มาร์ค ชี้จุดอ่อนปัญหาการเมืองไทย ฉุดการเติบโตของอาเซียน

2017-03-23 16:50:36

มาร์ค ชี้จุดอ่อนปัญหาการเมืองไทย ฉุดการเติบโตของอาเซียน

Advertisement

"อภิสิทธิ์" ชี้ปัญหาในภูมิภาคและการเมืองภายในของไทยฉุดความเข้มแข็งการเติบโตในอาเซียน แนะแก้ไขจุดอ่อนในอาเซียน ทั้งการปฏิบัติตามข้อตกลง สร้างการรับรู้ให้พลเมืองร่วมขับเคลื่อนอาเซียน เพิ่มความเข้มแข็งในเวทีโลก

ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาเรื่อง "50 ปี ไทยกับอาเซียน" ในงานสัมมนา TU-ASEAN Forum ครั้งที่ 14 "50 ปี ไทยกับอาเซียน"  จัดโดยศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกล่าวว่า ความร่วมมือในอาเซียนที่ผ่านมายังไม่มีการผนึกกำลังเป็นหนึ่งเดียวเพื่อมีบทบาทในเวทีโลก เห็นได้ในช่วงไม่กี่ปีผ่านมาอาเซียนยังไม่ทีบทบาทในเวทีโลกเท่าที่ควร ซึ่งสมัยที่ตัวเองดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีคำถามว่าเหตุใดอาเซียนไม่สามารถร่วมมิอกันหรือผนึกกำลังให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้ได้ อาทิ ทำไมไม่ใช้สกุลเงินเดียวกันแบบยุโรป แต่เมื่อยุโรปเกิดปัญหาวิกฤติ ขึ้นจึงเป็นคำตอบว่าการจะใช้สกุลเงินเดียวกันต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขมากมาย

ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ไทยกับอาเซียนจึงเป็นโอกาสดีที่เราจะมองย้อนกลับไป โดยพิจารณาทบทวนเป้าหมายการรวมตัวก่อตั้งอาเซียน ซึ่งในอดีตเป็นการรวมตัวเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ เพืี่อใหเประเทศในอาเซียนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองภายในของแต่ะละประเทศได้ท่ามกลางภัยจากคอมมิวนิสต์ แต่เมื่อความขัดแย้งทางความคิดเบาบางลง เป้าหมายต่อไปคือต้องดึงประเทศในภูมิภาคเข้ามาเป็นสมาชิกเพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน และพุ่งเป้าความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งทุกวันนี้เป็นสัญญาณที่ดีที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนเข้ามาจับมือกัน และอนาคตคาดว่าติมอร์ตะวันออกจะเข้ามาร่วมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย




โดยปัจจุบันอาเซียนมีเป้าหมายเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งการกำหนดเขตการค้าเสรี มีการลดภาษีสินค้าระหว่างกันจนเหลือ 0% พร้อมทั้งได้ปรับบทบาทการรวมตัวของอาเซียนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยเพิ่มความสำคัญของสำนักเลขาธิการ เพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อตกลง แต่สิ่งสำคัญที่ต้องตั้งคำถามคือสิ่งที่ทำอยู่ปัจจุบันเพียงพอที่จะให้อาเซียนมีบทบาทในโลกตะวันตกมากขึ้นหรือไม่

ทั้งนี้ ในทุกปีภูมิภาคอาเซียนจะมีการประชุมร่วมกับคู่เจรจาเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานพร้อมทั้งเจรจาเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันมากขึ้น ซึ่งสมัยที่ตัวเองดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ทำให้อาเซียนสามารถเข้าร่วมประชุมในเวทีจี 20 จึงทำให้อาเซียนมีความก้าวหน้าในการมีบทบาทในเวทีโลก ทั้งเรื่องเศรษฐกิจจากการที่ภูมิภาคได้มีบทเรียนเพื่อรับมือกับปัญหาจากการที่ผ่านวิกฤติต้มยำกุ้ง



