"ศรีสุวรรณ"คัดค้านการบินไทยห้ามผู้โดยสารที่มีรอบเอวมากกว่า 56 นิ้วนั่งชั้นธุรกิจชี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
เมื่อวันที่ 17 มี.ค.นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์ เรื่อง คัดค้านการห้ามคนอ้วนนั่งชั้นธุรกิจการบินไทยเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยระบุว่า ตามที่การบินไทยได้ออกประกาศบังคับใช้กฎพิเศษเกี่ยวกับการจำหน่ายตั๋วโดยสารบนที่นั่งชั้นธุรกิจ(Business Class) ของเครื่องบินแบบโบอิ้ง 787-9 ดรีมไลน์เนอร์รุ่นล่าสุด 2 ลำที่การบินไทยซื้อมา โดยอ้างว่าเป็นการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยด้านการบินของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐ (เอฟเอเอ) โดยการขอสงวนสิทธิ์ ในการรับสำรองที่นั่งและจำหน่ายบัตรโดยสารสำหรับ Obese Passenger (ซึ่งหมายถึงผู้โดยสารที่มีรอบเอวมากกว่า 56 นิ้ว) ซึ่งไม่สามารถคาดเข็มขัดนิรภัยได้ (Airbag Seatbelt) รวมถึงผู้โดยสารที่มีทารกเดินทางพร้อมกัน และนั่งตัก Infant Lap-held บนที่นั่งชั้นธุรกิจ Business Class ของเครื่องบินแบบโบอิ้ง 787-9 ดรีมไลน์เนอร์รุ่นล่าสุดนั้น
สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ขอคัดค้านการใช้อำนาจดังกล่าว เพราะกฎ FAA เป็นกฎของสหรัฐไม่ใช่กฎของไทย และเครื่องบิน 2 ลำดังกล่าวก็ไม่ได้ใช้บินเข้าสหรัฐ แล้วทำไมการบินไทยจึงอ้าง FAA มาเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของการบินไทย แต่กลับนำไปสู่การขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้โดยสารที่มีสภาพร่างกายที่มีรอบเอวมากว่า 56 นิ้ว ซึ่งขัดต่อมาตรา 4 มาตรา 26 มาตรา 27 และมาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญ 2560 โดยชัดแจ้ง เพราะถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควร รวมทั้งขัดต่อหลักนิติธรรม ทั้ง ๆ ที่การบินไทยอยู่ในฐานะสายการบินของชาติพึงจะต้องให้การคุ้มครองผู้โดยสารโดยไม่แยกสภาพทางกายหรือสุขภาพ หรือสถานะของบุคคล เพื่อไม่ให้เป็นการเข้าข่าย “การเลือกปฏิบัติ” ได้
นอกจากนั้นยังถือได้ว่าเป็นการขัดต่อหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ทั่วโลกให้การรับรองเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2491 แล้ว โดยเฉพาะในข้อ 2 ข้อ 7 ข้อ 25(2) และข้อ 28 ที่บัญญัติไว้ว่า มนุษย์ทุกคนมีเกียรติและคุณค่ามีความเสมอภาคกันและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ และควรได้รับการยอมรับนับถือเกียรติศักดิ์ประจำตัวและสิทธิเท่าเทียมกันทั้งนี้หากการบินไทยจะอ้างกฎเพื่อความปลอดภัยก็ควรต้องเสนอให้รัฐนำไปออกกฎหมายมาบังคับจึงจะชอบด้วยปฏิญญาสากล และที่สำคัญเครื่องบินโบอิ้งรุ่นดังกล่าว การบินไทยเป็นผู้สั่งซื้อย่อมมีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้ผลิตสามารถที่จะแก้ไขแบบที่นั่งเพื่อรองรับผู้โดยสารที่มีน้ำหนักพิเศษได้ เพราะหลักการตลาดนั้นผู้ซื้อย่อมมีอำนาจเหนือผู้ขาย และหากโบอิ้งไม่ยอมผลิตให้ก็ไม่ควรจัดซื้อจัดหาเครื่องบินจากบริษัทนี้อีกต่อไป และเครื่องบินทั้ง 2 ลำควรจะขายกลับคืนให้กับโบอิ้งไปเสีย เพราะเมื่อนำมาใช้แล้วจะเป็นการละเมิดต่อหลักกฎหมายไทยและหลักปฏิญญาสากลอันเป็น “การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ดังได้กล่าวแล้ว และหากการบินไทยไม่ทบทวนประกาศดังกล่าวสมาคมฯจำต้องใช้สิทธิทางศาลในการหาข้อยุติในทางคดีต่อไ