องค์กรสื่อ ยื่นหนังสือค้าน พ.ร.บ.คุมสื่อ

2017-05-01 10:40:28

องค์กรสื่อ ยื่นหนังสือค้าน พ.ร.บ.คุมสื่อ

Advertisement

องค์กรสื่อ ยื่นหนังสือ ค้าน พ.ร.บ. คุมสื่อ จี้ถอนร่างแล้วยกร่างใหม่  นายกสมาคมนักข่าวฯชี้ เตรียมแผนเคลื่อนไหวระยะสั้น-ยาว ไว้แล้ว  


นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคัดค้านขอให้ยกเลิกร่างพ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน  โดยในเนื้อหาของจดหมายระบุว่า องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน 30องค์กร เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่มีหลักการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งยังขัดแย้งกับบทบัญญัติิของรัฐธรรมนูญหลายมาตรา มีการครอบงำ แทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน และส่งผลกระทบต่อสังคมวงกว้างในอนาคต  30องค์การสื่อจึงคัดค้านโดยมีเหตุผลว่า นิยามคำว่า ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนตามร่าง พ.ร.บ.นี้ มุ่งหมายจะครอบคลุมไปถึงผู้ใช้สื่อทุกประเภทซึ่งจะรวมไปถืงประชาชทั่วไปที่ใช้สื่อโดยเฉพาะสังคมออนไลน์ ส่งผลกระทบต่อการแสดงความเห็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ / การกำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลจน มีอำนาจหน้าที่ รับขึ้นทะเบียน ออกและเพิกถอนใบอนุญาตเป็นหลักการขัดแย้งกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในมาตรา26 ว่าด้วยการตรากฎหมายที่มีผลจำกัดสิทธิเสรีภาพบองบุคคล มาตรา34 35 ว่าด้วยสิทธิเสรภาพในการแสดงควาเห็น พูด เขียน พิมพ์ โฆษณา  มาตรา77  ว่าด้วยการรับฟังความเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายที่ต้องมีการรับฟังอย่างรอบด้าน  การกำหนดโทษทางอาญากับผู้ประกอบการวิชาชีพสื่อที่ไม่ขอจดทะเบียนมีอัตราโทษที่สูงไม่สอดคล้องกับสภาพความผิด / การมีตัวแทนรัฐนั่งในคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ขัดแย้งต่อการทำหน้าทีของสื่อมวลชนที่ต้องตรวจสอบอำนาจรัฐและการบริหารราชการแผ่นดิน
ขณะนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท. เป็นผู้รับหนังสือ พร้อมยืนยันว่าการดำเนินการเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่อยู่ในการปฏิรูป 11 ด้าน 27 วาระเร่งด่วน  ซึ่ง ร่างพ.ร.บ.นี้ เป็นเพียงขั้นต้นที่จะต้องไปสู่ ครม. และสนช. แต่ทั้งนี้จะต้องเปิดกว้างและรับฟังตามมาตรา 77 พร้อมยืนยันไม่มีเจตนาปิดหูปิดตา แต่เป็นการขับเคลื่อนไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 เพราะเสรีภาพของสื่อคือเสรีภาพประชาชน ต้องทำให้สื่อทำงานโดยปราศจากการครอบงำ
นายอลงกรณ์ระบุว่า การจัดตั้งสภาวิชาชีพโดยมีกฎหมายรองรับ ต้องไม่มีอำนาจรัฐแทรกแซง หากมีบุคคลภายนอกเข้าไปต้องยึดโยงสื่อมวลชน  และสภาวิชาชีพต้องไม่มีอำนาจออกหรือถอนใบอนุญาต เพื่อป้องกันทุนที่เข้ามามีอิทธิพล ทำให้ผู้สื่อข่าว คอลัมนิส นักจัดรายการ ถูกกีดกันไม่ให้ขึ้นทะเบียน พร้อมย้ำ สปท.เปิดกว้างและเน้นปรึกษาหารือ เปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาศึกษา ส่วนผลการพิจารณาในวันนี้ขึ้นอยู่กับที่ประชุม โดยมี 3 แนวทาง คือ สภาเห็นชอบ ไม่เห็นชอบ มีผู้เสนอให้ถอนเรื่องดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าน่าจะออกมาในรูปแบบที่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย ขอให้รอการพิจารณา
 ด้านนายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงข้อเรียกร้องของสมาคมฯ ว่า ปัจจุบันหลายฝ่ายเริ่มรับรู้และเข้าใจแล้วว่า หากมีการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ สงเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน หลายฝ่ายจะได้รับผลกระทบโดยเฉพาะประชาชน ในส่วนขององค์กรสื่อจึงขอเรียกร้องให้ตีตกร่างกฎหมายดังกล่าวแล้วยกร่างใหม่ทั้งหมดเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ


ส่วนการเคลื่อนไหวหลังจากนี้ ได้วางแผนไว้แล้วทั้งระยะสั้น และ ระยะยาว ไม่ว่าร่างกฎหมายจะผ่านการพิจารณาของ สปท. หรือไม่ โดยเฉพาะในวันพรุ่งนี้จะยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี รวมทั้งจะจัดงานเสรีภาพสื่อ เพื่อแสดงให้เห็นว่า การร่างกฎหมายลักษณะดังกล่าวมีความสำคัญ หากออกไม่ดีก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ โดยในปีนี้สื่อจะแสดงพลังครั้งใหญ่เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นี้ ให้เป็นประวัติศาสตร์การต่อสู้ของสื่ออีกครั้ง