"ธณิกานต์"ชี้สภาฯผ่านร่าง พ.ร.บ.อนุญาตทำแท้งอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์

2021-01-20 17:50:08

"ธณิกานต์"ชี้สภาฯผ่านร่าง พ.ร.บ.อนุญาตทำแท้งอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์

Advertisement

"ธณิกานต์"เผย สภาฯผ่านร่างพ.ร.บ.อนุญาตทำแท้ง อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ชี้เจตนารมณ์ไม่ได้สนับสนุนการทำแท้ง แต่เป็นช่องทางช่วยผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม

เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่รัฐสภา  มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระเร่งด่วน คือ การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานทำให้แท้งลูก เพื่อให้มีผลบังคับใช้ ก่อนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีผล คือ ภายในวันที่ 12 ก.พ. 2564 ซึ่งมีเจตนารมณ์สำคัญเพื่อประโยชน์ต่อสิทธิและความปลอดภัยของสตรี  ซึ่งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายสันติ กีระนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธาน กมธ.วิสามัญ ร่างกฎหมายดังกล่าว

"อัจฉริยะ"ปูด 2 ซิมฆ่า "น้องชมพู่" แลกตัดเหล็กไหล ได้เงินไปกว่า 10 ล้าน

"อัจฉริยะ"ชี้คน 2 ซิมฆ่า "น้องชมพู่"

น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะรองประธาน กมธ. กล่าวว่า หัวใจสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัยและไม่มีความผิด และสอดคล้องกับแนวทางคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ การกำหนดอายุครรภ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและสำคัญมาก ซึ่งวันนี้สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับร่างปรับปรุงแก้ไข มาตรา 301 ซึ่งมีการกำหนดอายุครรภ์ที่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ด้วยตนเอง คือ ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และร่างปรับปรุงแก้ไข มาตรา 305 เพิ่มเหตุยกเว้นให้ครอบคลุมและชัดเจน เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีที่ผู้กระทำไม่มีความผิดใน 5 กรณีดังต่อไปนี้ คือ  1.มีความเสี่ยงต่อสุขภาพทางกายหรือสุขภาพทางจิตของหญิงผู้ตั้งครรภ์ 2.มีความเสี่ยงผิดปกติของทารกในครรภ์ 3.ตั้งครรภ์โดยมีเหตุจากการกระทำผิดทางเพศ 4.อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ 5.อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ซึ่งผ่านการรับคำปรึกษาและยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์

"การแก้ไขกฎหมายประเด็นการยุติการตั้งครรภ์ เป็นหนึ่งในกลไกการขับเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้หญิงอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่ละเลยต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมว่า ข้อจำกัดทางกฎหมายไม่ได้ทำให้ความต้องการในการยุติการตั้งครรภ์ลดลง แต่ก่อให้เกิดการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยมากขึ้นสำหรับผู้หญิง เจตนารมณ์ในการแก้ไขกฎหมายนี้จึงเป็นไปเพื่อเป็นทางออกด้านนิติบัญญัติให้สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่ไม่มีความพร้อมความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัยและไม่มีความผิด เพื่อสอดคล้องกับแนวทางคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เปิดโอกาสให้ผู้ไม่พร้อมจริงๆได้เข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษาทางเลือก หรือ การรับบริการทางการแพทย์ได้มากขึ้น เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตของผู้หญิงไทยทุกคน” น.ส.ธณิกานต์ กล่าว