ผลการศึกษาวิจัยแม่น้ำสายสำคัญใน 72 ประเทศทั่วโลก โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พบว่า แม่น้ำ 65 สายปนเปื้อนสารปฏิชีวนะ โดยอย่างน้อย 1 สายมีมากกว่าขีดจำกัดความปลอดภัย กว่า 300 เท่า
ด็อกเตอร์ จอห์น วิลคินสัน นักเคมีสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เผยว่า ระดับความเข้มข้นที่ปลอดภัย ของสารปฏิชีวนะในแม่น้ำหลักสายหนึ่งในบังกลาเทศ ประเทศในเอเชียใต้ สูงเกินกว่า 300 เท่า และการตรวจสอบหาสาเหตุพบว่า เกิดจากการทิ้งขยะลงในแม่น้ำ
ดร.วิลคินสัน กล่าวว่า การค้นพบถือว่าเลวร้ายเกินคาด และจะทำให้เกิดการต้านทาน ต่อยาต้านจุลชีพ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก หรือภาวะโลกร้อน
รายงานของทีมวิจัย ระบุว่า แหล่งน้ำในประเทศออสเตรีย มีระดับปนเปื้อนสารปฏิชีวนะสูงสุดในทวีปยุโรป ส่วนภาวะปนเปื้อนเลวร้ายสุด อยู่ในแหล่งน้ำทวีปแอฟริกาและเอเชีย ปัญหานี้ถือเป็นปัญหาร่วมของโลก ไม่เฉพาะภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง