สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้พี่หมีจะมาแนะนำเรื่องการถ่ายรูปอย่างไรให้ “เป๊ะ” ด้วยวิธีการจัดวางองค์ประกอบภาพกันครับ
เพื่อนๆเคยไหมที่เวลาถ่ายรูปแล้วรู้สึกแปลกๆในภาพที่ถ่ายมา เหมือนจะมีอะไรขาดๆเกินๆ แต่ในความจรินั้นหลักในการถ่ายรูป ช่างภาพอาชีพหลายๆคนมักจะใช้เทคนิคต่างในการวางองค์ประกอบภาพให้ดูน่าสนใจ ดูมีพลังและสร้างอารมณ์สื่อความหมายของภาพ วันนี้พี่หมีเลยได้รวบรวมเทคนิคต่างๆให้เพื่อนได้นำไปลองใช้ดูครับ
Cr. Tom Swinnen
1.กฎสามส่วนและจุดตัดเก้าช่อง
ในการถ่ายรูป ข้อนี้ พี่หมี ขอแนะนำสำหรับ มือใหม่ที่ชอบถ่ายรูปเลยครับ เป็นพื้นฐานในการจัดวางองค์ประกอบที่ช่างภาพมืออาชีพหลายๆคนมักเลือกใช้เสมอ ด้วยความที่ ปกติหากเราถ่ายรูปอะไรที่อยู่ตรงกลางแล้วมันไม่น่าสนใจพอ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Dead Center กฎสามส่วนนี้จะแบ่งรายละเอียดออกเป็นส่วนๆ ดังนั้น การถ่ายรูป ด้วยกฎสามส่วน เราจะเน้นการถ่ายส่วนของรายละเอียด อยู่ 2 ส่วน และเหลือพื้นที่ว่างอีก 1 ส่วน ไว้เสมอ สามารถใช้ได้ทั้งการถ่ายรูปภาพแนวตั้งและภาพแนวนอน เช่น พื้นดิน 2 ส่วน ท้องฟ้า 1 ส่วน และเมื่อเพื่อนๆแบ่งสัดส่วนรูปภาพเป็น 3 ส่วน แล้ว ลองสังเกตในกล้อง ส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้จะมีเส้น Grid แนวตั้ง เพิ่มมาอีก 2 เส้น ตัดกับ เส้น กฎสามส่วน ทำให้เกิด จุดตัด 9 ช่อง เพื่อนๆลองนำ สิ่งที่น่าสนใจมาไว้ตรงจุดตัดเก้าช่อง 1 จุด จะทำให้ภาพวางองค์ประกอบได้ลงตัวมากขึ้นครับ
Cr. Patrick Tomasso
2. เน้นความสมมาตร
ในการวางองค์ประกอบเน้นความสมมาตรนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Subject ที่จะต้องโดดเด่น แล้ววางสมดุลซ้ายขวาที่เท่ากัน ซึ่งเมื่อรายละเอียดด้านข้างเท่ากัน สายตาของคนเรามักจะมองเน้นมองตรงกลางเป็นหลัก รูปภาพที่จัดองค์ประกอบแบบเน้นความสมมาตรนั้นเรามักจะพดในรูปภาพแนวสถาปัตยกรรมเป็นส่วนใหญ่ ครับ
Cr. Zac Ong
3.การจัดองค์ประกอบแนวเส้นทแยงมุม
การจัดวางองค์ประกอบในลักษณะนี้ จะใช้ในรูปแบบของการวางองค์ประกอบที่เป็น 3 เหลี่ยม หรือ Dynamic Tension เป็นหลัก ทั้งนี้ 3 เหลี่ยมที่ว่าอาจจะเป็น 3 เหลี่ยมจริงๆ หรือสิ่งของ , เส้นนำสายตา ที่ทำมุมกับในภาพแล้วได้องค์ประกอบที่ลงตัวครับ
Cr. Inanc Avadit
4.การใช้รูปแบบ Pattern
เพื่อนลงใช้รูปแบบ Pattern หรือที่เรียกกันว่ารูปแบบซ้ำๆในการสร้าง หน้าฉาก ,เส้นนำสายตา , ความสมมาตร เพื่อสร้างจุดความน่าสนใจมากขึ้น ด้วยความที่ รูปแบบที่ซ้ำๆกันนั้นมักจะดึงดูดสายตาของคนเราได้ จึงสามารถใช้วิธีนำมาประยุกต์เข้ากับการวางองค์ประกอบภาพได้ครับ
Cr. Nikita Karimov
5.เส้นนำสายตา
การใช้เทคนิคเส้นนำสายตา เป็นอีกวิธีที่สร้างเรื่องราวในรูปให้น่าสนใจมากขึ้น เพื่อนลองมองเส้นสายต่างๆ เช่น เส้นถนน ,โค้งแม่น้ำ , ทางเดิน หรือ แนวทางที่ดูเป็นเส้นสายต่างๆ แล้วจัดองค์ประกอบโดย เส้นนำสายตาที่ดีนั้น จะต้องนำสายตาผู้ชมเข้าสู่ภาพ , นำสายตาจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง อาจจะเป็นจากขอบภาพก็ได้ หรือนำจากจุดหนึ่งไปยังตัวแบบ ซึ่งหากเพื่อนได้ลองนำไปใช้กับเทคนิค กฎสามส่วน หรือ เน้นสมมาตร ก็จะทำให้ภาพนั้นดูมีเรื่องราวมากขึ้นครับ
