"ธนาธร” ซัดรัฐบาลประมาท จัดหาวัคซีนโควิดช้าน้อยกว่าประเทศอื่น

2021-01-18 23:20:41

"ธนาธร” ซัดรัฐบาลประมาท จัดหาวัคซีนโควิดช้าน้อยกว่าประเทศอื่น

Advertisement

"ธนาธร” ซัดรัฐบาลประมาท จัดหาวัคซีนโควิดช้าน้อยกว่าประเทศอื่น กว่าจะได้ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 ล้านโดสเดือน มี.ค. และกว่าจะได้วัคซีนจากแอสตราเซเนกาก็ครึ่งหลังของปี 2564 ไปแล้ว

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เฟซบุ๊กไลฟ์ผ่าน เพจคณะก้าวหน้า ว่าด้วยการจัดหาและผลิตวัคซีนโควิดในประเทศไทย ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่ง ทำไมประเทศไทยได้วัคซีนช้า และทำไมรัฐบาลถึงจัดหาวัคซีนได้ไม่ครอบคลุมจำนวนประชากรที่เหมาะสมว่า การที่คนไทยได้วัคซีนช้าและไม่ครอบคลุมจำนวนประชากร จะส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในปี 2564 เป็นอย่างมาก หลายประเทศวันนี้เร่งมือฉีดวัคซีนให้กับประชากรแล้ว แต่การที่ประเทศไทยได้วัคซีนช้า ย่อมหมายถึงการเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศ การเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน การเจรจาธุรกิจกับคู่ค้าจากต่างประเทศเริ่มได้ล่าช้า และเพิ่มความเสี่ยงให้กับประชาชน ที่ยังไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ 

"อัจฉริยะ"ชี้คน 2 ซิมฆ่า "น้องชมพู่"

"อัจฉริยะ"ฟันธง "เทวดา-นางฟ้า"ฆ่า "น้องชมพู่"

นายธนาธร กล่าวต่อว่า เหตุผลที่รัฐบาลหาวัคซีนได้ช้า ก็เพราะประมาท ไม่ได้ใส่ใจในการเร่งจัดหาวัคซีนอย่างเหมาะสมทันท่วงที สมัยพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบใหม่ๆ ได้เคยเสนอกับรัฐบาลไปแล้ว ว่าต้องจัดสรรวัคซีนให้เพียงพอ ให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศโดยเร็วที่สุด แต่ความความประมาททำให้เกิดการเจรจาช้า และเมื่อเจรจาได้เพียงบริษัทเดียวก็ไม่มีความพยายามเจรจากับบริษัทอื่นๆอีกเท่าที่ควร ต่างจากหลายประเทศที่ล้วนแสวงหาวัคซีนจากเอกชนหลายราย โดยบริษัทเดียวที่ไทยฝากความหวังไว้ก็คือ AstraZeneca ซึ่งมีการจ้างบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทยก็คือ Siam Bioscience ไม่มีการเจรจากับบริษัทอื่นเพิ่ม จนเมื่อวันที่ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา จึงมีการประกาศว่าได้มีการเจรจาซื้อวัคซีนเพิ่มกับ Sinovac ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมาก คือ 2 ล้านโดส เพียงพอสำหรับประชากร 1.5 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น

“กว่าจะรู้ตัวก็สายไปแล้ว วันนี้กำลังการผลิตของบริษัทผลิตวัคซีนต่างๆได้ถูกจับจองไปเสียมากแล้ว นั่นก็เพราะรัฐบาลเอาปัญหาการฉีดวัคซีนมาเป็นเรื่องเดียวกันกับการสร้างความนิยมทางการเมือง จนละเลยการหาหนทางที่เหมาะสมที่สุดให้กับประเทศ ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่ารัฐบาลพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น จากการฝากอนาคตของชาติไว้กับบริษัทรายเดียวหรือไม่” นายธนาธร กล่าว

นายธนาธรได้ยกตัวอย่างของการจัดสรรวัคซีนในต่างประเทศ โดยยกตัวอย่างประเทศในเอเชียด้วยกัน อย่างเช่นมาเลเซีย เมื่อเดือน พ.ย.2563 มีการเข้าโครงการ Covax ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ตามมาด้วยการเซ็นสัญญาสั่งซื้อวัคซีนล่วงหน้าจาก Pfizer 12.8 ล้านโดส เซ็นสัญญาซื้อเพิ่มจาก AstraZeneca 6.4 ล้านโดส และเพิ่มเติมจาก Sputnik V อีก 6.4 ล้านโดส ในช่วงเดือนพ.ย.และ ธ.ค. 2563 และในเดือน ม.ค. 2564 ได้เซ็นสัญญาซื้อวัคซีนเพิ่มจาก Sinovac อีก 14 ล้านโดส ซื้อวัคซีนจาก Pfizer เพิ่มอีก 12.2 ล้านโดส ทำให้ปัจจุบันมาเลเซียมีจำนวนวัคซีนครอบคลุมประชากรถึง 71เปอร์เซ็นต์ ไปแล้ว

ด้านไต้หวัน เมื่อเดือน ธ.ค. มีการประกาศว่าจะซื้อวัคซีนจาก AstraZeneca 10 ล้านโดส และจาก Covax 4.76 ล้านโดส จนปัจจุบันสามารถจัดหาวัคซีนครอบคลุมประชากรได้ถึง 42 เปอร์เซ็นต์ ส่วนฟิลิปปินส์ มีการเซ็นสัญญาซื้อวัคซีนล่วงหน้ากับ AstraZeneca 2.6 ล้านโดสตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 เซ็นสัญญาซื้อล่วงหน้ากับ Covax 30 ล้านโดส และเซ็นสัญญาซื้อวัคซีนล่วงหน้าจาก Sinovac อีก 25 ล้านโดส จนฟิลิปปินส์มีวัคซีนครอบคลุม 45.1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรไปแล้ว

