5 สัญญาณเตือน "โรคไต"
อยู่ ๆ ก็มีอาการ ปวดขมับ เหมือนโดนบีบขมับ หลายคนอาจจะคิดว่าก็เป็นอาการปวดหัวธรรมดาทั่วไป แต่รู้หรือไม่อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็น โรคไต ได้ เนื่องจากอาการ ปวดศีรษะ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากที่สุดในปัจจุบัน และสาเหตุของอาการก็มีหลากหลาย ดังนั้นหากมีอาการปวดขั้นรุนแรงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยพร้อมการรักษาอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งนี้ ยังมีสัญญาณเตือนของอาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการ ปวดขมับ หรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้เช่นกัน วันนี้จะพามาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ ! แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
โรคไต เกิดจากอะไร ?
โรคไต เกิดจากภาวะของไตที่ทำงานผิดปกติ สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่โดยส่วนใหญ่มักพบในวัยผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรค คือ การรับประทานอาหารรสจัด อย่างรสเค็มในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน ๆ เป็นความดันโลหิตสูง นอกจากนี้อาจเกิดจากสาเหตุภายนอกร่วมด้วย การดําเนินชีวิตประจําวันด้วยพฤติกรรมเดิม ๆ ไม่ออกกำลังกาย กินยาที่เป็นพิษต่อไต สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง พันธุกรรมที่ผิดปกติ และโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน เพราะฉะนั้น โรคไตถือว่าเป็นโรคหนึ่งที่ใครก็ไม่อยากเป็น มาดูกันว่ามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบไหนบ้างที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคไตโดยที่เราไม่รู้ตัว
5 สัญญาณอันตรายเมื่อโรคไตถามหา
สัญญาณเตือนเหล่านี้ เบื้องต้นอาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าอาจเสี่ยงเป็นโรคไตควรเฝ้าสังเกตอาการเพื่อสามารถเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
อาการ ปวดศีรษะ ในคนที่อายุน้อย
โดยปกติในคนที่มีอายุน้อยจะค่อนข้างมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เนื่องจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่น ๆ ยังมีประสิทธิภาพที่ดีอยู่ แต่หากมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่บกพร่องและไม่ได้ประสิทธิภาพก็สามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคได้ง่ายขึ้น ดังนั้น หากยังอายุน้อย แต่มีอาการปวดศีรษะอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่ใช้ชีวิตประจำวันปกติและไม่ได้เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเกิดโรคอื่น ๆ ให้เฝ้าระวังทันทีว่าอาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มของการเป็นโรคไตได้
ปวดศีรษะบริเวณขมับหรือท้ายทอย
อาการปวดหัวแบบต่าง ๆ มีสาเหตุของการเกิดที่แตกต่างกันออกไป แต่หากตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการปวดศีรษะในบริเวณขมับหรือท้ายทอยบ่อย ๆ ปวดแบบตุบ ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเข้าข่ายการเป็นโรคไตได้เช่นกัน
ความดันเลือดสูงผิดปกติ
ผู้ป่วยโรคไต ส่วนใหญ่จะมีความดันเลือดสูงมากกว่าปกติ ซึ่งคนที่มีความดันเลือดสูงจะไม่แสดงอาการ แต่ในบางรายพบว่ามีอาการปวดหัวและเวียนหัวร่วมด้วย ดังนั้น ควรที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และวัดความดันเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตยังเสี่ยงอันตรายต่อการเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้อีกด้วย
ปัสสาวะผิดปกติ
อาการของการปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น เมื่อปัสสาวะแล้วมีฟองมากเป็นพิเศษ หรือสีของปัสสาวะผิดปกติ ให้วินิจฉัยว่าระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติซึ่งเป็นสัญญาณของการเกิดโรคได้
ร่างกายบวมและผมร่วง
อาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตและสามารถสังเกตได้ชัดเจนมากที่สุดคือ ร่างกายมีอาการบวมผิดปกติโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หลังเท้า ตามมาด้วยสัญญาณผมร่วงมากเกินไป หากเริ่มสังเกตว่าร่างกายมีอาการเหล่านี้บ่อยครั้งและกินระยะเวลานานควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยทันที ฃ
วิธีดูแลผู้ป่วยโรคไต
อาการของโรคไตเป็นอย่างไร
สำหรับ โรคไต อาการ สามารถแบ่งออกได้ 2 ระยะหลัก ๆ ได้แก่
โรคไตอาการเริ่มต้น
อาการของผู้ป่วยโรคไตระยะแรก มักมีอาการ ดังนี้
-ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
-เหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ
-บางรายอาจมีอาการน้ำหนักลดลงผิดปกติ
-ผิวหนังแห้งซีดและมีจ้ำเลือดตามร่างกาย
-เบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียน
-มือเท้าชา ปวดบริเวณบั้นเอว
-ปวดศีรษะบริเวณขมับหรือท้ายทอย
-ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
โรคไตระยะสุดท้าย
อาการของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายมีอาการ ดังนี้
-ปัสสาวะลดน้อยลงหรือแทบไม่ปัสสาวะเลย
-เลือดออกหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
-หายใจเองลำบาก
-กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
-ปอดบวมและไอหรืออาเจียนเป็นเลือด
-มีอาการชักหรือหมดสติบ่อยครั้ง
-กระดูกแตกหักได้ง่าย
-เลือดหยุดไหลยาก เนื่องจากการทำงานของระบบเลือดผิดปกติ
-มีอาการติดเชื้อหรือเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคไต
โรคไตหากเป็นมาจนถึงระยะเรื้อรังแล้วอาจไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดจากโรคได้แต่สามารถประคองและรักษาให้อาการดีขึ้นได้ ขึ้นอยู่ที่คนไข้ดูแล และรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ดีแค่ไหน ทั้งนี้วิธีการดูแลตัวเองหรือคนรอบข้างเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต สามารถทำตามได้ ดังนี้
-ใส่ใจในเรื่องอาหารการกินมากขึ้น ไม่รับประทานอาหารรสจัดเป็นประจำ
-ไม่ควรหายามารับประทานเองอย่างเด็ดขาด ควรอยู่ในการดูแลและคำแนะนำของแพทย์เป็นหลัก
-หากมีโรคแทรกซ้อนควรระมัดระวัง และควรทราบถึงวิธีการดูแลอาการของโรคเหล่านั้น
-รักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสของการติดเชื้อ
-รู้จักเฝ้าสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากพบว่ามีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
-ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อรักษาอย่างต่อเนื่อง
การดูแลเบื้องต้นเหล่านี้สามารถทำได้ง่าย ๆ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต เพื่อหลีกเลี่ยงและลดอัตราการป่วยที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสามารถบรรเทาการเกิดโรคแทรกซ้อนและส่งผลให้อาการของโรคดีขึ้นได้
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตควรได้รับการรักษาและทราบถึงวิธีรักษาโรคไตอย่างถูกต้อง นอกจากนี้การรักษาที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด คือการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เช่น แพทย์เฉพาะทางหรืออายุรแพทย์โรคไต
การเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างดีมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงสิ่งสำคัญอย่างการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแลอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูและดีขึ้นในที่สุด
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ
สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล