0 เบ็ดเสร็จรอคลายล็อกเฟส4 เปิดทางรอดธุรกิจสูตร GDH

2020-06-11 21:20:21

0 เบ็ดเสร็จรอคลายล็อกเฟส4 เปิดทางรอดธุรกิจสูตร GDH

Advertisement



สถานการณ์โรคโควิด-19ในประเทศไทย วันที่ 11 มิ. ย.63 ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ เป็น 0 ตัวเดียว  โดยไม่มีการพบเชื้อในคนไทยที่กลับจากประเทศใน State Quarantine ด้วย






เป็น 0 หรือไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศติตต่อกันป็นวันที่ 17 เป็นเลข 0 ครั้งที่ 5 ในรอบ 29 วัน โดยการไม่พบเชื้อเลยมีขึ้นในวันที่  13,16,22,24พ.ค.63และ 11 มิ.ย.63


0 ไม่สูญเปล่า เป็นเลขที่มีคุณค่า โดยเฉพาะกับ การผ่อนคลายระยะที่ 4 ที่ จะประกาศวันพรุ่ง นี้ (12มิ ย.63) ที่แหล่ง ข่าวผู้ใหญ่รายหนึ่งบอก เคอร์ฟิว อาจ ยกเลิก ไปด้วยก็เป็นได้


ยอดป่วยสะสมตอนนี้ 3,125 ราย รักษาหายกลับบ้านอีก  6 รวมที่กลับไปแล้ว  2,987 ราย หรือ 95.58% ที่ยังอยู่ รพ. 80 ราย 2.56% ของผู้ป่วย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม


ขณะที่สถานการณ์ของโลก ผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่ า 7.5 ล้านราย เสียชีวิตรวมกว่า 4 แสนราย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช) ทำแผนภาพรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมต่อประชากร ระบุว่า  ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ติดเชื้อรวม  2,066,401 ราย คิดเป็น 6,245 รายต่อประชากรล้านคน, บราซิล  775,184 ราย คิด เป็น 3,648 รายต่อ ประชากรล้านคน, อินเดียผู้ติดเชื้อ  287,155 ราย คิดเป็น 208รายต่อประชากรล้านคน, ประเทศไทย ผู้ติดเชื้อ 3,125 ราย เท่ากับ 47 รายต่อ ประชากรล้านคน





ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตรวม ต่อประชากร ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียชีวิต 115,130 ราย คิดเป็น 348 รายต่อประชากรล้านคน, เบลเยียม เสียชีวิต 9,629 ราย คิดเป็น 831 รายต่อประชากรล้าน, อังกฤษ เสียชีวิต 41,128 ราย คิดเป็น 606 รายต่อประชากรล้านคน, ประเทศไทย เสียชีวิต 58 ราย คิดเป็น 0.9รายต่อประชากรล้านคน


ด้านสัดส่วนการรักษาหายต่อผู้ติดเชื้อ สหรัฐอเมริกา ติดเชื้อ 2,066,401 ราย หายแล้ว 808,494 ราย คิดเป็น 39.1% ,ประเทศไทย ติดเชื้อ 3,125 ราย รักษาหาย 2,987 คิดเป็น 95.6%, ประเทศบราซิล ติดเชื้อ 775,184 รักษาหาย 396,692 ราย หรือ 51.2%, ประเทศอินเดีย ติดเชื้อ 287,155 ราย รักษาหาย 140,979 หรือ 49.1%


เห็นได้ว่า ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อต่อประชากรสูงมาก อัตราการรักษาหายก็ต่ำตามไปด้วย


จึงต้องเชื่อฟังคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ในการเว้นระยะห่าง การล้างมือบ่อย ๆ และสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการเข้าไปพื้นที่เสี่ยง พื้นที่แออัด โดย พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กล่าวถึงการสวมเฟซชิลด์ที่ถูกต้อง ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าร่วมด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ต้องทำงานพบปะผู้คนในระยะประชิดเป็นเวลานาน เช่นพนักงานบริการ เจ้าหน้าที่ธนาคาร พ่อค้า แม่ค้า





การใช้เฟซชิลด์อย่างเดียว ไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่าป้องกันการกระจายของละอองฝอยหากมีการไอ จาม ได้


แม้โควิดเป็นโรคร้ายที่จะไม่จางหายจากโลกไปง่ายๆ เมืองไทยก็ยังเตือนไม่ให้การ์ดตกทุกวัน กระนั้น การดำเนินชีวิต การประกอบกิจการก็รอไม่ได้ สิ่งที่กังวลก็คือ สภาพการณ์หลังการระบาดของโควิดจะเปลี่ยนไปอย่างมาก


ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผอ.ฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2020 จะหดตัว 8.8 % หากโควิด-19 กลับมาระบาดระลอก 2 ต้องปิดเมืองอีกครั้ง อาจทำให้การขยายตัวหรือ จีดีพี หดตัวรุนแรงถึง 12% ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวที่เข้าไทยลดลง 60% ยอดจองที่อยู่อาศัยลดลงจาก 36% เหลือเพียง 14% ผลการสำรวจ CEO จากบริษัททั่วโลกเห็นว่าเศรษฐกิจคงกลับมาช้า ๆ แบบ U Shape โดยปีนี้ เศรษฐกิจจะหดตัวรุนแรงช่วงต้นปี และอาจใช้เวลา 1-3 ปี จึงกลับสู่จุดเดิม คาดปริมาณการค้าโลกปีนี้ อาจหดตัวถึง 10-30%


ดร. กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ ผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่าช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ความสามารถในการบริโภคและลงทุน ของภาคครัวเรือนและธุรกิจลดลง ธุรกิจจำนวนมากขาดสภาพคล่อง ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมาก หนี้ภาคครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น โดย New Normal ทำให้ต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้นจากความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจที่จะเติบโต คือธุรกิจที่หาโอกาสจาก “GDH” คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ (G) มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท ผ่านการยกระดับสาธารณสุข การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ การสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีของผู้บริโภค (D) การดำเนินธุรกิจ และกระแสด้านสุขภาพ (H) ทั้งนี้ แนวโน้มพฤติกรรมระยะยาวของผู้บริโภค ได้แก่ ธุรกิจสุขภาพ การแพทย์ บริการด้านเทคโนโลยี เคมีภัณฑ์ ที่มียอดขายรวมกัน 12% ของมูลค่าในอุตสาหกรรมไทย



นิว นอร์มอล จะเป็นอิทธิพลที่ครอบงำทุกระบบ ทุกภาคส่วนจึงต้องปรับตัวขนานใหญ่ สูตรเดิมเอาไม่อยู่