เขาใหญ่ไม่ฟันธง "เจ้าดื้อ"ทำร้าย นทท.ดับ

2021-01-15 18:20:56

เขาใหญ่ไม่ฟันธง "เจ้าดื้อ"ทำร้าย นทท.ดับ

Advertisement

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ระบุยังไม่ชัด “เจ้าดื้อ”ก่อเหตุทำร้ายนักท่องเที่ยวเสียชีวิต นักวิจัยชี้ "ผากล้วยไม้" ช้างป่าใช้ประโยชน์ช่วง ธ.ค.-ม.ค. ปีที่แล้วก็ออกมารื้อเต็นท์ 

เมื่อวันที่ 15 ม.ค. นายอดิศักดิ์ ภูสิทธิ์วงศานุยุต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวถึงกรณีช้างป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ทำร้ายนักท่องเที่ยวเสียชีวิต ว่า ยังรู้สึกแปลกใจว่าทำไมช้างถึงมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนด้วย ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นช้างตัวไหน ไม่แน่ใจว่าเป็นพี่ดื้อ หรือพี่โยโย่ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ได้สั่งปิดพื้นที่กางเต็นท์บริเวณผากล้ายไม้ก่อน ยังไม่มีกำหนดว่าจะเปิดเมื่อใด สำหรับที่มีการพูดว่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เปิดที่กางเต็นท์มากเกินไปเพื่อรับนักท่องเที่ยวมาเพิ่มนั้น ขอชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง ในปีนี้มีบริเวณกางเต็นท์น้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำ

ปลัด ทส. แจงภาพป่าแชร์ในออนไลน์แค่ผลัดใบ

โลกต้องจำ “ดัง-พันกร” ชีวิตผู้ชายก็ใส่กระโปรงเดินถนนได้

หมอหนุ่มโพสต์ภาพทำคลอดภรรยา ปล่อยมุก “เอาเข้าเอง เอาออกเอง นักเลงพอ

ด้านนายศุภกิจ วินิตพรสวรรค์ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวถึงกรณีมีการระบุว่าช้างป่าอาจหงุดหงิดจากการติดปลอกคอติดตามตัวจึงทำร้ายคนจนเสียชีวิต ว่า ในเรื่องของการติดปลอกคอ ช้างแต่ละตัวไม่เหมือนกัน แต่หากถามว่าปลอกคอมีผลต่อพฤติกรรมช้างหรือไม่ จากการที่เราดำเนินการติดปลอกคอมา อุปกรณ์ไม่มีผลต่อพฤติกรรมช้าง แต่อาจมีความรู้สึกแปลกในห้วงแรกของการติดอุปกรณ์เหมือนคนไม่เคยใส่สร้อย แต่ประมาณไม่เกิน 10 -14 วัน ช้างก็จะชิน แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 70-80 ปลอกคอไม่มีผลต่อพฤติกรรมของช้าง แต่ก็ต้องขึ้นกับช้างแต่ละตัวด้วย อย่างไรก็ตามอาจเป็นไปได้ในช้างป่าที่ไม่เคยถูกจับบังคับมาก่อน ซึ่งก่อนติดปลอกคอต้องมีการยิงยาสลบ ในช่วง 5 วันแรก ช้างอาจจะหงุดหงิด ด้วยฤทธิ์ของยาสลบ ช่วงแรกจึงต้องเฝ้าระวังด้วย 

เมื่อถามว่าขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ชัดว่าช้างที่ก่อเหตุคือเจ้าดื้อที่เพิ่งติดปลอกคอเมื่อวันที่ 9 ม.ค.ใช่หรือไม่ นายศุภกิจ กล่าวว่า ขณะนี้ทางอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กำลังประสานกับคณะนักวิจัย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ติดปลอกคอเจ้าดื้อ หากสามารถจับสัญญาณดาวเทียมได้ว่าในช่วง 02.00-03.00 น.เจ้าดื้ออยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุผากล้วยไม้หรือไม่หรืออยู่จุดไหน ก็จะสามารถสรุปได้ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ช่วงปลายเดือน ธ.ค.- ม.ค. ของทุกปีบริเวณผากล้วยไม้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ของของช้าป่าหลายตัวรวมทั้งเจ้าดื้ออยู่แล้ว โอกาสที่ช้างป่าจะมาเจอกับคนในบริเวณนี้จึงมีสูง จึงต้องระมัดระวังในการใช้พื้นที่ ทั้งนี้เมื่อช่วงวันที่ 4- 5 ม.ค.2563 เจ้าดื้อก็เคยเข้ารื้อทำลายเต็นท์ แต่ไม่มีคนอยู่ในเต็นท์ จึงไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต