กกต.ยันได้ 200 ส.ว. ตามไทมไลน์ ระบุสื่อทำหน้าที่ได้ปกติ สัมภาษณ์ วิเคราะห์ แต่ห้ามแนะนำตัวช่วยหาเสียง
เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 67 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายแสวง บุญมี เลขากกต.พบปะพูดคุยกับสื่อมวลชนในเรื่อง "สื่อกับการปฎิบัติในห้วงมีพระราชกฤษฎีกา การเลือก ส.ว. ปี 67" เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย โดยนายแสวง กล่าวว่า ยืนยันว่า กกต.รับฟังทุกความเห็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ที่มีหลักการเหตุผล มีประโยชน์และเป็นธรรม และนำมาปรับปรุงแก้ไขเท่าที่เห็นกฎหมายให้กกต.สามารถทำได้เพื่อให้การเลือกสว.เป็นไปโดยสุจิต เที่ยงธรรม ป้องกันการฮั้วแลกคะแนนกัน ซึ่งขณะนั้กกต.เก็บข้อมูลไว้แล้วทั้งบนโต๊ะ ใต้โต๊ะ โดยมีการปรับแก้ไขระเบียบการแนะนำตัว โดยผู้สมัครสามารถแนะนำตัวผ่านโซเชียลได้ ทั้ง ติ๊กต๊อก YouTube Facebook Instagram แต่สาระของการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมายคือตามแบบ สว. 3 เท่านั้น ส่วนการทำงานของสื่อทำหน้าที่ได้ตามปกติ สามารถเชิญผู้สมัครมาสัมภาษณ์ได้ประเด็นอื่นๆ ที่ผู้สมัครคนนั้นๆ มีความเชี่ยวชาญ และผู้สมัคร และสื่อ ต้องไม่มีการแนะนำตัว หรือบอกว่าตัวเองลงสมัครรับเลือก ส.ว. นอกจากนี้ยังสามารถเชิญนักวิชาการมาวิเคราะห์ว่าใครจะได้รับการเลือกเป็น ส.ว. วันสมัครสื่อก็สามารถรายงานบรรยากาศ และสัมภาษณ์ผู้สมัครได้ แต่ผู้สมัครต้องระวังตัว ไม่แน่นะนำตัว ไม่พูดถึงวัตถุประสงค์การลงสมัคร กรณีผู้สมัครมีการโพสต์ข้อความที่มีลักษณะเป็นการแนะนำตัวไว้ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกาฯ ก็ต้องลบออก ส่วนสื่อที่เป็นผู้สมัคร ส.ว.ก็ยังสามารถทำหน้าที่รายงานข่าวได้ตามปกติ แต่ไม่ใช่ประกาศข่าวไปด้วยแนะนำตัวเองไปด้วย ส่วนญาติหรืออิสฟลูเอ็นเซอร์ก็ต้องระวังเช่นกัน ส่วนคณะต่างที่จัดรณรงค์ให้มีการเลือกสว.ก็ทำได้ แต่อย่าไปช่วยเหลือ แนะนำตัว
นายแสวง กล่าวต่อว่า กกต. ยืนยันว่าไม่มีการปกปิดข้อมูล แต่ในช่วงวันสมัครนั้นไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะจะเป็นช่องทางให้คน ที่กำลังคิดจะลงสมัครรู้ว่ามีกลุ่มไหนมีคนสมัครมาก น้อย แต่หลังวันรับสมัคร กกต.ยืนยันว่าจะมีการเปิดเผยรายชื่อทุกกลุ่ม ทุกจังหวัดทั่วประเทศว่าใครลงสมัครอะไร มีประวัติ และประสบการณ์ในการทำงานอย่างไร ประชาชนสามารถตรวจสอบ ติดตามผู้สมัคร ตลอดจนสามารถช่วย กกต.ในการแจ้งข้อมูล ช่วยกกต.ในการตรวจสอบคุณสมบัติ เพราะบางครั้งคนมาสมัครอาจมีการปิดบังลักษณะต้องห้ามก็ได้ รวมถึงสามารถไปสังเกตการณ์ที่หน่วยเลือกส.ว.ได้ทุกระดับ โดย กกต.จะมีการถ่ายทอดสดบรรยากาศ และการนับคะแนน ส่งตรงมายังพื้นที่ที่จัดไว้รองรับ
