ประกาศใช้แล้ว ก.ม.คดีอาญานักการเมือง

2017-09-28 18:40:10

ประกาศใช้แล้ว ก.ม.คดีอาญานักการเมือง

Advertisement

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สาระสำคัญไม่นับเวลาหนีในอายุความ เปิดช่องไต่สวนคดีลับหลังได้ จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโดยต้องแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาล

เมื่อวันที่ 28 ก.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.ป. ฉบับนี้ อาทิ มาตรา 25 ในการดําเนินคดีอาญาตาม พ.ร.ป.นี้ เมื่อได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ให้อายุความสะดุดหยุดลง ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาหรือจําเลยหลบหนีไปในระหว่างถูกดําเนินคดีหรือระหว่างการพิจารณาคดีของศาล มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจําเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ




มาตรา 31 การพิจารณาและไต่สวนพยานหลักฐานให้กระทําโดยเปิดเผย เว้นแต่มีความจําเป็น เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะสําคัญ ให้ศาลมีคําสั่งให้พิจารณาเป็นการลับได้ เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า ศาลมีอํานาจไต่สวน พยานหลักฐานลับหลังจําเลยได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1)จําเลยไม่อาจมาฟังการไต่สวนพยานหลักฐานได้เนื่องจากความเจ็บป่วยหรือมีเหตุจําเป็นอื่น อันมิอาจก้าวล่วงได้ เมื่อจําเลยมีทนายและจําเลยได้รับอนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟังการพิจารณา และสืบพยาน (2) จําเลยเป็นนิติบุคคลและศาลได้ออกหมายจับผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นแล้ว แต่ยังจับตัวมาไม่ได้ (3) จําเลยอยู่ในอํานาจศาลแล้วแต่ได้หลบหนีไปและศาลได้ออกหมายจับแล้วแต่ยังจับตัว มาไม่ได้ (4) ในระหว่างพิจารณาหรือไต่สวน ศาลมีคําสั่งให้จําเลยออกจากห้องพิจารณาเพราะเหตุขัดขวาง การพิจารณา หรือจําเลยออกไปจากห้องพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล (5) จําเลยทราบวันนัดแล้วไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรมจําเป็นต้องไต่สวนพยานหลักฐานใดในนัดนั้นโดยไม่เลื่อนคดี

มาตรา 60 กรณีของการอุทธรณ์ระบุว่า คำพิพากษาของศาลให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา มาตรา 61 ในกรณีที่จําเลยซึ่งไม่ได้ถูกคุมขังเป็นผู้อุทธรณ์ จําเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อ แสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ มิฉะนั้นให้ศาลมีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ มาตรา 62 คดีที่ไม่มีอุทธรณ์คําพิพากษา ให้เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ศาลได้อ่านหรือถือว่า ได้อ่านคําพิพากษา แต่ถ้าเป็นคดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจําคุกตลอดชีวิต ให้ศาลมีหน้าที่ ต้องส่งสํานวนคดีดังกล่าวต่อไปให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 63


มาตรา 63 การวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ให้ดําเนินการโดยองค์คณะ ของศาลฎีกาซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาจํานวน 9 คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจากผู้พิพากษา ในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดํารงตําแหน่ง ไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งไม่เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อน โดยให้เลือกเป็นรายคดี คําวินิจฉัยอุทธรณ์ขององค์คณะให้ถือว่าเป็นคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยให้กฎหมายนี้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือวันที่ 29 ก.ย.