ข้าจะเสวยปลาตะเพียน !! เรื่องเล่าเมนูโปรด "พระเจ้าท้ายพระ" จนต้องออกกฎสั่งห้ามราษฎร

2023-11-15 13:30:40

ข้าจะเสวยปลาตะเพียน !! เรื่องเล่าเมนูโปรด "พระเจ้าท้ายพระ" จนต้องออกกฎสั่งห้ามราษฎร

Advertisement

ข้าจะเสวยปลาตะเพียน !! เรื่องเล่าเมนูโปรด "พระเจ้าท้ายพระ" จนต้องออกกฎสั่งห้ามราษฎร



กลายเป็นฉากที่หลายคนมีความสงสัยว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในละคร "พรหมลิขิต" ตอนที่ 12 นั้นเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ในประวัติศาสตร์ไทยหรือไม่ อย่างไร ? กับฉากที่สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ปรึกษาข้อราชการกับเหล่าข้าราชบริพาร ว่าจะห้ามประชาชนจับปลาตะเพียน แต่ปลาอื่นชาวบ้านสามารถจับได้ ถึงขั้นจะออกเป็นกฎหมาย มีโทษทัณฑ์






โดย ‘สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ’ หรือ ‘สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9’ หรือ ‘พระเจ้าภูมินทราชา’ หรือ ‘พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์’ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2251 – พ.ศ. 2275





สำหรับที่มาชื่อ “สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ” นั้น บางตำนานก็เผยว่า มาจากนามพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระราชวัง และอีกหนึ่งเล่าขานและถูกถกเถียงสงสัยกันมาตลอดเกี่ยวกับ “สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ” คือเรื่องที่ พระองค์ทรงโปรดปรานเสวยปลาตะเพียนมาก จนถึงขั้นออกพระราชกำหนดห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าฝืน มีบทลงโทษคือปรับเป็นเงิน 5 ตำลึง หรือ 20 บาทนั่นเอง





ซึ่งได้ถูกนำไปตีความหาความจริงกันเป็นเรื่องเป็นราว บ้างก็มีเรื่องเล่าอีกแบบว่า "พระองค์ทรงโปรดเสวยปลาตะเพียนมากจนตั้งกฎห้ามราษฎรจับขึ้น" โดยตีความว่า "พระองค์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างดียิ่งตลอดมา อาจเป็นพระราชดำริที่จะอนุรักษ์ปลาหรือไม่" ทั้งนี้ทั้งนั้น ตำนานหรือเรื่องเล่าที่มีจารึกเอาไว้ก็ได้สืบทอดต่อๆ กันมา ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปใดๆ ที่เป็นความจริงโดยแท้ เพราะประวัติศาสตร์ทั่วโลกมักมีการแต่งแต้มเติมสีเข้าไปอาจจะถูกบิดๆ ไปบ้างอย่างที่เราๆ ท่านๆ เข้าใจกัน



ปลาตะเพียนขาว หรือ ที่เรียกติดปากกันสั้น ๆ ว่า “ปลาตะเพียน” ภาคอีสาน เรียกว่า “ปลาปาก” เป็นปลาพื้นเมืองของไทย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus ส าหรับในประเทศไทย นั้น หากจะค้นไปถึงว่า ปลานี้ประชาชนเริ่มรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยไหน เชื่อกันว่าปลาชนิดนี้มีอยู่คู่กับ แม่น้ำ บึง ลำคลอง หนอง ในแถบภูมิภาคส่วนนี้มานานหนักหนาแล้ว นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรืออาจจะก่อนกว่านั้น

เพราะมีลายของถ้วยชามเครื่องเคลือบปรากฏเป็นรูปปลาตะเพียนให้เห็นอยู่กลาดเกลื่อน แต่ชื่อ "ตะเพียน" 


ที่ใช้ เรียกขานกัน เพิ่งจะมาพบเป็นหลักฐาน ในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากพงสาวดาร ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสและฉบับพระราชหัตถเลขา มีข้อความต้องกันอยู่ว่า สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ชอบเสวย ปลาตะเพียน ถึงกับตั้งกำหนดโทษแก่คนที่กินปลาตะเพียนว่า จะต้องถูกปรับถึง 5 ตำลึง และในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ได้พรรณนาถึงฝูงปลามีความว่า

"เทโพและเทพา ตะเพียนกาพาพวกจร
อ้ายบ้าปลาสลุมพอน ผักพร้าเพรี้ยแลหนวดพราหมณ์
เทโพพาพวกพ้อง เทพา
ปลาตะเพียนปลากาพา คู่เคี้ย
สลุมพอนอ้ายบ้าปลา หลายหมู่
ปลาผักพร้าม้าเพรี้ย ว่ายไล่หนวดพราหมณ์"



นับว่า ปลาตะเพียน หรือตะเพียนขาว เป็นปลาน้ำจืดคู่บ้านคู่เมืองโดยแท้และเป็นปลาที่สามารถนำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย จึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัดเลือก ให้ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงอีกชนิดหนึ่ง การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนนั้น ได้ดำเนินการเป็นครั้งแรก ก่อนปี พ.ศ.2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด) นครสวรรค์ ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนา ทั้งวิธีเลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียม ซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน