"จุรินทร์" มุ่งนำเศรษฐกิจอาเซียนรับมือยุคดิจิทัลปฎิวัตอุตสาหกรรม

2019-11-03 10:21:34

"จุรินทร์" มุ่งนำเศรษฐกิจอาเซียนรับมือยุคดิจิทัลปฎิวัตอุตสาหกรรม

Advertisement

"จุรินทร์" เปิดงานประชุมสุดยอดด้านธุรกิจและการลงทุนของอาเซียน มุ่งนำเศรษฐกิจอาเซียนรับมือยุคดิจิทัลและยุคปฎิวัตอุตสาหกรรม 

เมื่อวันที่ 3  พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ก่อนการเปิดการประชุม Asean Summit อย่างเป็นทางการวันนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน งาน ASEAN Businesses and Investment Summit 2019 ของภาคเอกชนที่เข้าร่วมงานด้วยท

โดยนายจุรินทร์ กล่าวถึง ภายใต้แนวคิด “Empowering ASEAN 4.0” ซึ่งภาคเอกชนโดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนได้จัดขึ้นในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศสมาชิก เพื่อรับมือกับโอกาสและความท้าทายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่มีเศรษฐกิจดิจิตอลเป็นแรงผลักดันสำคัญ ตนขอแสดงความชื่นชมต่อภาคเอกชนที่ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาประชาคมอาเซียนไปสู่ยุค 4.0 หรือยุคดิจิทัล ซึ่งนับว่าเป็นวาระที่สำคัญและเหมาะสมกับช่วงเวลานี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันคงไม่สามารถรปฏิเสธได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็วที่ส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้ในทุกที่และทุกเวลาและทำให้การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้อย่างไร้ขีดจำกัดตลอดจน AI และ หุ่นยนต์ก้าวเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้กล่าวถึงข้างต้นยังส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้า การบริการ การบริโภค และการผลิต ซึ่งก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ แต่ในทางกลับกันเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ก็ส่งผลให้ธุรกิจแบบดั้งเดิมที่ปรับตัวไม่ทันต้องทยอยปิดตัวลงในทุกภูมิภาคของโลก

" หากมองย้อนมาในภูมิภาคเออาเซียนเศรษฐกิจดิจิทัลมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2018 มีมูลค่าสูงถึง 7.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่มีมูลค่าราว 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต คือ การขยายตัวของชนชั้นกลาง การเพิ่มขึ้นของประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ต รวมทั้งการปรับตัวของ SME ในภูมิภาคที่หันมาใช้ดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆเช่นสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน มีสัดส่วนถึงร้อยละ 35 27 และ 16 ของ GDP ตามลำดับแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจดิจิทัล ในอาเซียนยังมีโอกาสเจริญเติบโตอีกมาก โดยการศึกษาจากสามบริษัทชั้นนำของโลกอย่าง Google , Temasek Holding และ Ben & Co พบว่าในอีก 6 ปีข้างหน้า หรือในปี 2025 เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน จะถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าตัวโดยมีมูลค่าสูงถึง 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ" นายจุรินทร์ กล่าว 

นายจุรินทร์ กล่าว่า อาเซียนตระหนักถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะนำมาซึ่งโอกาสทางเศรษฐกิจต่อประเทศสมาชิก จึงได้มีการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ไปสู่เศรษฐกิจที่เช่าของอาเซียน เช่น 1. การจัดทำข้อตกลงด้าน E-Commerce เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน 2.การจัดทำกรอบบูรณาการด้านดิจิตอลของอาเซี่ยน เพื่อเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า การคุ้มครองข้อมูลการพัฒนาระบบชำระเงินการพนาทักษะของบุคลากรและการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาธุรกิจ 3.การจัดทำแนวทางพัฒนาแรงงานมีทักษะและผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อการรับมือกับ 4IR ซึ่งภาคเอกชนโดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนได้มีบทบาทในการผลักดันการทำแนวทางดังกล่าวเพื่อเตรียมความพร้อมแรงงานรองรับอาชีพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผ่าน Reskilling และ Upskilling

นายจุรินทร์ ย้ำว่า ความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้ A-BIS จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่ออนาคตของอาเซียนผมเชื่อมั่นว่าภายใต้ความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดความเข้มแข็งระหว่างรัฐกับเอกชนจะทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์และพร้อมรองรับความท้าทายจากการเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างเข้มแข็งและยังยืนต่อไป

จากนั้นรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เข้าร่วมพิธีเปิดสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่35 ต่อไปโดยเป็นภารกิจร่วมกับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี