รู้จัก “มหาวิหารนอเทรอดาม” ศาสนสถานสำคัญคู่เมืองปารีส

2019-04-16 10:58:54

รู้จัก “มหาวิหารนอเทรอดาม”  ศาสนสถานสำคัญคู่เมืองปารีส

Advertisement

ช่วงบ่าย วันจันทร์ที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2019 ตามเวลาท้องถิ่น ประชาชนชาวฝรั่งเศสต่างอยู่ในอาการตกตะลึง พร้อมลุ้นระทึกกับปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงขณะพยายามช่วยกันอย่างหนักเพื่อฉีดน้ำสกัดเพลิงที่กำลังโหมลุกไหม้ “มหาวิหารนอเทรอดาม” ศาสนสถานสำคัญคู่กรุงปารีสที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

มหาวิหารนอเทรอดาม เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า Notre Dame แปลว่า พระแม่เจ้า (Our Lady) ซึ่งเป็นคำที่ชาวคาทอลิกใช้เรียกพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารก็ยังใช้เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกและเป็นที่ประทับของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส 

มหาวิหารนอเทรอดาม ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะการก่อสร้างแบบกอธิค ประกอบด้วยประติมากรรมอันงดงาม และหน้าต่างประดับกระจกสี ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส




มหาวิหารนอเทรอดาม เป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบมหาวิหาร บริเวณกลางโบสถ์โดยรอบเมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอธิคจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอธิคไปในตัว

ในปี ค.ศ. 1793 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส มหาวิหารนอเทรอดามได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก ต่อมามหาวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพสวยงามเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำลาย



เหตุเพลิงไหม้มหาวิหารนอเทรอดามครั้งนี้สร้างความเสียหายอย่างหนัก โดยไฟได้โหมไหม้ตรงด้านบนของอาสนวิหาร (สาเหตุเพลิงไหม้ คาดว่าเกิดมาจากการบูรณะวิหารตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 จนถึงปัจจุบัน) บริเวณยอดแหลมของอาสนวิหารได้พังลง กระจกสีเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเยซูและคริสต์ประวัติได้รับความเสียหาย งานแกะสลักไม้และภาพวาดเก่าแก่ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน เหลือทิ้งไว้เพียงโครงเหล็ก และคาดการณ์ว่าไฟอาจจะลามมายังอาสนวิหารทางฝั่งตะวันตกได้