5 สิ่งมีเบื้องหลังอื้อฉาว ในพิพิธภัณฑ์ยุโรป

2018-05-28 13:25:15

5 สิ่งมีเบื้องหลังอื้อฉาว ในพิพิธภัณฑ์ยุโรป

Advertisement

ของที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ยุโรปอาจไม่ได้มีเบื้องหลังอันสวยหรูอย่างที่เห็น และอาจมีประวัติศาสตร์ความหลังที่ขื่นขมบ้าง ลองมาดูของ 5 อย่างที่สร้างความร้าวฉานระหว่างประเทศมาแล้ว



รูปปั้นทองแดงแห่งเบนิน



ผลงานที่ทำจากทองแดงนับพันชิ้นถูกกองทัพอังกฤษขโมยมาจากราชอาณาจักรเบนินเมื่อปี 2440 ซึ่งขณะนี้พื้นที่ดังกล่าวคือเมืองเบนินในประเทศไนจีเรีย โดยมีการค้าขายคอลเลคชันศิลปะนี้ไปทั่วทั้งยุโรป แต่คอลเลคชันที่ใหญ่ที่สุดจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริทิช กรุงลอนดอนและพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาแห่งเบอร์ลิน ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์ในยุโรปและสหรัฐฯ ประชุมร่วมกับทางการไนจีเรียมาตั้งแต่ปี 2550 แต่ยังหาทางออกไม่ได้ว่าจะจัดการกับคอลเลคชันเหล่านี้อย่างไร





ขุมทรัพย์จากพระราชวังอาบอแม
คราวนี้มาว่ากันถึงกองกำลังฝรั่งเศส ที่ได้เคยขโมยของล้ำค่ามาจากแผ่นดินแอฟริกาเช่นเดียวกับกองกำลังอังกฤษ โดยรัฐบาลเบนินกล่าวว่ามีสิ่งของของราชวงศ์ราว 4,500-6,000 ชิ้นนั้นอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทางการฝรั่งเศสก็เคยกล่าวเมื่อปีที่แล้วว่าจะไม่คืนวัตถุเหล่านี้แน่นอน อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงแห่งฝรั่งเศสกล่าวว่ายุโรปต้องส่งมรดกแอฟริกันทั้งหมดคืน



ประติมากรรมหินอ่อนเอลกิน

ผลงานแกะสลักหินอ่อนอันแสนงดงามนี้ครั้งหนึ่งประดับอยู่ที่วิหารพาเธออน แต่ตกมาเป็นของอังกฤษช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้าอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาลกรีก โดยทางการอังกฤษแย้งว่าลอร์ดเอลกินขนย้ายประติมากรรมนี้โดยได้รับอนุญาตจากอาณาจักรออตโตมัน ผู้ปกครองกรีซในขณะนั้นแล้ว





รูปสลักครึ่งตัวของเนเฟอร์ติติ
ภาพราชินีอียิปต์ผู้มีโหนกแก้มสูง คอยาวเป็นระหงอันงดงามที่กลายเป็นไอคอนความงามในอุดมคติของหญิงสาวทั่วโลกนั้นถูกสร้างขึ้นเมื่อ 1340 ก่อนคริสตกาลและถูกค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวเยอรมันเมื่อปี 2455 โดยขณะนี้ประติมากรรมชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์นอยเยอที่กรุงเบอร์ลิน ทางการอียิปต์พยายามหาทางนำผลงานนี้กลับคืน แต่ทางการเยอรมันกล่าวว่าได้รับมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและผลงานก็บอบบางเกินกว่าจะขนย้ายอีกด้วย





เพชรโคห์อินัวร์
เพชรโคห์อินัวร์ที่ตอนนี้แสดงอยู่ที่หอคอยลอนดอนน้นเคยตกเป็นของประเทศอินเดีย ปากีสถาน อิหร่านและอัฟกานิสถานมาหลายรอยปีก่อนหน้าแล้ว และก็เปลี่ยนมือเจ้าของตั้งแต่ผู้มั่งคั่งในเอเชียใต้มาเป็นเวลา 200 กว่าปีก่อนจะมาถึงพระหัตภ์ของราชินีแห่งอังกฤษ และเจ้าของก็เปลี่ยนมาหลายมือจนเสียงวิจารณ์ที่แย้งว่าได้รับมาจากการบังคับขู่เข็ญนั้นยังระบุไม่ได้ด้วยซ้ำว่าใครเป็นผู้ถือครองที่เหมาะสมที่สุด

ภาพ AFP