กรมสุขภาพจิต มุ่งเน้นไปที่ครอบครัวและคนรอบข้างคือ บุคคลสำคัญในการเตรียมความพร้อมนำเยาวชนทีมหมูป่าอะคาเดมี กลับคืนสู่สังคม
หลังจากทีมหมูป่า อะคาเดมี ได้รับความช่วยเหลือออกจากถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ก่อนส่งไปพักรักษาตัวที่ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งมีหลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าอาจเกิดผลกระทบขึ้นกับสมาชิกทีมหมูป่า เกี่ยวกับสภาพจิตใจหากกลับคืนสู่สังคม เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า บอกเล่าถึงขั้นตอนการดูแลสุขภาพจิตใจของทีมหมูป่าทั้ง 13 คนว่า ภายหลังจากได้มีประเมินสุขภาพร่างกายของสมาชิกทีมหมูป่าอะคาเดมีแล้ว จะมีการประเมินสภาพทางจิตใจ โดยมีทีมงานประสานอย่างเป็นระบบ หากพบมีอาการเครียดหรือ มีการเกิดอาการซึมเศร้าก็จะทำการฟื้นฟูจิตใจ แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่สังเกตขณะนี้เท่าที่สังเกตยังไม่พบว่า มีเด็กคนไหนอยู่ในภาวะซึมเศร้าแม้แต่น้อย
สำหรับการจะให้ทีมหมูป่ากลับสู่สังคมอย่างมีความสุข สมบูรณ์นั้น ครอบครัวและคนรอบข้างถือเป็นบุคคลสำคัญที่สุด โดยอยากเน้นย้ำให้หลีกเลี่ยงการถามคำถามที่ไม่ก่อให้ประโยชน์ หรือคำถามวนๆ ซ้ำๆ กับสมาชิกทีมหมูป่า ส่วนเด็กและโค้ชจะสามารถให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนได้เมื่อใดนั้น คงต้องประเมินความพร้อมของจิตใจก่อน ที่สำคัญ คือ ต้องมีทีมสุขภาพจิตคอยควบคุมตลอดการให้การสัมภาษณ์ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อจิตใจของสมาชิกทีมหมูป่า อะคาเดมี