การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน

2018-10-19 17:15:27

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน

Advertisement

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินกัน ในการผสมประสานกลวิธีต่าง ๆ ของการรักษา อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบรรเทาอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน การปรับเปลี่ยนทางพฤติกรรมโดยเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นทางเลือกอันดับแรกในการรักษากระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน เป็นวิธีซึ่งมีประสิทธิภาพและไม่มีผลข้างเคียง โดยรวมถึง การฝึกการออกกำลังกาย ขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ( Kegel Exercise) ช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดปัสสาวะแข็งแรง กล้ามเนื้อแข็งแรงเหล่านี้สามารถช่วยให้หยุดการหดตัวของกระเพาะปัสสาวะแบบไม่ได้ตั้งใจ

แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีการออกกำลังกายขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอย่างถูกต้อง อาจใช้เวลานานถึงหกถึงแปดสัปดาห์ก่อนที่จะสังเกตเห็นความแตกต่างในอาการของผู้ป่วย น้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพ หากผู้ป่วยมีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักอาจช่วยลดอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน รวมทั้งอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม

กำหนดเวลาการไปห้องน้ำเพื่อปัสสาวะ โดยทำตารางเวลาสำหรับการปัสสาวะ ตัวอย่างเช่นทุก 2-4 ชั่วโมง ทำให้ต้องออกไปปัสสาวะในเวลาเดียวกันทุกวันแทนที่จะรอจนกว่าจะรู้สึกอาการปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำ

การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว เป็นการสอดใส่สายสวน ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะให้ออกจากกระเพาะปัสสาวะให้หมด เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถทำได้เอง

แผ่นหรือเบาะดูดซับ การใส่แผ่นหรือผ้าดูดซับสามารถช่วยป้องกันเสื้อผ้าและหลีกเลี่ยงไม่ให้ได้รับความอับอาย ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยไม่ต้องจำกัดกิจวัตรประจำวัน ในปัจจุบันวัสดุดูดซับมีหลายแบบและขนาด และมีระดับการดูดซับหลายระดับ

การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ โดยกำจัดพฤติกรรมการขับถ่ายที่ไม่ดีและเรียนรู้พฤติกรรมการขับถ่ายที่ดี เพื่อให้สามารถกลับมาควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะของตนเองได้ แทนที่จะให้กระเพาะปัสสาวะเป็นตัวควบคุมชีวิตของผู้ป่วยอีกต่อไป




การฝึกควบคุมกระเพาะปัสสาวะด้วยตัวเองให้ชะลอการปัสสาวะเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำ อาจเริ่มต้นด้วยชะลอการปัสสาวะเล็กน้อยเช่น 30 นาทีและค่อยๆเพิ่มระยะเวลาชลอไปปัสสาวะเป็นทุกสามถึงสี่ชั่วโมง การฝึกควบคุมกระเพาะปัสสาวะเป็นไปได้เฉพาะเมื่อสามารถกระชับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้แล้ว



ยารักษาโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน




ยารักษาโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินส่วนใหญ่แล้วจะช่วยกระเพาะปัสสาวะผ่อนคลาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบรรเทาอาการโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน และลดอาการปัสสาวะเล็ดราด ยาเหล่านี้ได้แก่:

• ยาโทลเทโรดีน (Tolterodine) มีชื่อทางการค้าว่า ดีทรูซิทอล เอสอาร์ (Detrusitol SR)

• ออกซีบิวไทนิน (Oxybutynin) มีชื่อทางการค้าว่า ไดยูโทรแปน(Ditropan XL)

• โทรสเปียมคลอไรด์ (Trospium chloride) มีชื่อทางการค้าว่า (ยูริเวส) (Urivesc) 

• โซลิเฟนาซิน (Solifenacin) มีชื่อทางการค้าว่า เวสิแคร์ (Vesicare)

• ยามิราเบกรอน(Mirabegron) มีชื่อทางการค้าว่าเบทไมก้า (Betmiga)


ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ ที่พบโดยทั่วไปของยาเหล่านี้ ได้แก่