Cr. Paolo Nicolello
6.การใช้ความเรียบง่ายแล้วสร้างจุดน่าสนใจ
การถ่ายรูปในลักษณะนี้ จะเน้นในส่วนของวางองค์ประกอบที่ง่ายๆและไม่ซับซ้อน ซึ่งเพื่อนๆมักจะได้เห็นบ่อยๆในลักษณะของการถ่าย Subject ที่หน้าชัดหลังเบลอ ซึ่งจะแยกตัวแบบให้โดดเด่นออกจากฉากหลัง หรือหากเป็นภาพแนว Landscape จะเป็นการถ่ายภาพในพื้นที่ที่มี Subject โดดเด่นเพียงอย่างเดียว ครับ
Cr. Federico Bottos
7.เพิ่มหน้าฉากให้น่าสนใจ
ในส่วนของรูปภาพที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆนั้นส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะของ 2 มิติ ที่มี เนื้อหาช่วงกลางภาพ และท้ายภาพ แต่หากเพื่อนๆลองถ่ายรูปที่เพิ่มหน้าฉากเข้าไป จะทำให้เรามีอีก 1 มิติ เพิ่มขึ้น ทำให้ภาพนั้นมีเรื่องราวมากขึ้น และดูน่าสนใจ ซึ่งเรามักจะพบกับการวางหน้าฉากเช่น ก้อนหิน ดอกไม้ ในภาพแนว Landscape
Cr. Angello Lopez
8.การใช้จำนวนส่วนประกอบภาพเลขคี่
ด้วยความที่ภาพส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นนั้น หากเรามอง Subject ในภาพที่เป็นเลขคี่ นั้นจะดึงดูสายตากว่าเลขคู่ จึงเป็นที่มาของช่างภาพส่วนใหญ่ที่มักจะถ่ายภาพเป็นเลขคี่เป็นหลัก ซึ่งจะทำให้ภาพนั้นดูเป็นธรรมชาติและสบายตา ส่วนภาพเลขคู่นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ในภาพในลักษณะของการดึงดูดความสนใจของกันและกัน เช่น ถ่ายภาพแนว Wedding
Cr. Ben O Bro
9.การจัดภาพให้พอดีเฟรม
ในการจังวางภาพให้พอดีเฟรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินเข้าไปให้ใกล้ๆหรือใช้เลนส์ซูม ภาพให้ Subject เต็มเฟรมภาพ ก็เพื่อวางองค์ประกอบภาพสร้างความน่าสนใจให้กับตัว Subject ที่เดียว ให้เกิดความ Impact ให้ได้มากที่สุดและตัดสิ่งที่ไม่น่าสนใจไปออกจากเฟรม แต่ถ้าถ่ายรูปสิงโตอย่าเดินเข้าไปใกล้ๆนะครับ >///<
Cr. Tommy Bebo
10.การให้ฉากหลังเป็นพื้นที่ว่าง
การวางองค์ประกอบภาพในลักษณะนี้ เพื่อนๆลองถ่ายรูปโดยใช้ Subject แยกออกจากฉากหลังที่ว่างๆ เพื่อสร้างความหน้าสนใจไปยัง Subject เพียงอย่างเดียว และสามารถนำมาประยุกต์กับการวางรูปบนจุดจัดเก้าช่อง เพื่อสร้าง Copy Space ในภาพได้ครับ
Cr. Natalie Acheatel
11.ใช้กรอบภาพจากสถานที่ต่างๆ
การวางกรอบภาพในการวางองค์ประกอบภาพนั้น ไม่ใช่แค่ถ่ายรูปภาพในกรอบหน้าต่างเท่านั้น เพื่อนๆอาจลองมอง ไปยัง บานประตู หน้าต่าง กิ่งไม้ หรือ แนวสิ่งของต่างๆ ที่มารายล้อม Subject ที่เพื่อนๆต้องการถ่ายรูป เพื่อสร้างกรอบภาพไปยังจุด Subject ซึ่งจะทำให้ภาพของเพื่อนๆนั้นดูน่าสนใจมากขึ้นครับ
เพื่อนๆลองนำเอาแนวทางการจัดวางองค์ประกอบไปลองถ่ายรูปกันดูนะครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การวางองค์ประกอบของรูปภาพนั้นไม่มีกฎตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม และเตรียมพบกับ การจัดวางองค์ประกอบภาพ ให้ “เป๊ะ” ฉบับมือใหม่ Part 2 ได้เร็วๆนี้ครับผม
สามารถติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่นี่ คลิกเลย !!
Facebook : www.facebook.com/BigBearJourney