อย่างไรก็ดี ยังต้องตั้งคำถามว่าความสำเร็จในการรวมตัวของ 10 ประเทศอาเซียนจะสามารถไปได้ลึกขนาดไหน  เพราะจากตัวเลขการค้าการลงทุนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ยกตัวอย่างผู้ประกอบการไทยที่ใช้สิทธิตามข้อตกลงทางการค้ามีน้อยมาก อาจเพราะมีความยุ่งยาก และยังไม่เห็นความสำคัญของการใช้สิทธิ ซึ่งการค้าภายในอาเซียนยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับยุโรป จึงได้มีการผลักเันความเขื่อมโยงเพื่อให้ข้อตกลงมีผลในทางปฏิบัติเป็นรูปธรรมจับต้องได้  อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ โครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจีนได้มีการริเริ่มมาตั้งแต่ 6 ปีที่แล้ว แต่เมื่อไทยเปลี่ยนรัฐบาล มีการมองว่าโครงการนี้เป็นของรถไฟไทยทำให้มีการตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงไม่ร่วมมือกับญี่ปุ่น ซึ่งสะท้อนว่าการที่อาเซียนจะเดินหน้าไปได้ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดภายในครั้งใหญ่


ขณะเดียวกัน การทีื่อาเซียนจะเดินไปข้างหน้ายังมีเรื่องใหญ่อีกมากที่ต้องทำ ไม่ใช่แค่ข้อตกลงทางภาษี ต้องมีการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี โดนปัจจุบันแม้จะมีการเปิดเสรีแต่ก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ การขยายความร่วมมือนับจากนี้จึงไม่ใช่แค่ข้อตกลงเรื่องการลดภาษี แต่ต้องมีทั้งมิติทางการเมือง และ สังคม ส่วนกรณีที่นายโดนัล  ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาถอนตัวจากทีพีพี ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะหากไม่ถอนตัวทำให้อาเซียนแตกเป็น 2 กลุ่ม อาจเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างประเทศที่เข้าร่วมทีพีพีและไม่เข้าร่วม

 นอกจากนี้ อาเซียนต้องมีความชัดเจนในจุดยืนของตัวเองให้มากกว่านี้ในหลายเรื่อง เพืี่อให้เกิดความเข้มแข็งในเวทีโลก เช่น อาเซียนมีจุดยืนสนับสนุนความเป็นประชาธิปไตย แต่ยังไม่แสดงออกอย่างชัดเจนจยทำให้เกิดข้อกังขาจากชาติตะวันตก ซึ่งเชื่อว่าทุกวันนี้เวลานายกรัฐมนตรีของไทยไปประชุมอาเซียนก็จะต้องตอบคำถามในที่ประชุมว่าไทยจะเลือกตั้งเมื่อไหร่  รวมถึงจุดอ่อนในการแก้ปัญหาในภูมิภาค เช่น โรฮีนจา จึงฟันธงว่าหากยังไม่มีการเปลี่ยนกรอบวิธีคิดอาเซียนจะเดินหน้าไปมากกว่านี้ได้อย่างยากลำบ  าก




นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ปัจจัยหนึ่งในการทำให้อาเซียนเข้มแข็งต้องทำให้ประชาชนต้องรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองอาเซียน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทจุดยืนของอาเซียน เพราะความสำเร็จในภูมิภาคจะเกิดขึ้นได้ต้องแก้ปัญหาให้ประชาชนมีส่วนร่วม

โดยเห็นว่าประเทศไทยอยู่ในฐานะที่จะผลักดันอาเซียนได้เพราะมีสภาพแวดล้อมและปัจจัยภายในของประเทศที่มีความได้เปรียบประเทศอื่น อาทิ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ หากไม่ติดปัญหาการเมืองภายใน เช่นกรณีที่ไม่สามารถประชุมผู้นำอาเซียนที่พัทยาได้ในสมัยที่ตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนในอีก 50 ปีข้างหน้า มองว่าอาเซียนคือความท้าทาย  ต้องมีการสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองเพื่อเพื่อให้อาเซียนมีบทชาทในเวทีโลกมากขึ้น