นายแสวง กล่าวอีกว่า ขอยืนยันว่าประชาชนจะได้ ส.ว. 200 คน พร้อมสำรอง ตามกำหนดเวลา ไม่มีข้อกฎหมายใดหรือเงื่อนไขใด ที่จะประวิงเวลาหรือเลื่อนการได้มาซึ่ง ส.ว. 200 คนออกไปจากไทม์ไลน์ที่ได้กำหนด และประกาศออกมาเมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา สิ่งที่คนคิดว่า สิ่งที่จะทำให้เกิดการเลื่อนมี 2-3 อย่าง 1. เรื่องคุณสมบัติ หากคนสมัครเยอะจะตรวจคุณสมบัติทันหรือไม่ ซึ่งการที่ตรวจสอบยากที่สุด คือการถือหุ้นสื่อ แต่มีการซักซ้อมการตรวจสอบแล้ว นอกจากนี้ยังยังมีประเด็นว่า หากมีผู้สมัครบางกลุ่มคนไม่ครบ ลงคะแนนแล้วไม่ได้ 5 คน เมื่อเลือกแล้ว กระบวนการเลือกไม่ชอบมันก็จะได้หยุด ทั้งนี้ กรณีที่มีการยื่นเอกสารเท็จ จะถูกดำเนินคดี และอาจถูกเพิกถอนการสมัครตลอดชีพ (ใบดำ) ได้รับโทษทั้งผู้สมัครและผู้ให้การรับรอง ส่วนที่ยื่นต่อศาล แล้วศาลวินิจฉัยไม่ทัน การเลือก ก็ดำนินการต่อได้เลย เพราะกฎหมายกำหนดให้เลือกเท่าที่มี
2. เรื่องการร้องคัดค้านกระบวนการเลือก คณะกรรมการเลือก จะวินิจฉัยทันที และศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ทันภายใน 1 วัน แต่ถ้าวินิจฉัยไม่ทันก็ให้รับรองไปเลย แม้ว่าศาลตัดสินคืนสิทธิภายหลังก็ไม่มีผลกระทบ 3. การร้องทุจริต ถ้าหากทำไม่ทัน กฎหมายให้ประกาศรับรองไปก่อนแล้วสอยทีหลังเช่นเดียวกับการเลือกตั้ง สส. เพราะกฎหมายให้เรียกสำรอง 5 คน จากกลุ่มที่ถูกสอยก่อน หากหมดแล้วค่อยจับสลากสำรองกลุ่มอื่น แต่ถ้าสุดท้ายแล้ว สำรอที่มีอยู่ไม่เพียงพอ กฎหมายก็กำหนดให้ทำหน้าที่เท่าที่มี แต่ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือมากกว่า 100 คน แต่หากได้สว.น้อยกว่า 100 คน และยังมีอายุทำงานของสว.เกิน 1 ปี ก็ให้กกต.จัดการเลือกให้ครบ ดังนั้น ประเทศชาติเดินหน้าได้แน่นอน เพราะรัฐธรรมนูญออกแบบมาให้ครอบคลุมทุกประเด็น ดังนั้น ด้วยเงื่อนไขเช่นนี้ กกต.สามารถประกาศรับรองสว.ชุดใหม่ 200 คน ได้ตามไทมไลน์
เมื่อถามว่า ในวันที่ 15 และ 16 พ.ค. ศาลปกครองจะมีการไต่สวนกรณีมีผู้ร้องให้พิกถอนระเบียบ แนะนำตัว ส.ว.ทางกกต.จะเตรียมการรับมืออย่างไร นายแสวง กล่าวว่า รอดูวันที่ศาลมีคำวินิจฉัย จริงๆ เรื่องที่ถามก่อนจะแสดงความเห็นอะไร อยากให้กลับไปดูกฎหมายก่อนว่า กฎหมายให้ทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน กกต.ยืนยันว่า ทำตามกฎหมาย เราไม่ได้เขียนระเบียบขึ้นมาเอง