จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่วันที่ 4 มิ.ย.63 เพิ่มพรวดขึ้น 17 ราย เป็นนักศึกษาไทยที่กลับจากต่างประเทศอยู่ในพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ (State Quarantine)
ตกใจ ! ขนาดนี้ได้ไง วันเดียวกันนี้ เดือนที่แล้ว 4 พ.ค.63 ก็คล้ายกัน จู่ๆ ตัวเลขรายใหม่ที่ต่ำสิบอยู่ 4-5 วัน ก็พุ่งปรี๊ดไป 18 ราย จากแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองในศูนย์กักตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จ.สงขลา
ผู้ติดเชื้อใหม่วันนี้ ทำให้ยอดสะสมเป็น 3,101 ราย ที่หายป่วยแล้ว 2,968 ราย ไม่มีผู้หายป่วยเพิ่มและไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
กลุ่ม 2 จากประเทศกาตาร์ 2 ราย เป็นชายอายุ 28 หญิงอายุ 29 กลับถึงไทย เมื่อ 22 พ.ค.63 เข้าพักพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ ที่ จ. สมุทรปราการ ผู้ป่วยหญิง เริ่มมีอาการไอ มีเสมหะ ปวดศีรษะ ผู้ป่วยชาย ไม่มีอาการ ทั้ง 2 รายพบเชื้อจากการตรวจครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2มิ.ย.63
กลุ่ม 3จากประเทศซาอุดิอาระเบีย 2 ราย เป็นชาย อายุ 28-29กลับถึงไทย ผ่านด่านปาดังเบซาร์ เมื่อวันที่ 21 และ 25 พ.ค.63 เข้าพักในพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ ที่ จ. สงขลา ทั้ง 2 รายพบเชื้อจากการตรวจครั้งที่ 2 เมื่อ 1 มิ.ย.63 ไม่มีอาการ
ชาวไทยที่เดินทางกลับประเทศจากต่างประเทศและพบการติดเชื้อที่ผ่านมา พบว่า จากประเทศคูเวต กลับมา 174 ราย ยืนยันการติดเชื้อ 30 ราย วันนี้เพิ่มอีก 13 จากซาอุดิอาระเบียกลับมา 79 ราย ยืนยันการติดเชื้อ 12 วันนี้เพิ่มอีก 2 ราย จากกาตาร์กลับมา 216 ราย ยืนยันติดเชื้อ 9 ราย วันนี้เพิ่ม 2 ราย การพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ช่วง 2-3 สัปดาห์นี้ เป็นผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ แทบไม่มีผู้ติดเชื้อจากภายในประเทศ จึงเป็นที่วิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ นานา แต่ เมื่อเอาสถิติมาดูพบว่าตั้งแต่เดือน ก.พ.-4มิ.ย.64 พบผู้ป่วยในพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ 164 ราย ชาย 142 หญิง 22 อายุต่ำสุด 15 สูงสุด 77 ปี สัญชาติไทย 98.78% อเมริกา 0.61% อังกฤษ 0.61%
จากจำนวนที่กลับเข้ามาอยู่ในพื้นที่ควบคุมโรค 31,126 คน พบติดเชื้อ 164 คิดเป็น 0.53 %
แต่ก็ยังมีประเด็นสงสัยว่า เมื่อพ้นการกักตัวในพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐแล้ว พอกลับภูมิลำเนา มีบางจังหวัดกำหนดให้เข้ากักตัวในพื้นที่ที่จัดให้ กรณีนี้ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่าไม่จำเป็น เนื่องจากการกักตัวในพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐเป็นเวลา 14วัน ได้รับการตรวจดูแลโดยแพทย์ มีใบรับรองการกลับจากต่างประทศและอยู่ในพื้นที่ควบคุมโรคเรียบร้อยแล้ว หากภูมิลำเนาหรือจังหวัดให้กักตัวก็แสดงใบรับรองและขอไม่เข้ารับการกักตัวของจังหวัด หากมีปัญหาให้โทรศัพท์แจ้งที่เบอร์ 1111 ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน
แต่ถ้าตรวจพบเชื้อ จะรับเข้ารักษาแบบผู้ป่วย อีก 14 วันในโรงพยาบาล ดังนั้นระหว่าง 14 วัน ถ้าไม่มีอาการและไม่มีเชื้อ แปลว่าเป็นคนที่ไม่มีเชื้อในร่างกายแน่นอน ส่วนของผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล ยืนยันได้ว่าจะไม่ไปแพร่โรคที่ชุมชน
อย่างไรก็ตาม โควิด-19 เป็นโรคที่การวิจัยทั่วโลกผลตรงกันว่า สัดส่วนถึง 80% ไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง อีก 15% มีอาการน้อยถึงปานกลาง และ 5% อยู่ในภาวะวิกฤติต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ คนส่วนใหญ่ที่อาการน้อยร่างกายอาจกำจัดได้ อาจหายโดยธรรมชาติ มีอาการน้อยกินยาลดไข้ก็ช่วยได้ แต่ต้องรับผิดชอบคนอื่นด้วยการมีระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ป้องกันการแพร่เชื้อที่ผู้รับอาจไม่แข็งแรงและมีอาการ
เตรียมตัว!
