บทบาทสำคัญของ “ครูนอกห้องเรียน” ที่มีต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ / แจ็คกี้ หวาง ผู้จัดการ Google ประจำประเทศไทย

2020-10-20 16:13:36

บทบาทสำคัญของ “ครูนอกห้องเรียน” ที่มีต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ / แจ็คกี้ หวาง ผู้จัดการ Google ประจำประเทศไทย

Advertisement

นับจากนี้จนถึงปี 2568 จะมีผู้ที่เข้าสู่โลกออนไลน์เป็นครั้งแรกมากกว่า 1.2 พันล้านคนทั่วโลก โดย 55% ของจำนวนนี้เป็นผู้คนที่อยู่ในเอเชีย โดยกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ (New Internet User) เหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากชุมชนชนบท

นอกเมืองใหญ่ ที่จะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดอนาคตของอินเทอร์เน็ต แต่ปัจจุบันพวกเขาต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายในการบรรลุศักยภาพของตนเอง

การทำให้แน่ใจว่าผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานได้นั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่รายงานฉบับใหม่จากโครงการ Next Billion Users ของ Google แสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้ยังไม่เพียงพอ

สำหรับผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน การท่องเว็บหรือใช้แอปถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรืออัปเกรดต่างๆ ก็จะหาทางออกด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เพราะคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตัว

เองเป็นอย่างดี ซึ่งตรงกันข้ามกันกับผู้ที่พยายามเรียนรู้และทำความเข้าใจอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก

จากการศึกษาของ Google ซึ่งเน้นไปที่ประเทศบราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย ไนจีเรีย และเม็กซิโก ที่มีความเกี่ยวข้องทั่วโลกนั้นพบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่นั้นใช้เวลามากถึง 75% ในการพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งเปรียบเสมือนการถ่ายทอดความรู้

แบบ “ครูนอกห้องเรียน” สำหรับสอนการทำในสิ่งง่ายๆ อาทิ การเปิดโทรศัพท์มือถือ

ครูเหล่านี้ ซึ่งโดยปกติจะเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนๆ มีบทบาทที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนท้องถิ่นที่เทคโนโลยีไม่ได้เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน พวกเขาได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ในการนำพวกเขา

เข้าสู่โลกออนไลน์และถูกไหว้วานให้ช่วยสอนวิธีต่างๆ อยู่ตลอด ตั้งแต่การตั้งค่าและดูแลบัญชี ไปจนถึงการสั่งซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันทางออนไลน์ ผู้ที่เข้าร่วมในการศึกษาของ Google รายหนึ่งกล่าวว่า “ลูกสาวของฉันเป็นผู้สอนที่ดีและ

อธิบายทุกอย่างอย่างละเอียด เธอจะสอนฉันและกระตุ้นให้ฉันหัดทำด้วยตัวเองอยู่เสมอ เพราะถ้าไม่ทำ ฉันก็จะลืม” จากการปฏิสัมพันธ์ในลักษณะนี้ เรามักจะเห็นว่าผู้สอนต้องการให้ “ผู้เรียน” รู้สึกมั่นใจในขณะที่ส่งมอบความรู้ให้แก่กัน


ผู้สอนจำนวนครึ่งหนึ่งไม่ได้อาศัยอยู่กับกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ และแน่นอนว่าครูนอกห้องเรียนเหล่านี้ไม่ได้มีความพร้อมเหมือนกับครูมืออาชีพ ตัวอย่างเช่น คุณพ่อท่านหนึ่งที่ Google ได้มีโอกาสคุยด้วย บอกว่าเขาจะใช้โทรศัพท์

เฉพาะตอนที่มีลูกชายอยู่ด้วยเท่านั้น แม้ว่าลูกชายของเขาจะมีเวลาว่างแค่เพียงทุก 2-3 เดือนเท่านั้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะชะงักงันของทั้งสองฝ่าย ผู้เป็นพ่อซึ่งเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านลูกชาย

ซึ่งรับบทเป็นผู้สอนก็ไม่สามารถช่วยให้พ่อของตนเรียนรู้ได้เร็วพอ

แต่ท้ายที่สุดแล้วความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริงกับทุกคน และไม่ใช่การเรียนรู้อย่างยั่งยืนในระยะยาวสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ ผู้คนที่พวกเขาพึ่งพาความช่วยเหลือด้านดิจิทัลบางครั้งไม่สามารถเข้าถึงได้ง่ายเสมอไป (โดย

เฉพาะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้แย่ลงกว่าเดิม)



แม้ว่าทุกฝ่ายจะมีความตั้งใจอย่างเต็มที่ แต่ระบบการเรียนรู้ในปัจจุบันทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ไม่มีทักษะที่จำเป็น และสร้างภาระให้กับผู้สอนโดยไม่จำเป็น และเนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกลุ่มนี้มักเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนชนบท มีราย

ได้ต่ำ และเป็นผู้หญิง หรือผู้สูงอายุ จึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีอยู่กว้างขึ้นกว่าเดิม

มีขั้นตอนสำคัญหลายอย่างที่ Google สามารถทำได้เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่และผู้สอนได้ดีขึ้น โดยเริ่มจากความรับผิดชอบของ Google ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

Google สามารถทำอะไรได้อีกมากมายเพื่อสร้างแอปในรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่มีอิสระในการเรียนรู้มากขึ้น ข้อค้นพบที่สำคัญจากงานวิจัยของ Google คือ การสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างนั้นมีประโยชน์ แต่การฝึกฝนก็

เป็นสิ่งสำคัญ และหลายๆ คนที่ Google ได้พูดคุยด้วยต่างบอกว่าพวกเขารู้สึกดีที่ได้ศึกษาเทคโนโลยีด้วยตัวเองเพื่อต่อยอดความรู้ขั้นพื้นฐานที่ได้จากผู้สอน

ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่นานมานี้ Google ได้ลองใช้แนวทางใหม่กับ Google Go ซึ่งเป็นแอปจาก Google Search ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่เข้าสู่โลกออนไลน์เป็นครั้งแรก โดยมีการเพิ่มวิดีโอแนะนำสั้นๆ ลง

ในหน้าจอหลัก เพื่ออธิบายการทำงานของแอป และแนวคิดเบื้องหลังการพัฒนาแอปนี้ ซึ่งแตกต่างจากหน้าจอเริ่มต้นใช้งานแบบดั้งเดิมหรือวิดีโอที่ปรากฏขึ้นเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป วิดีโอเหล่านี้จะอยู่ในหน้าจอหลักอย่างถาวร เพื่อช่วยให้ผู้

ใช้ค่อยๆ พัฒนาทักษะและสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง 





หากสามารถทำให้ขั้นตอนง่ายๆ ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของวิธีในการออกแบบเทคโนโลยีได้ ก็จะสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ได้ตั้งแต่วันแรกที่พวกเขาเริ่มใช้โทรศัพท์ และส่งเสริมระบบการเรียนรู้ในปัจจุบันสำหรับ

พวกเขาและผู้สอน ความคิดริเริ่มต่างๆ เช่น “Digital Confidence Design Tools” ที่ร่วมพัฒนาโดย IDEO ซึ่งเป็นบริษัทออกแบบระดับโลก Google และมูลนิธิ Bill & Melinda Gates ช่วยให้ผู้ผลิตเทคโนโลยีนึกถึงความต้องการของ

ผู้คนที่ท่องโลกออนไลน์ทุกวัน ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหนหรือมีภูมิหลังอย่างไร

ทั้งนี้ การที่จะทำสิ่งนั้นได้ต้องอาศัยแนวความคิดที่แตกต่างจากเดิม วิธีการใหม่ๆ และความมุ่งมั่นที่ยิ่งใหญ่ไปทั่วทั้งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีที่ครอบคลุมมากขึ้นสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอีก

พันล้านคนต่อไป (The Next Billion Internet Users)

โควิด-19 ทำให้ Google ได้มองเห็นปัญหาความไม่เท่าเทียมที่ฝังรากลึกอย่างจริงจัง ทั้งนี้ หน้าต่างแห่งโอกาสยังคงเปิดอยู่เพื่อให้แน่ใจว่ากลุ่มคนและชุมชนที่ด้อยโอกาสจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ชนบท

นอกเมืองใหญ่



นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ รวมถึงรัฐบาลไทย จะนำทักษะและอาชีพด้านดิจิทัลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่เราจำเป็นต้องมีมาตรการต่างๆ ในการลดช่องว่างด้านดิจิทัลด้วยเช่นกัน

โครงการ Go Digital ASEAN ของมูลนิธิเอเชีย ถือเป็นก้าวสำคัญในทิศทางที่ถูกต้อง ด้วยทุนสนับสนุนจาก Google.org และการสนับสนุนของรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลนิธิเอเชียกำลังดำเนินการสนับสนุน

องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในท้องถิ่นเพื่อฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้กับชุมชนหรือกลุ่มคนที่ด้อยโอกาส โดยตั้งเป้าให้ครอบคลุมประชาชนจำนวน 200,000 ราย และครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เป็นผู้หญิง สำหรับการดำเนินงานในประเทศไทยได้รับ

ความร่วมมือจากองค์กรท้องถิ่น ได้แก่ มูลนิธิกองทุนไทย และสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท.) เพื่อฝึกอบรมเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจำนวน 40,000 ราย

สุดท้ายนี้ เราควรมองไปในระยะยาวเพื่อให้แน่ใจว่าการมีความรู้และทักษะด้านดิจิทัล ทั้งเรื่องความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ไปจนถึงการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ได้รับการสอนในโรงเรียนโดยเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรระดับชาติ

ซึ่งต่อยอดจากความคิดริเริ่มต่างๆ เช่น โครงการ Be Internet Awesome ซึ่งนับตั้งแต่การเปิดตัวจนถึงปัจจุบัน มีคนไทยที่ผ่านการฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตจากโครงการนี้ไปแล้วกว่า 500,000 ราย ปัจจุบันผู้ใหญ่จำนวน

มากต้องเผชิญกับความลำบากใจและความยุ่งยากในการขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ซึ่งการให้ความรู้ด้านดิจิทัลตั้งแต่วันนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีกในอนาคต

บางครั้งการทำความเข้าใจและการใช้งานอินเทอร์เน็ตก็เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่ามกลางภาวะการหยุดชะงักของปี 2563 นี้ แต่หากเราลงมือตั้งแต่ตอนนี้ เราก็จะสามารถช่วยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่รุ่นต่อๆ ไปพัฒนาทักษะ

ดิจิทัล เป็นอิสระมากขึ้น และตระหนักถึงศักยภาพของตนเอง ด้วยความช่วยเหลือจากครูนอกห้องเรียน ซึ่งก็คือสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนๆ ของพวกเขานั่นเอง