"อังคณา" จี้รัฐบาลเร่งประสานกัมพูชาตามหา "วันเฉลิม" (คลิป)

2020-06-09 11:26:53

"อังคณา" จี้รัฐบาลเร่งประสานกัมพูชาตามหา "วันเฉลิม" (คลิป)

Advertisement

"อังคณา" จี้รัฐบาลไทย เร่งประสานกัมพูชาตามหา "วันเฉลิม" 

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดกับทีมข่าวนิว18 ว่า ที่ผ่านมามีการรวบรวมสถิติบุคคลสูญหายที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้เห็นต่างกับรัฐ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีบุคคลสูญหายจำนวนมาก โดยประเทศไทยไม่มีกฎหมาย ว่าด้วยการบังคับสูญหาย ทำให้ญาติของผู้สูญหายไม่มีสิทธิ์ที่จะฟ้องศาล เพราะไม่มีหลักฐานของการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ญาติไม่สามารถดำเนินการแทนได้ ทำให้คดีเกี่ยวกับการบังคับสูญหายไม่มีผู้เสียหาย เพราะผู้เสียหายได้หายตัวไปแล้ว ส่วนในประเทศกัมพูชา ภายหลังจากเกิดสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ก็มีการปฏิรูปในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยประเทศกัมพูชาให้ สัตยาบันอนุสัญญาการบังคับบุคคลสูญหายของสหประชาชาติ และให้สัตยาบันอนุสัญญาผู้ลี้ภัย 1951 ของสหประชาชาติ เพราะฉะนั้นกัมพูชาจะต้องมีภาระผูกพันในการคุ้มครองติดตามกรณีที่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายกับนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์  หรือบุคคลอื่นๆที่สูญหาย ส่วนประเทศไทยจะปฏิเสธไม่ได้ว่านายวันเฉลิมไม่ใช่คนไทยแม้จะมีความคิดเห็นต่างทางการเมือง หรือมีหมายจับแต่ในฐานะพลเมืองไทย รัฐบาลก็สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประสานความร่วมมือกับทางการกัมพูชาในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว

นางอังคณา กล่าวอีกว่า สำหรับร่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายป้องกันการทำให้สาบสูญ ถือเป็นร่างกฎหมายที่สามารถแก้ไขช่องโหว่ในกรณีดังกล่าวได้แต่ที่ผ่านมาข้อกฎหมายดังกล่าวก็มีการแก้ไขในรายละเอียดอยู่หลายครั้ง เนื่องจากสมาชิก สนช. ส่วนใหญ่เป็นทหารและตำรวจและข้าราชการบำนาญอาจจะมีความกังวลในเรื่องของการรับผิด เนื่องจากคำนิยามของการบังคับสูญหายของสหประชาชาติจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือการสั่งการและรู้เห็นเป็นใจโดยเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น จึงยังมีความกังวลในการร่างกฎหมายดังกล่าว

เมื่อถามว่า กรณีของนายวันเฉลิมจากกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่ นางอังคณา กล่าวว่า กรณีนี้ไม่ถึงขั้นส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเนื่องจากความจริงแล้วฝ่ายความมั่นคงก็ทราบดีว่ามีผู้ลี้ภัยอยู่ในประเทศใดบ้างและมีจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งเป็นเรื่องภายในของประเทศ โดยเมื่อประเทศนั้นๆมีอนุสัญญายอมรับผู้ลี้ภัยก็ต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว จึงเป็นศิษย์ที่ทุกประเทศต้องเคารพในกฎหมายของประเทศนั้นๆ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาคือเป็นบ้านพี่เมืองน้องที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเสมอหมาทางการจึงต้องประสานความร่วมมือเพื่อให้ญาติพี่น้องของผู้สูญหายรู้สึกว่ารัฐบาลไทย ให้การติดตามค้นหาในฐานะพลเมืองไทย เพื่อไม่ให้เกิดความหวาดกลัวของคนในสังคม