กลุ่มคนทำทาง ผู้หญิงเคยทำแท้ง บุก สธ.กรวดน้ำคว่ำขันตะเพิด "อนุทิน" พ้นเก้าอี้
เมื่อวันที่ 7 ก.พ.66 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กลุ่มคนทำทาง พร้อมผู้หญิงที่เคยทำแท้ง เครือข่ายสนับสนุนทางเพลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เดินทางมายังกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นหนังสือถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เพื่อขอให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดการดำเนินการให้หน่วยงานภายใต้สังกัดปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28 ) พ.ส. 2564 พร้อมทำกิจกรรมกรวดน้ำทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้หญิงที่ต้องเสียชีวิตจากการเข้าไม่ถึงการทำแท้งที่ปลอดภัย รวมถึงนายอนุทินด้วย
น.ส.กรกนก คำตา เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ กลุ่มนำทาง กล่าวว่า การกรวดน้ำวันนี้มี 2 วัตถุประสงค์ กรวดน้ำครั้งแรกเพื่อทำบุญให้กับผู้หญิงที่เสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย ส่วนครั้งที่ 2 เป็นการกรวดน้ำคว่ำขันตัดเวร ตัดกรรมจากนายอนุทิน ที่ไม่ได้ดำเนินการอะไรเลยหลังจากที่กฎหมายมีการแก้ไข ทำให้คนควานหาที่ท้แท้งถูกกฎหมายแต่ก็หาไม่เจอ ต้องเจ็บปวด เสียเงินจากการไปซื้อยาเถื่อน หรือทำแท้งเถื่อนจนเสียชีวิต ทั้งๆ ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีงบประมาณส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค สำหรับการท้องแท้งปลอดภัยในสถานพยาบาลรายละ 3 ,000 บาท แต่มีการยกเลิกงบนี้ในกลุ่มข้าราชการ และกลุ่มผู้ประกันตน นี่เป็นความเป็นความรับผิดชอบโดยตรง ดังนั้นควรจะออกจากการเป็น รมว.สาธารณสุข
นางสุไลพร ชลวิไล นักวิชาการกลุ่มทำทาง กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีการทำแท้งที่ปลอดภัยได้ แต่กลับพบว่ายังมีผู้หญิงจำนวนมากเข้าไม่ถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัยทำให้ต้องไปซื้อยาเถื่อนมาทำแท้งเอง ส่วนตัวเลขนั้นต้องขอบอกว่ามีการรายงานเพียงครั้งเดียวเมื่อปี 2542 จากนั้นเป็นเพียงการเฝ้าระวังในรพ.เพียง 1 แห่ง ต่อ 1 เขตสุขภาพ ดังนั้นจึงทำให้ข้อมูลคนเสียชีวิตจากการทำแท้งของผู้หญิงขาดหายไป หรือมีเพียงหลักหน่วย อย่างไรก็ตามเนื่องในวาระที่กฎหมายทำแท้งฉบับแก้ไขใหม่มีผลบังคับใช้มาแล้ว 2 ปี จึงขอเรียกร้องให้สธ.ดำเนินดังนี้ 1.ประกาศรายชื่อสถานบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และรายชื่อหน่วยงานให้การปรึกษาทางเลือกทั่วประเทศให้ประชาชนรับทราบ 2.กำหนดให้สถานบริการสาธารณสุขภายใต้สังกัดสธ.ดำเนินการจัดให้มีบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย อย่างน้อยจังหวัดละ 1 สถานบริการ โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับกระทรวงว่าจะต้องเพิ่มจำนวนสถานบริการให้ได้อย่างน้อยปีละ 5-10 สถานบริการ 3.กำหนดให้สถานบริการสาธารณสุขภายใต้สังกัด สธ.ที่ไม่ต้องการจัดตั้งหน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย มีหน้าที่ที่จะต้องส่งต่อผู้รับบริการไปยังสถานบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยตามระบบ และ 4.ดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรทางด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย