"วัฒนา"ลุ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินคดีบ้านเอื้ออาทร มั่นใจในความบริสุทธิ์
เมื่อวันที่ 24 ก.ย. นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย อดีต รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในสมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร เดินทางมารับฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในการตัดสินคดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ เมื่อปี 2548 ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทย์ยื่นฟ้อง นายวัฒนา และพวกรวม 14 ค ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์ตามป.อาญาม.148 กับเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที้โดยมิชอบ ม.157 และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ
นายวัฒนา เปิดเผยก่อนเข้ารับฟังคำพิพากษา ว่า นับเป็นระยะเวลา 14 ปีของคดีนี้ที่ต่อสู้กันมา ที่ผ่านมามีการรัฐประหาร 2 ครั้งได้มา 10 คดี คดีนี้เป็นคดีสุดท้าย ซึ่งเป็นคดีที่เกิดจากการรัฐประหารปี 2549 และเป็นคดีที่ไม่ได้สลับซับซ้อน ตนเองมั่นใจเพราะเห็นว่าคดีมีพิรุธในทุกขั้นตอน เช่น พยานรับว่าไม่รู้เรื่ิองกลางศาลยังมี ทั้งนี้หากผลเป็นลบก็จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมาย และตนเองไม่ได้ติดต่อจำเลยอื่นๆ และตนเองไม่หนี ไม่ได้กังวลในคดีนี้เพราะคดีนี้ทำถูกต้องหมดทุกขั้นตอนไม่มีเจ้าหน้าที่กระทำความผิด รายงาน ป.ป.ช.ก็บอกว่าทุกอย่างทำถูกกต้อง ที่ตนเองถูกกล่าวหาอ้างว่า ออกทีโออาร์ตามใจชอบ ซึ่ง ป.ป.ช.ออกมาว่าแก้ปัญหาความล่าช้าและออกมาเป็นประโยชน์ และที่อ้างว่าออกทีโออาร์ฉบับนี้แล้วทำให้เคหะเสียหายนั้นต้องไปซื้อแพง ป.ป.ช.ก็ไต่สวนว่าไม่ได้ซื้อแพงขึ้น ประชาชนได้ประโยชน์และไม่มีใครได้ประโยชน์ แต่เคหะได้ประโยชน์ และข้อกล่าวหาว่าเรียกรับผลประโยชน์ อัยการเคยบอกว่าหาหลักฐานไม่ได้ ซึ่งตนโพสต์ข้อมูลไว้แล้ว และทนายความที่ทำคดีของตนเองบอกว่า ไม่เคยมั่นใจในการทำคดีไหนเท่าทำคดีนี้
นายวัฒนาฝากด้วยว่า อยากให้ช่วยผลักดันรัฐธรรมนูญ และอยากให้คืนอำนาจให้ประชาชน และให้ประชาชนไปเขียนรัฐธรรมนูญเองเพราะจะได้หมดยุคการใช้กฎหมายเป็นเครื่ิองมือ หลักนิติธรรมจะได้กลับมาสู่บ้านเมือง และที่อยากให้คืนอำนาจให้ประชาชนไปเขียนกฎกติกาเองเป็นสิ่งที่ชอบธรรม เพราะอำนาจเป็นของประชาชน และไม่ใช่การตีเช็คปล่าว เพราะยังไงก็ต้องนำเข้ามาในสภา ถ้าเห็นว่าไม่ดีก็ไม่ต้องรับ หรือทำประชามติให้ประชาชนตัดสิน และที่บอกว่าทำประชามติเสียค่าใช้จ่าย แต่ตอนนี้บ้านเมืองเกิดความขัดแย้งมีปัญหาเศรษฐกิจมีคงามเสียหายเยอะกว่า และจะช่วยยุติความขัดแย้งด้วย แต่หากแก้เป็นรายประเด็นก็จะเถียงกันจนไม่ได้แก้ จึงอยากห้ช่วยกันนำประเทศออกจากความขัดแย้ง และวันนี้ไม่มีโอกาสได้ไปสภาเพื่อไปสู้ต่อ เพราะต้องมาศาล
สำหรับรายชื่อจำเลยทั้ง 14 ราย ประกอบด้วย 1.นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พม. 2.นายมานะ วงศ์พิวัฒน์ อดีตบอร์ด กคช. และอดีตประธานอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการระหว่างวันที่ 9 ก.ย. 2548 – 19 ก.ย. 2549 3.นายพรพรหม วงศ์พิวัฒน์ อดีต ผอ.ฝ่ายการเงิน บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) 4.นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง นักธุรกิจค้าข้าวรายใหญ่ 5. น.ส.รัตนา แซ่เฮ้ง ลูกน้องคนสนิทเสี่ยเปี๋ยง 6. น.ส.กรองทอง วงศ์แก้ว พนักงาน บจก.เพรซิเดนท์อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด, 7.น.ส.รุ่งเรือง ขุนปัญญา พนักงาน บจก.เพรซิเดนท์ 8.บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด โดยนายปกรณ์ อัศวีนารักษ์ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน, 9.บริษัท ซิลเวอร์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ไทย เฉน หยู อินเตอร์เนชั่นแนลคอนสตรัคชั่น ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด) โดยนางพิมพ์วรา รัชต์ธนโรจน์ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน, 10.นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง หรือกี้ร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย, 11.บริษัท พาสทิญ่าไทย จำกัด, 12.บริษัท นามแฟทท์ คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบกิจการก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย, 13.บริษัท พรินซิพเทค ไทย จำกัด ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง และ 14.น.ส.สุภาวิดา คงสุข กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทน บริษัท ไทยเฉนหยู