ฮือฮา! “ปลานีโม่” สายพันธุ์ใหม่ สีขาวทั้งตัว

2020-06-29 12:00:15

ฮือฮา! “ปลานีโม่” สายพันธุ์ใหม่ สีขาวทั้งตัว

Advertisement

ศูนย์วิจัยฯ สตูลสุดเจ๋ง สร้างพันธุกรรม “ปลานีโม่สีขาวทั้งตัว” สำเร็จ!

วันที่ 28 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอดุลย์ แมเร๊าะ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอันดามันตอนล่าง(สตูล) พร้อมด้วย พัชรา แมเร๊าะ ตำแหน่งนักวิชาการประมงชำนาญการ ประจำบ่ออนุบาลปลาการ์ตูน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอันดามันตอนล่าง (สตูล) อ.ละงู จ.สตูล ได้พาไปชมบ่ออนุบาล ปลาการ์ตูนไปชมความน่ารักของ ปลานีโม่สีขาวทั้งตัวสายพันธุ์แพลสตินั่ม นับพันๆ ตัวที่ว่ายวนเล่นน้ำในบ่อเลี้ยง

พัชรา แมเร๊าะ นักวิชาการประมงชำนาญการ ประจำบ่ออนุบาลปลาการ์ตูน ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอันดามันตอนล่าง(สตูล) บอกว่า นับเป็นความสำเร็จที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอันดามันตอนล่าง(สตูล) ได้สร้างปลาการ์ตูนหรือปลานีโม่สี ส้มขาวนำไปรับการผสมพันธุ์โดยพ่อแม่พันธุ์เดียวกัน แล้วคัดสรรตัวที่เด่นอุดมสมบูรณ์จริงๆไปเรื่อย ถึง 3 ครั้ง จนได้ปลาการ์ตูน หรือปลานีโม่สีขาวทั้งตัวที่สวยเด่นในครั้งนี้หลายพันตัวเลยทีเดียว




พัชรา กล่าวอีกว่า ปลานีโม่ หรือปลาการ์ตูน จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอันดามันตอนล่าง(สตูล) มีทั้งหมด7สายพันธุ์ สายพันธุ์ดั้งเดิมจะมีลักษณะสีส้มลายขาวปกติส่วนปลานีโม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์โดยพ่อแม่พันธุ์เดียวกันบางครั้งจะออกมาสีที่ต่างพ่อแม่พันธุ์. จะออกมาแบบสีที่เด่นกว่า ทางศูนย์ก็จะนำสายพันธุ์ที่เด่นกว่านั้นๆมาผสมกันอีก หลายๆครั้ง จึงได้นีโม่สีขาว ที่เห็นได้ชัดว่า ปลานีโม่ลำตัวสีขาว ไปหมดจะมีที่ปากเป็นสีส้ม และคลีบสีส้มเท่านั้น ที่สวยเด่นมา

ส่วนปลานีโม่ในศูนย์นี้ มี 7สายพันธุ์ด้วยกันแต่ที่เด่นๆก็จะเป็น นีโม่สี ส้มขาว,ขาว,ดำขาวและมะเขือเทศทั้ง 4 สายพันธุ์นี้ เป็นที่นิยมของผู้คนที่เดินทางมาเยี่ยมชมและซื้อไปเลี้ยงสวยงาม และปลานีโม่ที่เลี้ยงได้คือการเพาะขยายพันธุ์ในบ่อเลี้ยงเท่านั้น ส่วนปลานีโม่ที่จับในทะเลเอามาเลี้ยง ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน



สำหรับที่ศูนย์ฯ นี้ในส่วนของปลานีโม่ทีนี่มีหลายขนาดให้เลือกซื้อ พร้อมทั้งให้คำแนะนำอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ฯ ในการเลี้ยงดูต้องดูแลเขาอย่างไร ทั้งนี้ ทางศูนย์ยังเพาะเลี้ยงไว้เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยสายพันธุ์ที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาตินั้นจะเป็นสายพันธุ์ส้มขาว มีขนาดตัว 3-4 ซม. อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจจะมาเยี่ยมชมศูนย์วิจัยฯ สามารถมาได้ทุกวัน แต่ทางเจ้าหน้าที่แนะนำว่าถ้าหากจะมาเยี่ยมชมแนะนำว่าให้มาช่วงวันธรรมดา เช่น วันจันทร์-ศุกร์ จะดีกว่าเพราะมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจะได้ช่วยดูแลอำนวยความสะดวกได้อย่างเต็มที่