จำนวน 17 รายวันนี้ แยกเป็น 3 กลุ่ม 1.จากประเทศคูเวต เพศชาย 12 ราย อายุ 31-53 หญิง 1 ราย อายุ 44 กลับถึงไทยเมื่อวันที่ 24 (9 ราย) และ 26 (4 ราย) พ.ค.63 เข้าพักในพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐที่ กทม. และ จ.สมุทรปราการ ทุกราย พบเชื้อในการตรวจครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. โดย 1 ราย มีอาการไอ หายใจขัด ที่เหลือไม่มีอาการ
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ระบุว่า นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำชับว่า เป็นสิทธิของคนไทยที่จะเข้าประเทศ ทุกพื้นที่ของเมืองไทยต้องต้อนรับคนไทย เมื่อเข้ามา ต้องรีบตรวจ แล้วเข้า State Quarantine ในพื้นที่
ทางด้าน นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค อธิบายให้ความมั่นใจว่า ผู้กลับจากต่างประเทศที่ผ่านการกักตัวในพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐจะปลอดภัย เพราะทุกคน ก่อนเดินทางจากต่างประเทศ ต้องขึ้นทะเบียนกับสถานกงสุล ถูกกักตัว 14 วัน เมื่อเดินทางถึงประเทศไทยจะถูกคัดกรอง ถ้ามีไข้จะแยกไปตรวจ แบบผู้ป่วย หากไม่มีไข้ เมื่อผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จะถูกนำเข้าพื้นที่ควบคมโรคแห่งรัฐอีก 14 วัน ระหว่าง 14 วัน จะตรวจหาเชื้อ 2 ครั้ง หากไม่มีการพบเชื้อ และอยู่ครบกำหนด ก็กลับบ้านได้
ความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นสำคัญตรงนี้
โดยเฉพาะกับการผ่อนปรนระยะที่สี่ ที่จะมีขึ้นกลางเดือน มิ.ย.63 ซึ่งวันนี้ นพ.ทวีศิลป์ ระบุว่า กิจการและกิจกรรมที่จะผ่อนคลายในระยะต่อไป ได้แก่ 1. โรงเรียนและสถาบันการศึกษา เพื่อการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม 2. สถานรับเลี้ยงเด็กและสถานดูแลผู้สูงวัย แบบรายวัน 3. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 4. ห้องประชุม ที่มีการรวมกลุ่มคนมากกว่า 200 คน 5.การถ่ายทำรายการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 6. อุทยานแห่งชาติ และสวนรุกขชาติ เฉพาะพื้นที่ที่ส่วนราชการกำหนดและสามารถปฏิบัติตามมาตรการได้ 7. ชายหาด ชายทะเล เฉพาะพื้นที่ที่ส่วนราชการกำหนดและสามารถปฏิบัติตามมาตรการได้ 8. สวนสนุก สวนน้ำ สนามเด็กเล่น ร้านเกมส์ 9. สนามกีฬา โรงยิม สถานที่ออกกำลังกาย สำหรับการฝึกซ้อมหรือแข่งขันกีฬา 10. การจัดแสดงคอนเสิร์ต งานอีเวนต์ จัดแสดงสินค้า พื้นที่เกิน 20,000 ตารางเมตร 11. สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ และ 12. สถานบริการอาบอบนวด