"บรรยงค์" มองการทำข่าวคดี "น้องชมพู่" มีลักษณะบิดเบือน ชี้นำ เพื่อเรียกความสนใจ ไม่ใช่เชิงสืบสวน แนะสื่อต้องเปลี่ยนแปลงการนำเสนอให้น่าสนใจแต่ต้องไม่ผิดกติกา ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ให้ความรู้และชี้แนะในเรื่องที่ถูกต้อง
เมื่อวันที่ 21 ส.ค. นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ประธานกรรมการจริยธรรมวิชาชีพสื่อ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวถึงการทำงานของสื่อมวลชนในคดีน้องชมพู่ และการทำหน้าที่ของสื่อในปัจจุบันว่า ตั้งแต่เริ่มเกิดข่าวขึ้นมา วันแรกที่พบศพ วันรุ่งขึ้นก็เริ่มพาดหัวแล้วว่าถูกข่มขืน แต่หลังจากที่มีการชันสูตรผลิกศพก็ปลี่ยนหัวข่าวใหม่ว่าไม่ใช่ นั่นคือครั้งแรกของการเริ่มต้นของการทำข่าวเด็ก แล้วไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง เป็นลักษณะในการชี้นำ จากนั้นก็ตามมาด้วยการอาศัยเรื่องความเชื่อวิญญาณ และมีหมอดูเข้ามา เพื่อให้เกิดความจริงของข่าว บางวันมีประเด็นข่าว 6-7 ประเด็น แต่เนื่องจากยังหาข้อยุติไม่ได้ ก็ต้องเกิดข่าวเพราะว่าเป็นเรื่องของความสนใจ ยิ่งทำให้เขาเกิดความบิดเบือน ชี้นำ โดยเฉพาะไปพาดพิงบุคคลจึงทำให้เกิดการกล่าวหา4-5คน จนทำให้คนบางคนอยู่ไม่ได้เลยในหมู่บ้านและในที่สุดผลของเรื่องที่เกิดขึ้น คือสื่อไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ละเมิดสิทธิมนุษยชน
นายบรรยงค์ กล่าวต่อว่า ส่วนรูปแบบการทำข่าวพยายามทำให้เหมือนเชิงสืบสวน แต่ไม่ใช่เชิงสืบสวน แต่เป็นการไปอาศัยข้อสันนิษฐานต่างๆที่ทำให้เขาบิดเบือน การรายงานข่าวเสมือนว่า จะนำตำรวจ แต่ก็มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีเพียงเรื่องเดียวที่เป็นความขัดแย้ง คือความขัดแย้งทางกายภาพ เด็กอายุสามขวบจะเดินเกือบสามกิโล แต่นอกนั้น ไม่มีใครหรือสื่อช่องใดที่จะทำงานนำหน้าตำรวจได้ ทั้งนี้ก็เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของสื่อที่ต้องทำให้สังคมรับรู้แต่การหาเรื่องที่ทำให้เกิดข่าว ไม่ใช่ความสนใจของประชาชนลดน้อยลงแล้วถึงจะเลิกทำ แต่วันนี้วัดด้วยทางดิจิตอล ถ้าคนดูน้อยลงเมื่อไรสื่อก็จะเลิกข่าวนี้ และที่สำคัญที่สุดคือการไปสัมภาษณ์เด็กซึ่งเป็นพี่สาวของน้องที่เสียชีวิตไป ซึ่งไม่ตรงกับที่น้องให้การกับตำรวจ แต่ตำรวจบอกว่าไม่มีปัญหา การที่แม่บอกให้ลูกสาวคนโตปรับคำให้การแล้วข้อเท็จจริงไม่ใช่ความที่ว่าจะถูกทำร้าย จึงให้สัมภาษณ์แบบนั้นซึ่งสื่อถูกตำรวจตำหนิเลยว่าไม่สมควรการไปสัมภาษณ์เด็กไม่สมควรโดยสิ้นเชิง โดยในคุณค่าของข่าวสื่อมวลชนได้แค่ความสนใจจากประชาชนแต่ว่านอกจากนั้นไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย และที่สื่อรายงานข่าวนี้สื่อได้เรื่องโฆษณาโดยเฉพาะสื่อหลักสองช่อง ที่แข่งกันทำ
ประธานกรรมการจริยธรรมวิชาชีพสื่อ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ยังกล่าวอีกว่า ข่าวดีคนไม่ดูสื่อต้องปรับตัว ต้องสร้างสีสันเพื่อที่จะสร้างลักษณะเฉพาะตัวให้คนติดตามไม่ได้ผิดกติกา เราต้องมีการปรับตัวจะใช้วิธีแบบโบราณหรืออย่างไร เช่นผู้ดำเนินรายการ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้น่าสนใจ เราสามารถทำได้เลยแต่ต้องเคารพสิทธิส่วนบุคคล ไม่ละเมิดแค่นั้นและก็มีการให้ความรู้ไปด้วย รวมถึมีการชี้แนะในเรื่องที่ถูกต้อง ถ้าเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติก็ต้องรับผิดชอบด้วย ขณะที่เทคโนโลยีก็สามารถทำให้อัพเดทข่าวสารได้รวดเร็ว แต่ว่าสื่อกระแสหลักยังคงเป็นสื่อที่น่าเชื่อถือกว่าที่อื่นเสมอ ทั้งนี้มองว่า คุณผู้ชมทางบ้านไม่สามารถที่จะรับข่าวสารจากช่องทางใดช่องทางหนึ่งได้เพียงช่องทางเดียวอีกต่อไป จะต้องพิจารณาตัวเอง แต่ยังไงต้องยับยั้งชั่งใจเพราะตอนนี้กฎหมายคอมพิวเตอร์แรงมาก
สำหรับสื่อมวลชนก็ไม่ได้มีหน้าที่เดียวในการรายงานข้อเท็จจริง แต่ยังมีหน้าที่ในการให้ความรู้กับประชาชนยังมีหน้าที่ในการชี้แนะสังคมนอกเหนือจากการรักษาและสืบทอดวัฒนธรรม