เมื่อกลับมาดูทางประเทศไทย ตอนนี้ที่เราเจรจาได้แล้วคือวัคซีนจากบริษัท AstraZeneca และ Sinovac คิดเป็น 21.5 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากรเท่านั้น และเมื่อไม่นานมานี้เอง คณะรัฐมนตรีเพิ่งจะมีมติพิจารณาสั่งซื้อวัคซีนจาก AstraZeneca เพิ่มอีก 36 ล้านโดส แต่ก็ยังไม่มีการเซ็นสัญญาซื้อเพิ่ม เท่ากับว่าตอนนี้เราจัดหาวัคซีนได้น้อยกว่า และช้ากว่าประเทศอื่นๆที่อยู่ในระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกัน

ปัจจุบัน ประเทศที่มีการฉีดวัคซีนให้ประชากรไปแล้วมากที่สุด 5 อันดับแรกของโลก ประกอบด้วย อันดับที่ 1 อิสราเอล ฉีดไปแล้ว 2.3 ล้านโดส คิดเป็น 25.91 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากร อันดับที่ 2 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฉีดไปแล้ว 1.9 ล้านโดส คิดเป็น 17.52เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากร อันดับที่ 3 บาห์เรน ฉีดไปแล้ว 1.42 แสนโดส คิดเป็น 9.54เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากร อันดับที่ 4 สหราชอาณาจักร ฉีดไปแล้ว 4.3 ล้านโดส หรือคิดเป็น 6.45เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากร, และอันดับที่ 5 สหรัฐอเมริกา ฉีดไปแล้ว 14 ล้านโดส คิดเป็น 4.36เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากร

จะเห็นได้ว่าหลายๆประเทศในโลกเริ่มฉีดวัคซีนกันไปแล้ว คาดว่าภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 หลายประเทศจะสามารถฉีดวัคซีนให้ครบจำนวนประชากรได้ แต่ทว่าในส่วนของประเทศไทย หากดูจากไทม์ไลน์ในปัจจุบัน กว่าเราจะได้เริ่มฉีดล็อตแรกจาก Sinovac ก็คือเดือนมี.ค. ซึ่งมีจำนวนเพียง 2 ล้านโดสเท่านั้น และกว่าที่เราจะได้วัคซีนจาก AstraZeneca ก็ครึ่งหลังของปี 2564 ไปแล้ว

“ประเทศไทยมีวัคซีนที่ครอบคลุมจำนวนประชากรน้อยกว่าประเทศอื่น ความรวดเร็วในการฉีดก็น้อยกว่าประเทศอื่น ก็เพราะการฝากความหวังไว้กับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งในสถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่การตัดสินใจที่ดีเลย เรามีตัวเลือกอื่นๆที่สามารถเจรจาได้มากมาย ประเทศส่วนใหญ่บนโลก ไม่มีประเทศใดที่ฝากความหวังไว้กับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง และส่วนใหญ่จะใช้การจัดซื้อจัดหาคละบริษัทกันไป” นายธนาธร กล่าว

จากนั้น นายธนาธรได้พาย้อนกลับไปดูไทม์ไลน์และโครงสร้างการบริหารจัดซื้อวัคซีนที่รัฐบาลไทยดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน โดยชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลไทยได้วางการจัดหาวัคซีนสนับสนุนแบ่งเป็นสองทาง นั่นคือ 1) การซื้อจากต่างประเทศ และ 2) การผลิตเองในประเทศ โดยในส่วนของการซื้อจากต่างประเทศ ตอนนี้มีการเซ็นสัญญาไปแล้วสองบริษัท ก็คือ AstraZeneca 26 ล้านโดส และ Sinovac 2 ล้านโดส ซึ่งเป็นบริษัทที่กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย เข้าไปถือหุ้นอยู่ 15.03 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่สำคัญก็คือกรณีของบริษัท AstraZeneca เพราะมีปริมาณการสั่งซื้อมาก มีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่า ในการเซ็นสัญญาขายวัคซีนให้กับรัฐบาลไทย เงื่อนไขหนึ่งในสัญญาก็คือการที่ AstraZeneca ทำสัญญาจ้างผลิต (Contract Manufacturing Organization - CMO) กับบริษัท Siam Bioscience โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว Siam Bioscience จะต้องจัดให้มีกำลังการผลิต 200 ล้านโดสต่อปี โดย 174 ล้านโดสจะส่งไปขายในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีก 26 ล้านโดส ขายในประเทศไทย

AstraZeneca เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ต้องการหาผู้ผลิตในหลายภูมิภาคทั่วโลก กระจายวัคซีนออกไปให้ได้มากที่สุด โดยมีคู่ค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ Siam Bioscience ที่เป็นฮับของการผลิตวัคซีนในครั้งนี้ Siam Bioscience มีบริษัทที่เกี่ยวข้องสองบริษัท คือ บริษัท Siam Bioscience ที่ดูแลด้านการวิจัย พัฒนา และผลิต กับบริษัท APEXCELA ที่ดูแลด้านการขาย การตลาด และการกระจายสินค้า ทั้งสองบริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อาคารศรีจุลทรัพย์ ซึ่งถือหุ้นโดยบริษัท ทุนลดาวัลย์ ซึ่งก็เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในยุคก่อตั้ง บริษัท Siam Bioscience เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างบริษัท ทุนลดาวัลย์ กับมหาวิทยาลัยมหิดล มีทุนจดทะเบียน 4,800 ล้านบาท ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2552 ตั้งขึ้นมาเพื่อผลิตยา ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่ได้ผลิตวัคซีน ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากบริษัท ทุนลดาวัลย์