ซากฟอสซิลโครงกระดูกสัตว์ ที่นักขุดอาสาสมัครขุดพบในประเทศออสเตรเลีย ได้รับการตรวจพิสูจน์ยืนยัน ว่าเป็นไดโนเสาร์ไม่มีฟัน ประเภทหายาก มีชีวิตอยู่บนโลกในดินแดนที่เป็นประเทศออสเตรเลียในปัจจุบัน เมื่อประมาณ 110 ล้านปีก่อน
อีแลโฟรซอร์ (elaphrosaur) ซึ่งชื่อหมายถึง กิ้งก่าตีนเบา (light-footed lizard) เป็นเครือญาติกับไดโนเสาร์สายพันธุ์ทีเร็กซ์ หรือ ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus Rex) และเวโลไคแรปเตอร์ (Velociraptor)
ซาฟฟอสซิลโครงกระดูกสันหลัง ขนาด 5 เซนติเมตร (2 นิ้ว) ถูกพบในระหว่างการขุดค้น ในเขตเมืองเคป ออตเวย์ ในรัฐวิคตอเรีย ทางภาคใต้ของออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2558 นับเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ อีแลโฟรซอร์ ที่พบครั้งแรกในออสเตรเลีย
ฟอสซิลชิ้นนี้ น.ส.เจสสิกา พาร์คเกอร์ อาสาสมัคร ที่เข้าร่วมโครงการขุดค้นทางโบราณคดีประจำปี โดยพิพิธภัณฑ์เมลเบิร์น โดยตอนแรก คณะผู้ขุดค้นคิดว่า มันเป็นกระดูกของไดโนเสาร์ประเภทบินได้ ชนิดเทอโรซอร์ (pterosaur) แต่หลังจากการศึกษาวิจัยโดยละเอียด โดยคณะนักบรรพชีวินวิทยา ของมหาวิทยาลัยสวินเบิร์น ในเมืองเมลเบิร์น จึงได้ข้อสรุปแน่ชัด
จากการคิดคำนวณ ซากฟอสซิลบ่งชี้ว่า มันเป็นไดโนเสาร์ที่มีความยาวลำตัวประมาณ 2 เมตร ซึ่งถือว่าตัวไม่โตมากนัก เมื่อเทียบกับฟอสซิลอีแลโฟรซอร์ ที่ขุดพบในแทนซาเนีย จีน และอาร์เจนตินา ซึ่งมีความยาวถึง 6 เมตร.