โตเกียว, 8 เม.ย. (ซินหัว) — เมื่อไม่นานนี้ สื่อท้องถิ่นญี่ปุ่นรายงานผลสำรวจผู้อยู่อาศัยที่จังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งอพยพสู่พื้นที่นอกจังหวัดหลังเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์เมื่อเดือนมีนาคม 2011 พบเกือบร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามอาจทนทุกข์อยู่กับภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD)
มหาวิทยาลัยวาเซดะและกลุ่มพลเมืองได้จัดส่งแบบสอบถามแก่ 5,350 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคคันโตรอบกรุงโตเกียวหลังอพยพออกจากจังหวัดฟุกุชิมะเพราะภัยพิบัตินิวเคลียร์ และมีผู้ตอบแบบสอบถาม 516 ครัวเรือน โดยผลลัพธ์ชี้ว่าร้อยละ 37 ของผู้อพยพมีภาวะข้างต้น
มหาวิทยาลัยวาเซดะและกลุ่มพลเมืองได้จัดส่งแบบสอบถามแก่ 5,350 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคคันโตรอบกรุงโตเกียวหลังอพยพออกจากจังหวัดฟุกุชิมะเพราะภัยพิบัตินิวเคลียร์ และมีผู้ตอบแบบสอบถาม 516 ครัวเรือน โดยผลลัพธ์ชี้ว่าร้อยละ 37 ของผู้อพยพมีภาวะข้างต้น
ขณะเดียวกันร้อยละ 34.5 ของผู้ตอบแบบสอบถามเผยว่า “ยังคงไม่มีงานทำ” โดยพวกเขาแจกแจงสาเหตุว่ามาจาก “การไร้ความสามารถฟื้นคืนธุรกิจของตัวเอง” (ร้อยละ 16.3) และ “การไม่สามารถทำงานได้เพราะอาการเจ็บป่วย” (ร้อยละ 14)
การสำรวจที่จัดทำระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2022 ยังพบสถานการณ์การเงินของผู้อพยพเลวร้ายยิ่งขึ้น โดยร้อยละ 56.8 ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขารู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการชดเชยและการชดใช้
ปัญหาอีกประการคือความรู้สึกโดดเดี่ยวที่พอกพูนเพิ่มขึ้น โดยร้อยละ 38.9 ของผู้ตอบแบบสอบถามเผยว่าพวกเขา “แทบไม่ได้ติดต่อ” หรือ “ไม่มีการติดต่อ” กับเพื่อนหรือคนรู้จักในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน
“แม้ผู้ประสบภัยยังคงติดต่อกับผู้ประสบภัยด้วยกัน แต่บางส่วนไม่สามารถออกนอกบ้านด้วยตัวเองได้” ทาคุยะ สึจิอุชิ อาจารย์แพทย์ประจำมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งมีส่วนร่วมในการวิจัยนี้กล่าว “คนที่เก็บตัวและมีอาการซึมเศร้า รวมถึงผู้สูงอายุ ต้องการการเยี่ยมเยียนแบบเฉพาะตัว”
(แฟ้มภาพซินหัว : ป้ายเตือนความปลอดภัยใกล้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิชิ ที่จังหวัดฟุกุชิมะของญี่ปุ่น วันที่ 22 ก.พ. 2017)