แม้มีโอกาสน้อย แต่ก็เป็นไปได้ พบอวัยวะสำคัญทั้งไต ปอด ตับ และหัวใจ จากผู้บริจาคที่เสียชีวิต แพร่เชื้อมะเร็ง ทำให้ผู้รับบริจาคอวัยวะ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทรวงอก
มีการผลแพร่ผลการวิจัยพิเศษจากนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทือบิงเง่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป ตั้งอยู่ในเมืองทือบิงเง่น ประเทศเยอรมนี และเอยู ยูนิเวอร์ซิตี มิดิคอล เซ็นเตอร์ ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่า มีผู้เสียชีวิต 3 คนจากโรคมะเร็งทรวงอก หลังจากทั้งหมดได้รับบริจาคอวัยวะจากผู้บริจาคคนเดียวกัน โดยผู้บริจาค เป็นหญิงวัย 53 ปี เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมองเมื่อปี 2550 และได้บริจาคไต, ปอด, ตับ และหัวใจ ให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องการปลูกถ่ายอวัยวะ
แต่ภายใน 6 ปี ของการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้หญิงคนดังกล่าว ผู้รับบริจาค 4 ใน 5 คน เสียชีวิตด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง โดยผู้ป่วยโรคหัวใจเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด แต่อีก 4 คน ป่วยเป็นโรคมะเร็งทรวงอก ซึ่งเชื้อร้ายได้ลุกลามเข้าสู่อวัยวะที่ดีอื่น ๆ มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวเท่านั้น
คณะแพทย์ไม่ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับเชื้อมะเร็ง ก่อนอวัยวะของหญิงที่เสียชีวิต ถูกบริจาคต่อให้ผู้ป่วย แต่อวัยวะดังกล่าว กลับกลายเป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยอย่างไม่คาดฝัน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า โอกาสที่จะได้รับเชื้อมะเร็งจากการปลูกถ่ายอวัยวะสักชิ้นหนึ่งนั้น อาจเกิดขึ้นได้น้อยมาก คิดเป็น 1 ใน 10,000 เท่านั้น และพวกเขาเชื่อว่า นี้เป็นครั้งแรกที่ผู้บริจาคอวัยวะ ได้แพร่เชื้อมะเร็งไปสู่ผู้รับบริจาค 4 คน และยังไม่เคยเห็นว่าจะใช้เวลานานขนาดนี้สำหรับการพัฒนาของเนื้องอก
นักวิทยาศาสตร์จากทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ได้เปิดเผยโศกนาฏกรรมที่แปลกประหลาดนี้ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง 6 ปีหลังผู้บริจาคอวัยวะเสียชีวิตไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า มีการตรวจสอบอวัยวะของผู้บริจาคเป็นอย่างดี และกล่าวว่า มีโอกาสเพียงแค่ 0.01-0.05% เท่านั้น ที่จะได้รับเชื้อมะเร็งจากอวัยวะที่ได้รับบริจาคมา
ผลการวิจัยชิ้นนี้ ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสาร American Journal of Transplantation.