• ตาแห้งและปากแห้ง

• ท้องผูก สามารถทำให้อาการกระเพาะปัสสาวะรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามยารูปแบบปลดปล่อยแบบชะลอ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยลง 

•เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยหรือยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม

การฉีดโบท็อกซ์ เข้ากระเพาะปัสสาวะ

โบท็อกซ์ชื่อสามัญคือ โบทูลินัมท็อกซินชนิดเอ เป็นโปรตีนจากแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคพิษงูสวัด แพทย์จะใช้โบท็อกซ์ ในปริมาณเล็กน้อย โดยฉีดตรงเข้าไปในเนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะ โปรตีนนี้ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบางส่วนเป็นอัมพาต การวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าโบท็อกซ์ อาจเป็นประโยชน์สำหรับอาการปัสสาวะเล็ดราดอย่างรุนแรง ผลการรักษาเป็นแบบชั่วคราวคือเป็นเวลาห้าเดือนหรือมากกว่า จึงจำเป็นต้องฉีดซ้ำ อย่างไรก็ตามประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงจากการฉีดยาเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงร้อยละ 9 ที่มีปัสสาวะไม่ออกได้ ดังนั้นหากถ้าผู้ป่วยพิจารณาการรักษาด้วยโบท็อกซ์ ควรเตรียมตัวอาจต้องสวนปัสสาวะเองได้ในกรณีปัสสาวะไม่ออก

การกระตุ้นเส้นประสาท

การควบคุมแรงกระตุ้นของเส้นประสาทในกระเพาะปัสสาวะสามารถช่วยทำให้อาการโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินดีขึ้น ขั้นตอนหนึ่งใช้ลวดบาง ๆ วางไว้ใกล้กับเส้นประสาทบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ แล้วส่งสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะซึ่งจะผ่านใกล้กระดูกสันหลัง ขั้นตอนการผ่าตัดนี้มักทำด้วยการทดลองใช้ลวดชั่วคราวหรือเป็นขั้นตอนขั้นสูงที่จะมีการฝังขั้วไฟฟ้าถาวรและจะมีการทดลองใช้อีกต่อไปก่อนที่จะมีการผ่าตัดฝังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ จากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณ์เชื่อมต่ออยู่กับสายลวดเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปยังกระเพาะปัสสาวะคล้ายคลึงกับเครื่องกระตุ้นหัวใจ หากประสบความสำเร็จจะสามารถลดอาการโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ในที่สุดลวดจะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แบตเตอรี่ขนาดเล็กที่วางใต้ผิวหนัง

การรักษาทางศัลยกรรม

การผ่าตัดเพื่อรักษากระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน จะสงวนไว้สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาอื่น ๆ เป้าหมายคือการปรับปรุงความสามารถในการเก็บปัสสาวะของกระเพาะปัสสาวะและลดความดันในกระเพาะปัสสาวะ อย่างไรก็ตามขั้นตอนเหล่านี้จะไม่ช่วยลดอาการปวดกระเพาะปัสสาวะ การผ่าตัดรักษาทางศัลยกรรมรวมถึง 

• การผ่าตัดเพื่อเพิ่มความจุปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะ ขั้นตอนนี้ใช้ชิ้นส่วนของลำไส้ของผู้ป่วยเพื่อแทนที่ส่วนของกระเพาะปัสสาวะ การผ่าตัดนี้ใช้เฉพาะในกรณีที่มีภาวะอาการปัสสาวะเล็ดราดอย่างรุนแรง ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจต้องใช้สายสวนเป็นระยะ ๆ ตลอดช่วงที่เหลือของชีวิตเพื่อระบายกระเพาะปัสสาวะให้หมด

• การผ่าตัดนำกระเพาะปัสสาวะออก ขั้นตอนนี้ใช้เป็นวิธีสุดท้าย การผ่าตัดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดนำกระเพาะปัสสาวะออก และการผ่าตัดสร้างกระเพาะปัสสาวะเทียมแทน หรือการผ่าตัดนำบางส่วนของลำไส้มาทำเป็นท่อ เปิดหน้าท้องแล้วต่อกับถุงเป็นกระเป๋าบนผิวหนังหน้าท้อง

ศ. นท. ดร. นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล

ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล