"พริษฐ์"แนะผ่าตัดใหญ่ 4 โครงสร้างใน ศธ. จี้เพิ่มงบอุดหนุนเด็กยากจนที่เตรียมหลุดจากระบบการศึกษา
เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 67 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่1 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณาทำร่าง พ.ร.บ..งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ต่อเนื่องเป็น วันที่ 3
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส"ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายงบประมาณเกี่ยวกับวิกฤตเรื่องการศึกษา ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ผลโปรแกรมการประเมินวัดระดับนักเรียน อายุ 15 ปีทั่วโลก หรือ PISA ปัจจุบันมีร 81 ประเทศ ล่าสุดได้ ตอกย้ำ 1.เด็กไทยมีทักษะสู้ต่างชาติไม่ได้ อยู่อันดับที่ 60 จาก 70 ประเทศ 2.เรื่องความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่ากัน ตามสถานะเศรษฐกิจของครอบครัว 3 ด้านความเป็นอยู่ เด็กไทยไม่มีความสุขในโรงเรียนทั้ง ๆ ที่การจัดสรรงบประมาณของประเทศไทยลงทุนงบประมาณด้านการศึกษา และทรัพยากรจำนวนมาก แต่ยังพบวิกฤตด้านการศึกษาในประเด็นประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร โดยตนเห็นด้วยกับการเพิ่มงบประมาณด้านการศึกษา แต่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้านการศึกษา ทั้งนี้งบฯ67 ตนมองว่าควรทบทวนโครงการรวมมิตรความดี เช่น โครงการเกี่ยวกับต่อต้านยาเสพติด 125 ล้านบาท และมีรายการใหม่ ส่งเสริมการสร้างคนดีทางศาสนาที่ถูกต้อง 273 ล้านบาท ทั้งนี้ไม่ใช่ตนต่อต้านการสร้างศีลธรรม สุจริต แต่ต้องทบทวนในประเด็นที่เป็นปัญหาเกี่ยวข้อง เช่น แป๊ะเจี๊ยะ ไม่ลงโทษครูที่ทำผิดจริยธรรมหรือกฎหมาย เป็นต้น
นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า งบนโยบายด้านการศึกษาที่ตนอยากเห็นคือหลักสูตรการศึกษาฉบับใหม่ที่เน้นสมรรถนะทางการศึกษา แทนหลักสูตรการศึกษาฉบับเก่าที่ใช้ต่อเนื่องมาถึง 20 ปี ทั้งนี้ตนขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ยืนยันถึงการจัดทำหลักสูตรฉบับใหม่ภายใต้รัฐบาลปัจจุบันโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของบางสำนักพิมพ์ ขณะเดียวกันในงบปี67 พบว่ารัฐบาลปรับลดงบลงทุนจำนวนมาก คือ อาคารสำหรับเด็กด้อยโอกาสและพิการที่ลดลงถึง 45% นอกจากนั้นยังพบว่าเงินอุดหนุนด้านการศึกษามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 24 ในจังหวัดของ ส"ส.เขต ที่อยู่ในสังกัดพรรคเดียวกันกับรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงศึกษาธิการ หากรัฐบาลรับฟังข้อเสนอของฝ่ายค้าน การแก้วิกฤตการศึกษาต้องผ่าตัดโครงสร้างใหญ่ 4 ห้องด้านการศึกษา คือ เรื่องบุคลากร คืนครูให้ห้องเรียน รวมถึงปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงลดความซ้ำซ้อน และ กระจายอำนาจ จัดทำหลักสูตรการศึกษาใหม่ กระจายงบลงทุนด้านการศึกษาให้กับจังหวัด ขณะที่เงินอุดหนุนนั้นต้องเพิ่มให้กับเด็กยากจนที่มีแนวโน้มหลุดจากการศึกษา วิกฤตการศึกษาที่เผชิญแก้ไม่ได้จากการจัดงบประมาณแบบเดิมๆ แต่ต้องผ่าตัดใหญ่ รื้อโครงสร้างโดยไม่ต้องรอให้พรรคก้าวไกลมาเป็นรัฐบาล เพื่อสร้างอนาคตที่ดีขึ้นให้ลูกหลาน