ส่งโดรนช่วยลดฝุ่นพิษสมุทรสาคร

2019-01-28 18:30:04

 ส่งโดรนช่วยลดฝุ่นพิษสมุทรสาคร

Advertisement

ผวจ.สมุทรสาคร ร่วมกับ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  อปท.ลุยฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อดักจับฝุ่นในอากาศให้ตกลงมาสู่พื้นด้านล่าง ด้านเอกชนประสานตำรวจส่งโดรนเข้าช่วยเหลือ


เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. วันที่ 28 ม.ค. สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่คู่ขนานริมถนนพระราม 2 อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ วัดได้ที่ 85 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. คงเป็นพื้นที่สีส้ม ส่วนบนถนนเพชรเกษม ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ในช่วงเวลาเดียวกันวัดได้ที่ 54 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. เพิ่มขึ้นจากเมื่อเช้านี้ที่เป็นสีเหลืองกลายเป็นสีส้มแล้ว ซึ่งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับ จ.สมุทรสาคร นายสมคิด จันทมฤก ผวจ.สมุทรสาคร ร่วมกับ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สมุทรสาคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต่างๆ ก็ยังคงมุ่งไปที่การฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อดักจับฝุ่นในอากาศให้ตกลงมาสู่พื้นด้านล่าง และการล้างถนนเพื่อเอาฝุ่นจากด้านล่างชะล้างทิ้ง ไม่ให้ลอยขึ้นไปในอากาศ อีกทั้งยังได้มีการประชุมหารือร่วมกับภาคส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด

ทั้งนี้จากการสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและยังแก้ไม่ได้อย่างเด็ดขาด ก็เริ่มมีภาคเอกชนได้เข้ามาให้ความร่วมมือเสนอแนะและทดลองการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆบ้างแล้ว อย่างเช่น บริษัท โฟลแมกซ์ ไบโอเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประกอบการเกี่ยวกับโดรนเพื่อการเกษตรก็ประสานกับทางกองบังคับการตำรวจภูธร จ.สมุทรสาคร โดย พล.ต.ต.สามารถ ศรีสิริวิบูลยัชัย ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร เพื่อขออนุญาตนำโดรนเพื่อการเกษตร จำนวน 3 เครื่องขึ้นบินพ่นละอองน้ำผสมสารที่ให้ความหนืด ในจุดต่างๆ ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง หรือมีค่าอัตราฝุ่นละออง PM 2.5 เข้มข้น อย่างเช่น บริเวณใกล้กับ รร.วัดราษฎร์รังสรรค์ และบริเวณใกล้กับจุดที่ตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศเพื่อดูผลเปรียบเทียบของทั้ง 2 แห่ง ว่าการใช้โดรนฉีดพ่นละอองน้ำที่ผสมสารให้ความหนืดนี้ช่วยทำให้จับฝุ่นในอากาศและตกลงพื้นได้ดีกว่าน้ำธรรมดา


นายบุณยวัฒน์ มาอ่อง กรรมการผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท โฟลแมกซ์ ไบโอเทค จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทได้รับการประสานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองบังคับการตำรวจภูธร จ.สมุทรสาคร ให้เข้ามาช่วยในภารกิจนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน สำหรับโดรนที่ใช้ก็คือโดรนที่ใช้ทางการเกษตร โดยโดรนแต่ละตัวจะบรรจุของเหลวซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำเปล่า 10 ลิตร กับน้ำตาลทราย 300 มก. เพื่อเพิ่มความหนืดในการจับกับฝุ่นละออง บินที่ความสูง 50 ม. ใช้เวลาบินในแต่ละครั้งแต่ละลำประมาณ 15 น. ทั้งนี้หลังจากที่โดรนบินแล้วระยะหนึ่ง ก็จะมีการวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศจากเครื่องวัดของเอกชน ที่วัดแบบเรียลไทม์ด้วย โดยเบื้องต้นพบว่า ค่าฝุ่นละอองลดลงมาประมาณ 10 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.

ต่อมาบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ส่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทนำเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ มาตรวจวัดคุณภาพอากาศตามจุดต่างๆ บนถนนพระราม 2 โดยหลังจากที่ตรวจวัดในจุดเสี่ยงตลอดเส้นทางแล้ว ก็จะนำผลการตรวจส่งมอบให้กับทาง ผวจ.สมุทรสาคร เพื่อหาค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองต่อไป แต่เบื้องต้นก็พบว่ามีค่าที่ใกล้เคียงกับเครื่องของกรมควบคุมมลพิษ คืออยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวังเช่นกัน พร้อมกันนี้ก็ยังได้มอบหน้ากาก N95 ให้กับตำรวจจราจร สภ.เมืองสมุทรสาคร โดยมี ผวจ. และ ผบก.ภ.จว. เป็นผู้รับมอบ ขณะเดียวกันก็ยังมีภาคเอกชนโดยนายวิรัตน์ สินชัย จะนำเครื่องพ่นหมอก 800 หัว ความสูง 56 ม. มาติดตั้งที่บริเวณสำนักงานหมวดทางหลวงมหาชัย เพื่อทดลองฉีดน้ำดักจับฝุ่นในอากาศ ที่ระดับความสูงราวๆ 80 ม. โดยเชื่อว่าจะช่วยทำให้ค่าฝุ่นละอองในอากาศลดลงได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้จะนำเครื่องพ่นหมอก 800 หัวนี้ มาทำการติดตั้งในช่วงเย็นของวันที่ 29 ม.ค. จากนั้นก็จะทดลองเดินเครื่องทันทีเมื่อติดตั้งเสร็จ แล้วก็จะทำการประเมินต่อไปว่ามีผลสัมฤทธิ์มากน้อยแค่ไหน


นายสมคิด จันทมฤก ผวจ.สมุทรสาคร กล่าวว่า ณ วันที่ 28 ม.ค. ค่าฝุ่นละอองในอากาศเริ่มดีขึ้นบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังไม่คงที่ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งก็ต้องจับตากันแบบวันต่อวัน ส่วนภารกิจในการลดค่าฝุ่นละอองในอากาศก็ยังต้องดำเนินการต่อไป เพื่อช่วยลดฝุ่นบนถนนที่จะลอยขึ้นในอากาศด้วย ขณะที่แผนการขับเคลื่อนทั้งการแก้ไขปัญหาและการเฝ้าระวังในระยะยาวนั้นต้องมีการประชุมร่วมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเข้าไปดูแลทั้งเรื่องของโรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ และการเผาในที่โล่งแจ้ง ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยหลักนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ฝุ่นละออง