อุ๊ยตายว้ายกรี๊ด !! "ดร.เสรี" รับไม่ได้ลีด มธ.ทำโปรโมตแบบนี้

2018-09-13 18:15:09

อุ๊ยตายว้ายกรี๊ด !! "ดร.เสรี" รับไม่ได้ลีด มธ.ทำโปรโมตแบบนี้

Advertisement

"ตายแล้วๆ อกอีแป้นจะแตกค่ะ ... ผ่านมากี่ปีต่อกี่ปีก็ดูดีไม่เห็นจะต้องมีความหวือหวา งานกีฬากลายเป็นอะไรไปแล้ว คราวนี้ ดร.เห็นแล้วรู้สึกไม่ดี ขอพูดสักทีเพื่อเตือนสติหนูให้คิดดีๆ ก่อนทำ ..."



เกิดเป็นดราม่ามหาวิทยาลัยจนได้ เมื่อ "ดร.เสรี วงษ์มณฑา" ดอดเข้ามาคอมเมนต์ความคิดเห็นส่วนตัวในทำนองผู้ใหญ่มองเด็ก ที่ควรอยู่ในกรอบที่สวยกว่าจะทำเยี่ยงนี้ สำหรับการถ่ายทำเซตภาพโปรโมตเพื่อคัดเลือกเชียร์ลีดเดอร์ ม.ธรรมศาสตร์ เพราะมีการนำนักศึกษามาเปิดเนื้อหนังกึ่งเปลือยกึ่งวาบหวิว โดยท่านเสรีบอก "ไม่อยากเชื่อมหาวิทยาลัยจะทำอะไรน่าอนาถขนาดนี้" 






มากคนก็มากความ ต่างความคิดต่างความเห็นอยู่ที่สังคมบ่มเพาะกันมา เอาเป็นว่า...ไม่ว่าจะทำอะไรคนที่มองต่างไปมักมีเหตุผลรองรับเสมอ แต่ถามว่าดีไหมที่มีการออกมาเตือน เหมือนเพื่อนที่ประสงค์ดี อันนี้คิดว่าน่าชื่นชม เพราะถ้าเพื่อนทำอะไรเสียหายไป และเพื่อนที่รักกลับเมินเฉย ไม่กล่าวตักเตือน ผลสุดท้ายสถาบันและตัวนักศึกษาเองนั่นแหละที่จะได้รับกรรม สำหรับประเด็นร้อนๆ จนเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ เมื่อภาพเพื่อใช้ในการโปรโมตกิจกรรมคัดเลือกเชียร์ลีดเดอร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีคอนเซปต์ให้นักศึกษาเปิดเนื้อหนัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง กึ่งเปลือยถ่ายโปสเตอร์แบบนั้น ทำให้ภาพออกมาค่อนข้างวาบหวิวสยิวมโน แตกต่างจากปีก่อนๆ และกลายมาเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหลายๆ แง่สนั่นช่องทางโซเชียล 





โดยเฟซบุ๊ก Arnond Sakworawich อาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ได้โพสต์ป้ายไวนิลที่ติดไว้แผ่หราบริเวณข้างสนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พร้อมข้อความว่า...

"ที่ธรรมศาสตร์ เห็นทีแรกนึกว่าป้ายแถว ๆ ห้วยขวาง รัชดา แต่ว่าสวยดีนะ ทำใจกว้างๆ หน่อย นี่ปี 2018 แล้วนะ"





ซึ่งในช่องเขียนคำวิจารณ์ก็มี ดร.เสรี วงษ์มณฑา บัณฑิตรุ่นพี่จากรั้วแม่โดมเข้ามาคอมเมนต์เสริมอีกแรงด้วยถ้อยคำเหนื่อยหนาระอาใจ เอาไว้ว่า "ไม่อยากเชื่อว่ามหาวิทยาลัยที่ชื่อมีคำว่า ธรรม จะตกต่ำได้ขนาดนี้ น่าอนาถจริง ๆ ค่ะ"



ทั้งนี้ ในรายการ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 คุณหมวย อริสรา กำธรเจริญ ผู้ประกาศข่าวสาว ได้สัมภาษณ์นักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นเชียร์ลีดเดอร์ หนึ่งในคนในภาพถ่ายเหล่านี้ บอกว่า...



