ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า หากเรารับสื่อที่มีเนื้อหาความรุนแรงจะส่งผลกระทบทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ
สิ่งที่หลายคนสงสัยว่า เนื้อหาความรุนแรงจะส่งผลกระทบทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้อย่างไรนั้น ดร.วีระพงษ์ แจงว่า เนื้อหาความรุนแรงมีส่วนให้เกิดพฤติกรรมที่มีแนวโน้มให้ที่จะทำพฤติกรรมคล้ายกัน
แต่ว่าคงไม่ใช่ 100% พอเวลาเราอ่านข่าวหรือรับข่าวอะไรแล้วจะทำให้เราเป็นอย่างนั้นทั้งหมด
เวลาที่เราได้รับข้อมูลข่าวสาร ได้เห็นภาพ ได้ยินเสียง
หรือได้รับข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ มันจะถูกส่งไปยังสมองเพื่อที่จะทำให้เราจดจำ
จะจดจำโดยที่เราตั้งใจมีสติสัมปชัญญะ
หรือว่าอาจจะจดจำโดยที่เราไม่รู้ตัวสมองก็ยังเก็บข้อมูลเอาไว้อยู่ธรรมชาติการทำงานของสมอง
และในสมองของคนเรามีกลุ่มเซลล์ประสาทที่เรียกว่าเซลล์ประสาทกระจกเงา
(mirror neurons) กระจกเงาก็คือกระจกที่เราใช้ส่องเวลาแต่งตัว
แต่งหน้าหรือเอาไว้สะท้อนเงาตัวเองเวลาทำกิจกรรมอะไรต่างๆ
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีค้นพบว่าเซลล์ประสาทกระจกเงานี้เมื่อเราเห็นก็เหมือนกับเราได้ทำ
อย่างเช่น ถ้าเราเห็นภาพคนขับรถก็เหมือนกับว่าเรากำลังขับรถด้วย หรือ
ขณะที่เราดูกีฬาบาสเกตบอลเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนที่การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในการเล่นบาสเกตบอล
ก็จะเคลื่อนไหวเสมือนกับว่าเรากำลังเล่นกีฬานั้นๆอยู่คล้ายกับกรณีที่เด็กไม่ควรดูความรุนแรงเพราะว่าสมองของเด็กยังถูกฝึกให้มีวิจารณญาณ
ถ้าเด็กมาดูเรื่องเปรี้ยว ฆาตกรหั่นศพ หรือดูหนังฆาตกรรม
เด็กก็สามารถซึมซับและเซลล์ประสาทกระจกเงาจะสะท้อนให้เด็กมีพัฒนาการเป็นแบบนั้นเพราะว่าสมองเด็กยังไม่มีการรู้จักผิดชอบชั่วดี
ส่วนวิธีการสลัดภาพความรุนแรงคือเราควรงดบริโภคข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรุนแรงลง
ถ้าเกิดเปิดแล้วไปเจอก็พยามลดไม่ใส่ใจกับข่าวนั้นๆมากนัก
รู้เพียงครั้งเดียวพอแค่ให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เป็นอย่างไร มีผลสรุปยังไง
แค่นั้นจบ ไม่ควรไปรับรู้รายละเอียดลึกๆ
เพราะอาจจะให้ภาพนั้นติดตาและไม่ให้สมองของเรารับข้อมูลในทางลบที่เยอะเกินไป