ชาวบ้านราชบุรีขอ"กุลวลี"ประสานชลประทานช่วยปล่อยน้ำช่วงทำนาปรัง ระบุเดือดร้อนหนักขาดรายได้
รวมเลขเด็ด 10 สำนัก งวดวันที่ 17 ม.ค.2564
ไม่ถือสาคนอารมณ์ร้อน “ติ๊ก” ระบายเจอสารพัดคำด่า จากนี้ขอโฟกัสงานเป็นหลัก
เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา ที่ศาลาเอนกประสงค์ อบต.เกาะพลับพลา น.ส.กุลวลี นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอเมือง นางดวงสมร พฤฑฒิกุล เกษตรจังหวัด นายอำนาจ ชูวงษ์ ผอ.สำนักงานโครงการชลประทานที่ 13, นายพันธุ์เทพ โกมารกุล ณ นคร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาฝั่งซ้าย นายคณิต ชินวงษ์ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาฝั่งขวาและนายประศาสตร์ สุขอินทร์ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่ามะกา เข้าชี้แจงและรับฟังปัญหาของชาวบ้านหลายตำบลในพื้นที่ อ.เมืองราชบุรี ที่ได้รับผลกระทบกรณีชลประทานไม่ปล่อยน้ำให้ทำนาปรัง ตามมติ ครม.เนื่องจากปริมาณน้ำที่เก็บกักของเขื่อนที่ จ.กาญจนบุรี มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย ทำให้ชาวนาเดือดร้อน เพราะไม่มีน้ำทำนาปรัง หากจะไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนก็ไม่มีความรู้ ต้องปล่อยที่นาให้ว่างเปล่าไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้ เพราะสภาพดินจะมีลักษณะเป็นดินเหนียว ไม่มีความเหมาะสมในการเจริญเติบโตของพืชทนแล้งทำให้เกษตรกรขาดรายได้
น.ส.กุลวลี เปิดเผยว่า ปัญหานี้ได้รับเรื่องมาตั้งแต่เดือน พ.ย.- ธ.ค. ปีที่แล้ว และได้นำไปหารือในสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยก่อนหน้านี้มีการหารือกับสำนักชลประทานที่ 13 ที่ดูแลลุ่มน้ำแม่กลอง ให้ทำแผนการบริหารจัดการน้ำ เปิด-ปิดน้ำ ลงพื้นที่พูดคุยหาแนวทางร่วมกันกับกลุ่มผู้ใช้น้ำและพี่น้องชาวนา รวมถึงลงพื้นที่สำรวจแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองและจัดหาเครื่องมือสนับสนุน เช่น เครื่องสูบน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับน้ำใช้เพื่อการเกษตร อีกทั้งยังมีการแนะนำพี่น้องเกษตรกร ในด้านอื่นๆด้วย อาทิ การปลูกพืชน้ำน้อย เพื่อทดแทนการทำนาปรัง, การปรับปรุงบำรุงดิน และการนำโครงการ “โคก หนอง นา” มาประยุกต์ใช้
ด้านนายอำนาจ ชูวงษ์ ผอ.สำนักงานโครงการชลประทานที่ 13 เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำแม่กลองปีนี้อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย เช่น เดียวกับปี 2558 -2559 ทำให้การวางแผนจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในปีนี้ต้องวางแผนให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันของเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำทั้งด้านอุปโภค บริโภค การรักษาระบบนิเวศ การสำรองน้ำไว้ใช้ในต้นฤดูฝน ของปี 2564 และการทำเกษตรกรรม สามารถบริหารจัดการได้อย่างลุล่วง เพียงพอต่อน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันน้ำในเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ณ ปัจจุบันมีอยู่ 4,300 ล้านลูกบาศก์เมตร ถือว่าเป็นปีที่น้ำน้อย ตามปกติน้ำในลุ่มน้ำแม่กลอง ปริมาณน้ำที่เพียงพอจะจัดสรรตลอดทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ณ วันที่ 1 ม.ค. ต้องมีมากกว่า 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปีนี้ ณ วันที่ 1 ม.ค. มีน้ำเพียง 4,800 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ยังทำนาปรังไม่ได้ เนื่องจากมติ ครม.ได้วางแผนเพาะปลูกแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำแต่ละพื้นที่ ซึ่งลุ่มน้ำแม่กลองถือเป็นหนึ่งในลุ่มน้ำที่อยู่ในมติ ครม. ดังนั้นทางสำนักงานชลประทานที่ 13 ได้วางแผนการจัดสรรน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรมโดยการส่งน้ำเป็นแบบรอบเวร เนื่องจากมีพื้นที่ที่ครอบคลุมทั้งหมดหลายจังหวัด เช่น กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และบางส่วนของสุพรรณบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร