ศูนย์พิบัติภัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สแกนหารอยเลื่อนใหม่ในพื้นที่ จ.เชียงราย จากผลกระทบแผ่นดินไหว ขนาด 6.3
แมกนิจูด เมื่อปี 57 ก่อนสรุปผลแจ้งเตือนภัย
นายปรเมศวร์ มาศขาว เจ้าหน้าที่งานวิจัย
จากศูนย์งานพิบัติภัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมคณะ
นำเครื่องสำรวจความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ หรือ เครื่อง IRIS รุ่น SYSCAL R-1
Plus (ซีสคอล อาร์ - วัน พลัส) เพื่อตรวจความแตกต่างสภาพความต้านทานไฟฟ้า
ของชั้นดิน-หิน ในพื้นที่บ้านห้วยส้านพลับพลา บ้านดงมะเฟือง ต.จอมหมอกแก้ว
อ.แม่ลาว จ.เชียงราย เป็นแนวยาวกว่า 10 กิโลเมตร หลังตรวจสอบพบว่า
ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ขนาด 6.3แมกนิจูด เมื่อวันที่
5พฤษภาคม 2557 ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนประชาชนจำนวนมาก
และยังเกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมากว่า1,000ครั้ง โดยการตรวจสอบครั้งนี้
เป็นการตรวจหารอยเลื่อนใหม่ ที่ความลึกจากพื้นดิน 20-30เมตร
ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลด้วยเครื่องดังกล่าว
ก่อนที่จะนำกลับไปวิเคราะห์อีกครั้ง
นายปรเมศวร์ เปิดเผยว่า การตรวจหารอยเลื่อนนี้ ได้มีการทำอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 3 ปี มีการสลับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ มาตลอดระยะเวลาที่เกิดการเคลื่อนไหวในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยสัปดาห์นี้จะเป็นสัปดาห์สุดท้าย ของการสำรวจ ทั้งใน เขตอ.แม่ลาว และอ.เมืองเชียงราย รวมถึงการตรวจสอบรอยเลื่อนพะเยาะ หลังจากนี้จะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และสรุป เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันหากพบรอยเลื่อนใหม่ ก็จะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐทราบ เพื่อประกาศแจ้งเตือนชาวบ้านให้ทราบต่อไป