"ภาพชุดนี้เป็นแคมเปญโปรโมตที่ทำร่วมกับ แคมเปญ ยู รีพอร์ต (campaign u report) ของยูนิเซฟ เป็นเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิเด็กและเยาวชนในไทย โดยภาพชุดนี้ของน้องเป็นชุด แคมเปญ บอดี้ อิมเมจ (campaign body image) มีแนวคิด เปิดเผยตัวตน ต้องการสื่อสารว่า อยากให้คนในสังคมยอมรับกับสิ่งที่เราเป็น ไม่ว่าจะมีรูปร่างหน้าตา สีผิวอะไร ก็สามารถเป็นเชียร์ลีดเดอร์ธรรมศาสตร์ได้ และยังพร้อมที่จะแสดงความสามารถต่างๆ ให้ทุกคนเห็นว่า มีคุณค่ามากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก จึงแสดงออกผ่านภาพถ่ายชุดนี้ ซึ่งตามกำหนดจะเปิดตัวในวันพรุ่งนี้ แต่เมื่อมีกระแสเกิดขึ้น วันนี้ช่วงเที่ยงอาจารย์ที่ดูแลกิจกรรม เรียกน้องๆ กลุ่มนี้มาชี้แจง"



แต่มีอีกแง่มุมของประธานเชียร์ มธ. มองว่าภาพโปรโมตลีดเดอร์ที่กึ่งเปลือยท่อนบนนั้น คือแฟชั่น ไม่มีเจตนาส่อทางอนาจาร





ทั้งนี้ นายชญานนท์ จันทรภาสวร ประธานเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า บุคคลที่ปรากฏในภาพเป็นเชียร์ลีดเดอร์ของมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 72

โดยภาพโปรโมตดังกล่าวเป็นแนวความคิดของกลุ่มลีด ที่ร่วมกันคิดและออกแบบ ภายใต้แนวคิด “ดวงดาว” เพื่อเชิญชวนนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมสมัครคัดเลือกเป็นลีดธรรมศาสตร์ รุ่น 73 ของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ –ธรรมศาสตร์ ซึ่งจะจัดขึ้นในต้นปี 2562



โดย นายชญานนท์ มองว่า ภาพที่ออกมา เป็นเรื่องของแฟชั่น เพราะทีมงานได้นำเสนอออกมาด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้สื่อไปในลักษณะอนาจารหรือยั่วยุ ซึ่งในการถ่ายภาพ ทางทีมงานได้ดูแลและป้องกันการโป๊ของนักศึกษาหญิง ด้วยการใส่เกาะอกในการถ่ายภาพ



อีกทั้งช่างภาพก็ไม่ถ่ายติดเนินอก หรือเนื้อหนังส่วนอื่น ถ่ายเพียงแค่ไหล่เท่านั้น ซึ่งภาพที่ถูกเผยแพร่ออกไปจนถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมนั้น ตนเข้าใจว่าเป็นเรื่องของมุมมองความคิดที่แตกต่างกันไป คนที่เสพภาพต้องใช้ความเข้าใจ ซึ่งภาพทั้งหมดถูกโปรโมตติดรอบมหาวิทยาลัยมานานกว่า 1 สัปดาห์แล้ว



ส่วนสาเหตุที่ต้องติดภาพโปรโมตรอบมหาวิทยาลัยนั้น เพราะคณะทำงานต้องการประชาสัมพันธ์ และดึงดูดความสนใจจากนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ให้เข้ามาสมัครเป็นลีด ยืนยันว่าไม่ได้สร้างกระแสจากสังคมภายนอก นอกจากนี้ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ได้มีการโปรโมตลีดในลักษณะเช่นนี้มาแล้ว แต่อาจจะไม่ได้เป็นที่สนใจกับคนในสังคมมากเหมือนในครั้งนี้



ทั้งนี้ อยากให้มองในมุมที่ว่า “ลีด คือผู้ที่สืบสานบทเพลง และท่วงท่าประกอบเพลงของมหาวิทยาลัย” ที่ปฏิบัติกันมานาน โดยเรื่องนี้ตนจะนำกระแสสังคมที่ติติงด้านลบ มาพิจารณาเพื่อให้การจัดงานเชียร์ปีต่อๆ ไป ดียิ่งขึ้น