พบวัตถุเก่าแก่ที่สุดในโลก

2020-01-16 14:00:39

พบวัตถุเก่าแก่ที่สุดในโลก

Advertisement

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาและสวิตเซอร์แลนด์ ที่กำลังทำการวิเคราะห์ เม็ดฝุ่นที่เกิดก่อนระบบสุริยะ (pre-solar grains) จำนวน 40 เม็ด ที่อยู่ในก้อนอุกกาบาต เมอร์ชิสัน (Murchison) ซึ่งตกจากห้วงอวกาศลงสู่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2512 พบว่า เม็ดฝุ่นเม็ดหนึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง 7,500 ล้านปี นับเป็นวัตถุเก่าแก่ที่สุดในโลก เท่าที่เคยมีการค้นพบ ซึ่งเท่ากับมีอายุมากกว่าระบบสุริยะ หลายพันล้านปีด้วย

การค้นพบถูกตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร โพรซีดิง (Proceedings) ของวิททยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ เอ็นเอเอส (National Academy of Sciences) ในกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. สหรัฐอเมริกา

รองศาสตราจารย์ ฟิลิป เฮค แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก และภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์ฟีลด์ ในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐ หัวหน้าทีมวิจัย เผยว่า เม็ดฝุ่นซิลิคอนคาร์ไบด์ (Silicon carbide) ที่พบว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุในโลก ก่อตัวขึ้นในดาวฤกษ์ยุคโบราณ ที่ถือกำเนิดขึ้นก่อนระบบสุริยะ ประมาณ 3,000 ล้านปี เมื่อดาวฤกษ์ยุคโบราณสิ้นอายุขัย มวลสารต่าง ๆ ที่อยู่ภายในจะถูกเหวี่ยงด้วยแรงระเบิด ออกสู่ห้วงอวกาศภายนอก กลายเป็นวัสดุสำหรับการก่อตัวของดวงดาวเกิดใหม่ และบางส่วนกลายเป็นสะเก็ดดาว หรืออุกกาบาต ตกลงสู่โลกมนุษย์




สำหรับการตรวจหาอายุที่แท้จริง ของเม็ดฝุ่นดึกดำบรรพ์เหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการหาปริมาณของไอโซโทปฮีเลียม-3 (He-3) และนีออน-21 (Ne-21) ซึ่งจะบ่งบอกช่วงเวลาที่เม็ดฝุ่นสัมผัสและทำปฏิกิริยา กับรังสีคอสมิกในห้วงอวกาศ ยิ่งมีปริมาณของไอโซโทปมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าเม็ดฝุ่นเหล่านี้มีอายุเก่าแก่มากขึ้นเท่านั้น

เม็ดฝุ่นที่สกัดได้ 40 เม็ด ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 4,600 ถึง 4,900 ล้านปี เท่ากับมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับโลกและดวงอาทิตย์ แต่เม็ดฝุ่นที่พบว่าเก่าแก่มากที่สุด มีอายุถึง 7,500 ล้านปี ทำให้ทีมนักวิจัยยืนยันว่า "เม็ดฝุ่นที่เกิดก่อนระบบสุริยะ"