หญิงเก่งหลังภาพ “หลุมดำ” ประวัติศาสตร์

2019-04-12 16:45:13

หญิงเก่งหลังภาพ “หลุมดำ” ประวัติศาสตร์

Advertisement

ดร.เคที บูแมน นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หญิงวัย 29 ปีชาวอเมริกัน ได้รับเสียงชื่นชมจากทั่วโลก จากบทบาทสำคัญในการพัฒนาขั้นตอนวิธี ที่ทำให้เกิดภาพถ่ายหลุมดำของจริง ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีใครคิดว่าจะเป็นไปได้ สำเร็จ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก และคณะนักดาราศาสตร์สากลได้เปิดเผยเมื่อคืนวันพุธ (10 เม.ย.) ที่ผ่านมา

ภาพถ่ายหลุมดำ จากการบันทึกของเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ 8 ตัวทั่วโลก ในนาม อีเวนท์ ฮอไรเซิน เทเลสโคป หรือ อีเอชที ได้รับการแปลงปรับแต่ง ด้วยขั้นตอนวิธีของ ดร.บูแมน

ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นหลุมดำล้อมรอบด้วยรัศมีฝุ่นและก๊าซ อยู่ห่างจากโลกไกลออกไป 500 ล้านล้านกิโลเมตร (500 million trillion km)




ดร.บูแมนเริ่มลงมือทำ ขั้นตอนวิธี เพื่อเนรมิตภาพถ่ายหลุมดำของจริง เมื่อ 3 ปีก่อน ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาปริญญาโทอยู่ที่ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ เอ็มไอที

ชั่วเวลาแค่ไม่ถึงชั่วโมง หลังการเผยแพร่ภาพถ่ายหลุมดำ ให้ชาวโลกได้ชม เมื่อคืนวันพุธ ชื่อของ ดร.บูแมนดังกระหึ่มไปทั่วโลก โดยเฉพาะในวงการนักวิทยาศาสตร์และสื่อสารมวลชน เอ็มไอที และสถาบันสมิธโซเนียน ลงข้อความยกย่องชมเชยเธอทางโซเชียล มีเดีย



แต่เธอ ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย กล่าวยืนยันว่า ทีมงานของเธอสมควรได้รับคำชมเชยยกย่องเท่าเทียมกัน ในจำนวนนี้รวมถึงนักดาราศาสตร์กว่า 200 คน ที่ประจำการอยู่ที่ศูนย์กล้องโทรทรรศน์เครือข่าย อีเอชที 8 แห่งทั่วโลก