ผลกระทบของเศรษฐกิจการส่งออกของไทยหลังจากโควิด – 19

2021-01-11 10:00:36

ผลกระทบของเศรษฐกิจการส่งออกของไทยหลังจากโควิด – 19

Advertisement

ผลกระทบของเศรษฐกิจการส่งออกของไทยหลังจากโควิด – 19

ประเทศไทยของเรานั้น เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก ทั้งทางบกและทางทะเล สินค้าของพรีเมี่ยมของไทยหลายอย่างที่มีการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศและมีชื่อเสียงอย่างมาก เช่น ข้าวหอมมะลิไทย เครื่องเบญจรงค์ อัญมณีและเครื่องประดับต่าง ๆ ซึ่งธุรกิจการส่งออกของไทยนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นการครอบคลุมธุรกิจเกือบจะทุกส่วนในประเทศ ทั้งการเกษตรกรรมหรือโรงงานอุสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้เศรษฐกิจการส่งออกของไทยถูกจับตามองอย่างมากจากหลายประเทศ

เมื่อช่วงปี 2563 ที่ผ่านมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด – 19 ส่งผลให้ยอดการส่งออกของไทยชะลอตัวลงอย่างมาก เกิดจากประเทศคู่ค้าหลายประเทศทำการปิดประเทศเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง และมีการคาดการณ์ว่าหากเกิดผลเช่นนี้ในหลายประเทศนั้น อาจจะทำให้เศรษฐกิจโลกเกิดภาวะถดถอยอีกครั้งหลังจากเมื่อ 13 ปีที่แล้วที่เกิดวิกฤต Hamburger

การระบาดรอบ 2 ของโควิด มีโอกาสเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้เกิดการล็อกดาวน์ประเทศขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากเกิดการล็อกดาวน์ในครั้งนี้อาจจะส่งผลอย่างมากต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศ และผลกระทบด้านเศรษฐกิจการส่งออกของไทยในครั้งนี้อาจจะมีผลรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านมาได้อีกด้วย


สินค้าที่ส่งออกของไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบากดของเชื้อไวรัส โควิด – 19 นั้นสามารถแบ่งกลุ่มสินค้าที่เรียงลำดับความรุนแรงของผลกระทบได้ออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

1. กลุ่มสินค้าที่การส่งออกยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงก่อน โควิด – 19 และหลัง โควิด – 19 ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการของไทยมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากและเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพ เช่น ข้าวหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวสาลี อาหารแช่แข็ง เป็นต้น

2. กลุ่มสินค้าที่การส่งออกเริ่มชะลอตัวแต่เริ่มมียอดการส่งออกเพิ่มมาขึ้นเมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้กลุ่มสินค้านี้เป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับความต้องการอยู่ชั่วขณะ ได้แก่ สินค้าจำพวกข้าวโพด ผลไม้กระป๋อง ผลไม้แปรรูป อาหารปรุงสำเร็จ อาหารกระป๋อง ทั้งนี้ยังไม่มีแนวโน้มว่าสินค้ากลุ่มนี้จะชะลอตัวลง เพราะยังมีแนวทางการส่งเสริมการส่งออกของสินค้ากลุ่มนี้เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและอาจจะมีการต่อยอดพัฒนาเพื่อหาตลาดส่งออกใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยงในอนาคต



3. กลุ่มสินค้าที่มียอดการส่งออกขยายตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงระยะเวลา 3 ปี แต่กลับหดตัวลงอย่างมากในช่วงระยะเวลาการแพร่กระจายตัวของ โควิด – 19 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสินค้ากลุ่มนี้เป็นสินค้าที่มีความเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน รวมไปถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องสำอาง น้ำมันดิบ น้ำมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้อาจจะได้รับผลกระทบจากราคาและด้วยความที่อุปสงค์ของภาคการผลิตลดลงจากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ ทำให้การผลิตต้องชะลอตัวลง แต่ถึงแม้สินค้ากลุ่มนี้จะหยุดชะงักในช่วงนี้ แต่คาดการณ์ว่าหากสถานการณ์ โควิด – 19 ดีขึ้น สินค้ากลุ่มนี้จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็วแน่นอน

4. กลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัวค่อนข้างต่ำในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และตกต่ำมากขึ้นเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้นั้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีการแข่งขันระหว่างประเทศค่อนข้างสูง ได้แก่ ยางพารา สินค้าปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ ส่วนประกอบรถยนต์ เหล็ก เครื่องนุ่งห่ม ของใช้ในครัวเรือน ผ้า ซึ่งแนวโน้มการปรับตัวของสินค้ากลุ่มนี้นั้นมีค่อนข้างมาก อาจจะต้องมีการปรับโครงสร้างการผลิตครั้งใหญ่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า

5. กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกหดตัวลงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาและยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง โควิด – 19 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ มอเตอร์ไฟฟ้า เส้นใยประดิษฐ์ แม่พิมพ์หล่อโลหะ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด – 19 นั้นถือว่าส่งผลวงกว้างอย่างมากต่อธุรกิจการส่งออกของไทย นอกจากนี้แล้วผลกระทบของการชะลอตัวจากยอดการส่งออกต่าง ๆ ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ของไทยอีกด้วย ทาง www.โรงงานของพรีเมี่ยม.com ขอส่งกำลังใจให้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการทุกท่านให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้โดยไวด้วยค่ะ