เรื่องเล่าวัดเก่า “พระยาทำวรวิหาร” พระอารามหลวง สมัยรัชกาลที่ 2

2018-09-25 17:15:36

เรื่องเล่าวัดเก่า “พระยาทำวรวิหาร”  พระอารามหลวง สมัยรัชกาลที่ 2

Advertisement

เกิดเหตุเจดีย์ภายในวัดพระยาทำวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กทม. พังถล่มลงมาระหว่างบูรณะก่อสร้าง เป็นเหตุให้คนงานกรมศิลป์ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างตรวจสอบหาสาเหตุของการพังถล่ม 

ย้อนกลับไปศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดพระยาทำวรวิหารแห่งนี้ กล่าวกันว่า มีอายุเก่าแก่นับร้อยปีมาแล้ว จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ เลขที่ 47 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร หน้าวัดติดต่อกับ ถนนอรุณอมรินทร์ ตรงข้ามคือ กรมอู่ทหารเรือ โดย “วัดพระยาทำ” เคยมีชื่อเดิมว่า “วัดนาค” คู่กับ “วัดกลาง” ตั้งอยู่คนละฝั่งกับคลองมอญ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าให้เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) สมุหนายก รับเป็นธุระบูรณะปฏิสังขรณ์ แบบสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด แล้วสถาปนาเป็นวัดหลวง จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก “วัดนาค” เป็น “วัดพระยาทำวรวิหาร”




โดยหลังจากเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ซ่อมและสร้างทับวัดเดิมเสร็จ ได้ถวายเป็นอารามหลวงในรัชกาลที่ 2 ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม ทั้งพระอารามจนถึงรัชกาลที่ 5 พระอุโบสถและเสนาสนะในวัดได้เริ่มชำรุด พระครูสุนทรารากษรวิจิตร์(แจ้ง) เจ้าอาวาสได้ร่วมกับทายกทายิกาบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น โดยความเป็นมาตามที่ผู้ใหญ่ในบ้านเล่าให้ฟัง มีการสันนิษฐานว่า วัดนาคสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนในสมัยธนบุรี วัดนาค (วัดพระยาทำ) ปรากฏในพระราชพงศาวดาร(กรุงธนบุรี) ทำให้รู้ว่าวัดพระยาทำมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงธนบุรี นอกจากนี้ วัดพระยาทำยังมีเจดีย์ครุฑจับนาค แต่คนในชุมชนนิยมเรียกกันว่า “เจดีย์ยักษ์” โดยทั้ง 4 ด้าน มีรูปยักษ์ 4 ตน คนดำดิน และคชสารอีกครึ่งตัว ผู้สร้างเป็นเจ้าอาวาส ตำแหน่งพุฒาจารย์ เดิมด้านหน้าของพระเจดีย์คูหาครุฑจับนาค ไม่ได้มี “พระรูปหล่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ประดิษฐานอยู่ กรมการขนส่งทหารเรือ ได้จัดสร้างและนำมาประดิษฐาน เมื่อ 27 ธันวาคม 2558 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน