“กรมควบคุมโรค” ฟัน 19 คนดังโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โซเชียลฯ

2017-07-22 17:20:32

“กรมควบคุมโรค” ฟัน 19 คนดังโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โซเชียลฯ

Advertisement

วันที่ 22 ก.ค. 2560 นพ.สุเทพ  เพชรมาก รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวศิลปิน ดารา นักร้อง ผู้มีชื่อเสียง โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโซเซียลเน็ตเวิร์ค ประเภทอินสตราแกรมนั้น กรมควบคุมโรค ขอชี้แจงว่า กรณีดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่เคยดำเนินการแล้วในช่วงต้นปีของปี พ.ศ. 2559 ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินการกล่าวโทษยื่นต่อพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจในการสอบสวนแล้วจำนวนหนึ่ง และอีกจำนวนหนึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งคดีที่ได้ดำเนินกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนไปแล้ว จำนวน 19 ราย 
จากที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้เฝ้าระวังเกี่ยวกับการกระทำความผิด พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ในเรื่องเกี่ยวกับการโฆษณา ตามมาตรา 32 ซึ่งใช้โซเซียลเน็ตเวิร์คในการโฆษณาแฝงโดยใช้ศิลปินดารา หรือผู้มีชื่อเสียงในสาธารณชน พบว่า มีการโพสต์เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นศิลปิน ดารา หรือผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง การกีฬา หรือเน็ตไอดอล หรือบุคคลที่เป็นที่รู้จักในสาธารณชนทั่วไป หรือสถานประกอบการหรือสถานบริการ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเข้าถึงของเยาวชนและลอกเลียนแบบ หรือชักจูงในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นมีพบกระทบทั้งทางด้านร่างกาย ทรัพย์สิน รวมไปถึงบุคคลอื่น จึงขอวิงวอนศิลปิน ดารา นักร้อง หรือผู้มีชื่อเสียงหยุดการกระทำการโฆษณาดังกล่าว เพราะสิ่งที่ผิดและไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงถือเป็นการส่งเสริมการตลาดของบริษัทแอลกอฮอล์ จึงเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และทางบริษัทก็มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมในการโฆษณาด้วยเช่นกัน 
ส่วนในกรณีที่ประชาชนทั่วไปถ้าทำเพื่อการส่งเสริมการตลาดหรือเพื่อประโยชน์ในทางการค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีข้อความชักจูงหรือจูงใจให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 32 หากการกระทำดังกล่าวมิได้มีเจตนาเจตนาเพื่อประโยชน์ทางการค้าก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 32  แต่หากการโพสต์ภาพร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามจำหน่าย หรือห้ามดื่ม หรือเวลาขับขี่ ก็จะต้องรับผิดในมาตราอื่นตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 แล้วแต่กรณี