โฆษก ตร. ยัน กม.เพิ่มอำนาจตำรวจดักฟังโทรศัพท์ ใช้เฉพาะ 4 คดีสำคัญ ต้องขอศาลอนุมัติก่อน ย้ำไม่ดักฟังผู้บริสุทธิ์ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อเวลา 10.50 น. วันที่ 26 เมษายน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. กล่าวถึงกรณีที่ ครม.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเกี่ยวกับการให้อำนาจการเข้าถึงพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถดักฟังข้อมูลทางโทรศัพท์ และเข้าถึงแอพพลิเคชั่นการแชทข้อความของผู้ต้องขัง ว่า การดำเนินการดังกล่าวจะต้องเข้าข่ายคดี 4 กลุ่มเท่านั้น ประกอบด้วย คดีก่อการร้าย คดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ คดีความมั่นคง และคดีอาชญากรรม ที่มีความซับซ้อนที่มีอายุความตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งการจะเข้าถึงข้อมูลต้องเป็นไปตามขั้นตอน โดยพนักงานสอบสวนจะต้องนำหลักฐานทั้งหมด เสนอเรื่องไปยังผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง พิจารณาหลักฐาน และประเภทคดี เมื่อเชื่อแน่แล้ว จึงจะขอให้ศาลพิเคราะห์ถึงเหตุจำเป็น ก่อนจะอนุมัติให้ดำเนินการ ซึ่งจะมีเงื่อนไขว่าจะดักฟังในลักษณะใด และมีระยะเวลานานแค่ไหน ทั้งนี้ยืนยันว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ได้จะดักฟังประชาชนผู้บริสุทธิ์ เพราะผู้ที่จะขอให้ศาลอนุมัติ เป็นระดับผู้บังคับการขึ้นไป มีระยะเวลาการดำเนินการ เป็นการถ่วงดุลชัดเจน
โฆษก ตร. ยัน กม.เพิ่มอำนาจตำรวจดักฟังโทรศัพท์ ใช้เฉพาะ 4 คดีสำคัญ ต้องขอศาลอนุมัติก่อน ย้ำไม่ดักฟังผู้บริสุทธิ์ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อเวลา 10.50 น. วันที่ 26 เมษายน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. กล่าวถึงกรณีที่ ครม.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเกี่ยวกับการให้อำนาจการเข้าถึงพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถดักฟังข้อมูลทางโทรศัพท์ และเข้าถึงแอพพลิเคชั่นการแชทข้อความของผู้ต้องขัง ว่า การดำเนินการดังกล่าวจะต้องเข้าข่ายคดี 4 กลุ่มเท่านั้น ประกอบด้วย คดีก่อการร้าย คดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ คดีความมั่นคง และคดีอาชญากรรม ที่มีความซับซ้อนที่มีอายุความตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งการจะเข้าถึงข้อมูลต้องเป็นไปตามขั้นตอน โดยพนักงานสอบสวนจะต้องนำหลักฐานทั้งหมด เสนอเรื่องไปยังผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง พิจารณาหลักฐาน และประเภทคดี เมื่อเชื่อแน่แล้ว จึงจะขอให้ศาลพิเคราะห์ถึงเหตุจำเป็น ก่อนจะอนุมัติให้ดำเนินการ ซึ่งจะมีเงื่อนไขว่าจะดักฟังในลักษณะใด และมีระยะเวลานานแค่ไหน ทั้งนี้ยืนยันว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ได้จะดักฟังประชาชนผู้บริสุทธิ์ เพราะผู้ที่จะขอให้ศาลอนุมัติ เป็นระดับผู้บังคับการขึ้นไป มีระยะเวลาการดำเนินการ เป็นการถ่วงดุลชัดเจน