เชื่อว่าทุกคนต้องเคยใช้ ห้องน้ำสาธารณะ ไม่ว่าจะที่ห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน โรงพยาบาล หรือสถานที่สาธารณะอื่นๆ ซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายของเสียที่เยอะที่สุด เพราะมีคนแวะเวียนไปใช้จำนวนมาก จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไม สถานที่เหล่านี้ถึงเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคขนาดใหญ่ แต่หากสถานที่ใดดูแลความสะอาดดีก็ถือว่าปลอดภัย แต่หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำแบบเร่งด่วน ก็ยากที่จะเลี่ยงได้
เชื้อโรคที่พบได้ในห้องน้ำ แบ่งได้สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่ ทำให้เกิดกามโรค เช่น หนองใน เริม เป็นต้น และเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น เชื้ออุจจาระร่วง ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้จะแฝงตัวอยู่ตามจุดต่างๆ ของห้องน้ำ อาทิ ชักโครก โถปัสสาวะ อ่างล้างมือ โดยขึ้นกับปริมาณเชื้อโรคที่เราสัมผัสโดน ซึ่งซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ แล้วก็ยังสัมผัส ผ่านทางการรับประทานอาหารได้อีกด้วย
หลักในการปฏิบัติเมื่อต้องเข้าห้องน้ำสาธารณะ มีง่ายๆดังนี้
1. อย่าสัมผัสโดยตรง : ทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ ถ้าเป็นไปได้เราควรสัมผัสสิ่งที่อยู่ในห้องน้ำสาธารณะให้น้อยที่สุด เช่น อาจจะเอากระดาษทิชชู่ห่อก็ได้
2.ใช้เวลาให้น้อยที่สุด : เป็นไปได้ควรใช้เวลาในนั้นให้น้อยที่สุด ไม่ต้องถึงขั้นจับเวลาเป็นวินาที (หรือเป็นนาทีก็ไม่ต้อง) แต่ทำธุระแบบใช้เวลาไม่มาก แนะว่าไม่ควรเล่นมือถือระหว่างถ่ายหนักด้วย นานแน่ๆ
3. ปิดฝาโถส้วมตอนกดล้าง : ชักโครกบางที่มีความแรงของน้ำไม่เท่ากัน แม้ว่าของหนักนั้นจะมาจากตัวเอง แต่ก็ควรรักษาอนามัยด้วยการปิดฝาชักโถส้วมก่อนกดชำระล้าง เพื่อป้องกันการกระเด็นของสิ่งสกปรกเผื่อน้ำมันไหลแรงไป
4. ไม่ควรขึ้นไปนั่งบนขอบโถส้วม : บางคนไม่อยากเอาก้นสัมผัส ฝากรองนั่งถึงนั้นนั่งบนที่รองนั่ง รู้ไหมว่าวิธีดังกล่าวไม่สมาร์ทเอาซะเลย เพราะว่าระยะห่างของตัวเรากับส้วมมีมาก เวลาทิ้งระเบิดเนี่ย แทนที่น้ำจะกระเซ็นแค่ในโถ มันมีโอกาสกระเด็นมาข้างนอกด้วย อีกทั้งวิธีนั่งแบบนี้ยังเสี่ยง เพราะหากรับน้ำหนักไม่ไหว โถส้วมแตกหักขึ้นมาบาดตัวเราอีก ดังนั้นไม่ควรทำเด็ดขาด
5. ทำความสะอาดก่อนใช้ : ข้อนี้เหมาะสำหรับชักโครก ควรทำความสะอาดฝารองนั่งก่อนใช้ อาจจะหาทิชชู่เปียกมาเช็ดก่อนทำธุระก็ได้