ญี่ปุ่น หยุดนำเข้าหมูจากเยอรมนี

2020-09-15 15:00:29

ญี่ปุ่น หยุดนำเข้าหมูจากเยอรมนี

Advertisement

ญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากกังวลเรื่องโควิด 19 แล้วยังมีเรื่องของไข้หวัดหมูที่พบว่าระบาดในเยอรมนี

ญี่ปุ่นจึงต้องประกาศยุติการนำเข้าไว้ก่อน

กระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นได้ยุติการนำเข้าเนื้อหมูและหมูเป็นๆจากเยอรมนีตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากนักวิทยาศาสตร์ของเยอรมนียืนยันว่าพบการระบาดของไข้หวัดหมูแอฟริกาเป็นครั้งแรกในหมูป่าในแคว้นบราเดนเบิร์กทางตะวันออกของเยอรมนี




เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นแถลงว่าได้มีการหารือกับเยอรมนีแล้วเกี่ยวกับการจัดการกับหมูที่อยู่ระหว่างการส่งไปยังญี่ปุ่น

ปีที่แล้ว ญี่ปุ่นนำเข้าหมูจากเยอรมนี 40,240 ตัน ไม่รวมไส้กรอกหรือเนื้อสำเร็จรูปอื่นๆ หรือเท่ากับ 3.3 เปอร์เซ็นต์ของการนำเข้าหมูของญี่ปุ่น โดยไม่มีการนำเข้าหมูเป็นๆมาตั้งแต่ปีที่แล้ว



จีนและเกาหลีใต้ก็ยุติการนำเข้าหมูจากเยอรมนีเช่นกัน

ไข้หวัดหมู คืออะไร?

ไข้หวัดหมู แท้จริงแล้วคือไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากสายพันธุ์ A และ C ที่พบได้บ่อยในหมูทั่วโลก คือสายพันธุ์ H1N1, H1N2, และ H3N2




ไข้หวัดหมู ติดต่อกันได้อย่างไร?

ไข้หวัดหมู ต้นกำเนิดมาจากหมูที่ติดเชื้อไวรัสและทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นไข้หวัดใหญ่ในหมู และแพร่กระจายไปยังหมูตัวอื่น ๆ ที่อยู่ในคอกเดียวกันจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย การจาม และละอองไวรัสในอากาศรอบ ๆ บริเวณฟาร์มหมู เมื่อคนเลี้ยงหมูสัมผัสกับหมูใกล้ ๆ จึงสามารถติดเชื้อไวรัสจากหมูได้ และสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย จาม/ไอจนเป็นการกระจายละอองไวรัสสู่ผู้อื่นอีกที แต่การกินเนื้อหมูไม่ได้ทำให้ติดเชื้อแต่อย่างใด

ไข้หวัดหมู อาการเป็นอย่างไร?



อาการก็คล้ายไข้หวัดใหญ่ทั่วไป คือ มีไข้ ปวดศีรษะ คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย หรืออาจจะมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

หากอาการรุนแรงขึ้น จะเริ่มมีไข้ขึ้นสูง หายใจเร็ว หอบ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ ซึม ชัก กระสับกระส่าย แขนขาอ่อนแรง ไปจนถึงอัมพาตได้ หากผู้ป่วยได้รับไวรัสที่รุนแรง บวกกับภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรงมากพอ ไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีความเสี่ยงถึงเสียชีวิตได้


กลุ่มเสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงโรคไข้หวัดหมูคือ

ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว เช่นเบาหวาน หอบหืด โรคไตเรื้อรัง โรคปอด โรคหัวใจ ซึ่งหากมีอาการรุนแรง จะเพิ่มความเสี่ยงให้โรคประจำตัวที่เป็นอยู่อาการหนักขึ้น จนอันตรายถึงชีวิตได้



ผู้มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ ทั้งจากการไม่ออกกำลังกาย ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือผู้ที่ต้องทานยากดภูมิคุ้มกันเพื่อรักษาโรคประจำตัวอื่น ๆ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์