visa ครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2564 ให้ขยายระยะเวลาการตรวจสุขภาพ และขอต่อ Visa ออกไปอีก 6 เดือน ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2564  1.2) กลุ่มแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 4 ส.ค. 2563 มีจำนวน 237,944 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสุขภาพและขอต่อ Visa ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2564 ให้ขยายระยะเวลาการตรวจสุขภาพ และขอต่อ Visa ออกไปอีก 6 เดือน ถึงวันที่ 31 ก.ค. 2564 

2) กลุ่มแรงงานต่างด้าวตาม MOU จำนวน 434,784 คน ประกอบด้วย 2.1) กลุ่มแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 10 พ.ย. 2563 มีจำนวน 119,094 คน และ 2.2) กลุ่มแรงงานต่างด้าวตาม MoU ที่วาระการจ้างงานครบ 2 ปี 315,690 คน ทั้งสองกลุ่มอยู่ระหว่างตรวจสุขภาพและขอต่อ Visa จึงขอขยายระยะเวลาการตรวจสุขภาพ และขอต่อ Visa ออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งกลุ่มนี้ทยอยครบกำหนด โดยสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2565

3) กลุ่มแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 29 ธ.ค.2563 ซึ่งอยู่ระหว่างยื่นลงทะเบียน คาดว่ามีจำนวนประมาณ 500,000 คน ดังนั้น จึงเสนอให้มีการจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics) เพื่อการพิสูจน์ตัวตนของคนต่างด้าว และความมั่นคงของประเทศ ในช่วงเวลาเดียวกับที่ตรวจโควิด – 19 ภายในวันที่ 16 เม.ย.2564 และให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองส่งข้อมูลคนต่างด้าวที่ได้จัดเก็บ อัตลักษณ์บุคคล (Biometrics) แล้ว เพื่อให้กรมการจัดหางานออกใบอนุญาตทำงาน สำหรับการตรวจโควิด-19 ให้สถานพยาบาลเอกชนที่ได้รับการรับรองร่วมตรวจเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 อย่างเร่งด่วน และสถานพยาบาลของรัฐอาจมีจำนวนไม่เพียงพอสำหรับการตรวจภายในวันที่ 16 เม.ย. 2564  ทั้งนี้ อัตราค่าตรวจโควิด-19 เป็นไปตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด ราคาไม่เกิน 2,300 บาท

4) กลุ่มผู้ต้องกักที่เป็นคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) มีจำนวนประมาณ 500 คน ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการส่งกลับ เนื่องจากประเทศต้นทางจำกัดจำนวนการรับคนต่างด้าวกลับประเทศ และปัจจุบันมีมาตรการห้ามการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามเขตจังหวัด ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณในการดูแลผู้ต้องกักที่รอการส่งกลับ ประมาณเดือนละ 2 ล้านบาท จึงขอความเห็นชอบให้ผู้ต้องกักสามารถทำงานกรรมกรและงานบ้านได้ จนถึงวันที่ 13 ก.พ. 2566 เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วต้องส่งกลับประเทศต่อไป

5) ให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงาน ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการที่กล่าวมาข้างต้น